โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 ข้าพเจ้า นายจิณณวัตร สุขเกษม ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ผ้า คือ สิ่งที่ได้จากการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาสานหรือทอจนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ฝ้าย ใยไหม ไนลอน เป็นต้น ประโยชน์ของผ้าคือการนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ประเภทผ้าต่าง ๆ และในด้านอื่น ๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ในงานพิธีต่างๆ และวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตผ้า ได้แก่ วัสดุจากสัตว์ วัสดุจากพืช และจากการสังเคราะห์เคมี ทางกลุ่มได้สำรวจและติดตามผลิตภัณฑ์ผ้าในชุมชนยายแย้มวัฒนา ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมายาวนาน ผ้าส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ ผ้าไหม โดยวัตถุดิบนั้นเกิดจากการเลี้ยงไหมของคนในชุมชน มีลวดลายที่ปราณีต สวยงาม และผ้าฝ้ายที่ยอมจากสีของธรรมชาติหรือสีของดินภูเขาไฟ และสีสันอื่นที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ในชุมชนนั้นยังจัดจำหน่ายในรูปแบบดังเดิม คือ เป็นผืน ยังไม่ได้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าเท่าไรนัก ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงานประจำเดือนก้นยายน 2564 ให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ ตำบลยายแย้มวัฒนา เกี่ยวกับแผนการทำงานการจัดกิจกรรม U2T เพื่อการดำเนินงานทำกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา เพื่อสร้างอาชีพ คุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับสินค้าในชุมชน

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าเพื่อทำเป็นกระเป๋า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าที่มีอยู่ในชุมชน โดยการแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดในทุกช่วงอายุ ซึ่งทางกลุ่มและชุมชนได้ให้ความสนใจในการทำกระเป๋าจากผ้า เพราะผลิตภัณฑ์ผ้าในชุมชนนั้น มีลวดลาย สีสัน สวยงาม ซึ่งเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้มีความน่าสนใจ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าของกลุ่มในชุมชน เป็นที่ยอมรับและรู้จักของคนทั่วไป และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ พึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ในการสร้างผลิตภัณฑ์มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และขั้นตอนในการทำ ดังนี้

เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปมีดังนี้

1. จักรเย็บผ้า
2.  กรรไกร กาว ไม้บรรทัด เข็มหมุด ด้าย ชอล์ก
3. ผ้าเคมีแข็ง ผ้าแก้ว ผ้ากาว ฟองน้ำ ผ้าเคมีแข็ง 
4. ใยสังเคราะห์ (สำหรับใส่ในหูกระเป๋า)
5. ซิป
6. กระดาษสร้างแบบ
7. วัสดุตกแต่งกระเป๋า เช่น กระดุม ลูกปัด
8. เตารีด

ขั้นตอนในการทำ

1. เลือกเศษผ้า โดยเลือกลวดลาย สีสันให้เหมาะสมกับรูปแบบกระเป๋าแต่ละชนิด
2. ทำการสร้างแบบลงบนกระดาษสร้างแบบ และเขียนแบบแพทเทิร์นกระเป๋าลงบนผืนผ้า
3. ตัดผ้าที่จะทำกระเป๋า และผ้าเคมีตามแบบที่สร้างไว้
4. นำเศษผ้าที่เลือกสรรแล้วมารีดเพื่อให้เห็นลวดลายที่ชัดเจน และง่ายต่อการตัดเย็บ
5. วางผ้าเคมีเข้ากับเศษผ้าทอมัดหมี่ แล้วขีดเส้นด้วยชอล์กบนผืนผ้า และเย็บตามรอยที่ขีดไว้
6. ตัดเย็บตามแบบ ใส่ซิบ และตกแต่งใส่ลูกปัดตามแบบที่ต้องการ
7. นำมารีดให้เรียบอีกครั้ง
8. บรรจุใส่ถุง/บรรจุภัณฑ์

สรุปกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติจริง ลงมือแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้ในกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนต่างๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้สามารถสร้างอาชีพในชุมชน เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อีกด้วย เราจะพยายามทำให้ผลิตภัณฑ์จากผ้าของตำบลยายแย้มประสบผลสำเร็จให้ได้ โดยต้องพัฒนาการผลิตจะต้องมีการพัฒนาในเรื่องขนาด ลวดลาย การตัดเย็บ คุณภาพของวัสดุที่ใช้ต้องได้ มาตราฐาน เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นของดี ของเด่น ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับประเทศ และระดับโลกต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยสร้างรากแก้วให้ประเทศ

ขอขอบพระคุณ : คณบดีคณะครุศาสตร์ (อ.ดร.พัชนี กุลฑานันท์) รองคณบดีคณะครุศาสตร์ (ผศ.ดร.เกษสุดา บูรณพันศักดิ์) ที่ปรึกษาของโครงการ U2T คณะครุศาสตร์

ขอขอบพระคุณ : อาจารย์ผจงจิต เหมพนม อาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์ ที่ได้แบ่งปันความรู้และทักษะในการแปรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า

ขอขอบพระคุณ : ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านในการแสดงพลังของชุมชนยายแย้มวัฒนา

ขอขอบคุณ : อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลยายแย้มวัฒนา

พวกเราชาว U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา จะสร้างยายแย้มให้ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ขอบคุณครับ

อื่นๆ

เมนู