ข้าพเจ้านางสาวสุภาพร  ปักกาสาร  กลุ่มประชาชน  เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน  ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  โครงการยกระดับเศรฐกิจ  และสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ  (1 ตำบล  1  มหาวิทยาลัย)  การปฏิบัติงานครั้งนี้ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลพืชและสัตว์ในท้องถิ่น  ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลระหว่าง  เดือนสิงหาคม  พ.ศ.  2564  ตำบลถลุงเห็ลก  มีทั้งหมด  16  หมู่บ้าน  ส่วนมากจะมีอาชีพเป็นเกษตรกรประกอบอาชีพปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์  พืชที่ปลูกในท้องถิ่น  คือ ข้าว  อ้อยเพราะเป็นพืชเศรฐกิจประจำตำบลถลุงเหล็ก  และประเทศไทย  การปลูกข้าวเป็นเวลามากกว่า  10  ปี  ที่ผ่านมาเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากการทำนาดำเป็นนาหว่านกันมากขึ้น  การที่เกษตรกรหันมาทำนาหว่านมากขึ้น  เนื่องจากเป็นวิธีการปลูกข้าวที่ประหยัดแรงงาน  เวลา  และค่าใช้จ่ายเพราะการปลูกข้าวแบบนาหว่านเป็นการปลูกข้าวแบบหว่านเมล็ดโดยตรง  เมล็ดข้าวจะงอกพร้อมกัน  เมื่อได้รับน้ำฝนหรือความชื้นสภาพแวดล้อมเหมาะสม  แต่ปัญหาที่สำคัญที่ตาม  คือ  ปัญหาจากวัชพืชในนาข้าว  หากไม่มีการควบคุม  และกำจัดวัชพืชแล้วจะเกิดการสูญเสีย  และมีผลทำให้ผลผลิตของข้าวในการทำนาหว่านข้าวลดลง

การควบคุมและการกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าวที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ส่วนใหญ่เป็นวิธีดังเดิม  เช่น  การเตรียมดินปลูกที่ดี  และการใช้แรงงานถอนกำจัดวัชพืช  แต่การถอนวัชพืชด้วยมือ  ในนาหว่านข้าวจะกระทำได้ยากสิ้นเปลืองแรงงานมีค่าใช้จ่ายสูง  และทำลายต้นข้าวในขณะปฏิบัติงานนอกจากนี้การกำจัดวัชพืชค่อนข้างต่ำอีกด้วย  การกำจัดวัชพืชแบบปัจจุบันได้ใช้     เทคโนโลยีเข้ามาช่วยควบคุม  และกำจัดวัชพืชทำให้เกิดสภาวะลดอัตราการเจริญเติบโตของวัชพืช  โดยทำให้เกิดประสิทธิผบสูงสุดลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายตลอดจนผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยลงที่สุด

พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันเป็นพันธุ์  เช่น  พันธุ์ข้าวหอมมะลิ  105  พันธุ์ข้าว  กข 15  และพันธุ์ข้าว กข 6  เป็นต้น  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะทรงต้นสูงใบยาวใหญ่แผ่โน้มปกคลุมเป็นลักษณะที่มีความสามารถในการแข่งขัน  กับวัชพืชได้ดี

วิธีการเตรียมดินและการปลูกการเตรียมปลูกที่ดี  จะช่วยลดปัญหาจากวัชพืชได้  แต่ในสภาพการทำนาหว่านในพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝนเมื่อปริมาณและการกระจายตัวของฝนเหมาะสมทำให้เมล็ดข้าวที่อยู่ในดินงอกขึ้นมาขณะเดียวกันเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในระดับผิวดินก็จะงอกขึ้นมาพร้อมกับต้นข้าว  อีกกรณีหนึ่งการไถเป็นการกำจัดวัชพืชที่เกิดขึ้นมาในเวลาเดียวกันก็จะเป็นการพลิกหน้าดินอีกด้วย

การปลูกข้าวแบบนาหว่านมีวิธีที่ปฏิบัติหลากลาย  เช่น  การหว่านคราดกลบ  หรือไถกลับและหว่านหลังขี้ไถการปลูกข้าวมีข้อแตกต่างตรงวิธีการเตรียมดิน  และการปลูกโดยการเตรียมดินมีวัตถุประสงค์  เพื่อกำจัดวัชพืชดังเดิมที่ขึ้นอยู่ในนาก่อนที่จะหว่านข้าวซึ่งการเตรียมดินของเกษตรกรในปัจจุบันใช้เครื่องจักรแทนแรงงานสัตว์เป็นส่วนใหม่เครื่องมือที่ใช้  เช่น  รถไถเดินตาม  รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่และการเตรียมดินจะพิถีพิถันมาก  หรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเครื่องมือ  ค่าใช้จ่าย  และความพร้อมของเกษตรเอง

กำหนดช่วงเวลาปลูกพันธุ์ข้าว  หอมมะลิ  105  ข้าว  กข 15  ข้าว กข 6  เป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงเหมาะสำหรับการปลูกในฤดูนาปี  เกษตรกรจะเริ่มไถเตรียมดิน  และหว่านข้าวตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม  พบว่าการกำหนดระยะเวลาปลูกเร็วหรือช้าจะมีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของข้าว

การปลูกอ้อยปัจจุบันนี้ได้มีเกษตรกรบางส่วนเริ่มเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกข้าวมาเป็นปลูกอ้อยในหลายพื้นที่เนื่องจากเห็นโอกาสมั่นคงของอ้อยเพราะเป็นพืชเศรฐกิจที่มีความต้องการของตลาดจำนวนมากและที่สำคัญมีการกำหนดราคาชัดเจน

ขั้นตอนการปลูกอ้อย

  1. การเลือกทำเลพื้นที่ปลูก

1.1  การเลือกที่ดอน  น้ำไม่ขัง  ดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์ดี  การคมนาคมสะดวก  และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลอย่างน้อยไม่เกิน  50  กิโลเมตร

1.2  ควรปรับระดับพื้นที่  และแบ่งแปลงปลูกอ้อยเพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก  และเก็บเกี่ยวตลอดจนการระบายน้ำ

1.3  การไถควรไถอย่างน้อย  2  ครั้ง  หรือมากกว่า  ความลึกอย่างน้อย  20  นิ้ว  หรือมากกว่าเพราะอ้อยมีระบบรากยาว

  1. พันธุ์อ้อยมีหลากหลายพันธุ์ เช่น  ขอนแก่น 1  2  3  พันธุ์อู่ทอง  พันธุ์ 95  พันธุ์เคเหลือง  ควรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพดิน  อากาศ  ที่มีลักษณะเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสูง  และมีความหวานสูงด้วยโดยพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้  พันธุ์อ้อย  มีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์อายุประมาณ  8 – 10  เดือน  คารเป็นอ้อยปลูกใหม่มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลงตาอ้อยต้องสมบูรณ์
  2. วิธีการปลูกอ้อย

3.1  การปลูกอ้อยด้วยแรงคน  คือ หลังจากการเตรียมดินยกร่องระยะ  ระหว่างร่อง  1 – 1.5  เมตร  แล้วนำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดียว  หรือ คู่  เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ  3 – 5  เซนติเมตร

3.2  การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูกจะช่วยประหยัดแรงงาน  และเวลาเพราะจะใช้แรงงานเพียง 3  คน  เท่านั้น  คือ  คนขับ  คนป้อนพันธุ์อ้อย  และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นใช้กับเครื่องปลูกแบบแถวเดียว  แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ  2  แถว  ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก  1  คน  ซึ้งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 10 – 15 ไร่  แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่  และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

3.3  การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4- 5 เดือนแรก  อาจใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร  และสารเคมี  กำจัดวัชพืชก็ได้

  1. การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยตัวเองแก่หรือยัง  โดยดูจากอายุการปลูกอ้อย  น้ำตาลในต้นอ้อยและวางแผนตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน

ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ผ่านแอพ CBD ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  มี 10 หัว ดังนี้

1.ข้อมูลผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

3.ข้อมูลที่พัก/โรงแรม

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.ข้อมูลอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.เกษตรในท้องถิ่น

7.พืชในท้องถิ่น

8.สัตว์ในท้องถิ่น

9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

อื่นๆ

เมนู