หลักสูตรโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลบูรณาการ ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือนวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ถึงเดือน 20 กันยายน 2564
ข้าพเจ้านางสาวจันทรส ปรีชากูล และทีมงาน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล แบบสอบถาม และข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่าง วันที่ 21 สิงหาคม 2564 ถึงเดือน 20 กันยายน 2564 ในตำบลถาวร เพื่อให้ทราบถึง บริบทชุมชนสภาพความเป็นอยู่ ทั่วไปรวมถึงปัญหา สถานการณ์ covid-19 และความต้องการในชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการนำมา วิเคราะห์หาแนวทาง ช่วยแก้ไขและพัฒนาชุมชน ช่วยยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน

ข้าพเจ้าและทีมงาน สำรวจสัตว์ในท้องถิ่นพบว่า ส่วนใหญ่ชาวบ้าน นิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็ด หมู หนูนา เลี้ยงปลา เพื่อบริโภค และจำหน่าย เป็นรายได้เสริม มาจากการทำเกษตร มีทั้งเกษตรผสมผสาน และเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ได้ทำในช่วงนี้ กรีดน้ำยางพารา เก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ใส่ปุ๋ยข้าว ถอนหญ้าในทุ่งนาทั้งเกษตรผสมผสานปัจจุบันชาวบ้านเริ่มหันมาสนใจตามโครงการ โคก หนอง นา ทำเศรษฐกิจพอเพียง เละ ฤดูฝนนี้ สิ่งที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่มีคุณค่าในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดรายได้ จำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ นิยมขึ้นไปบนภูเขาอังคาร เขาหลุบ เพื่อหาอาหาร เช่น เห็ดนานาชนิด หน่อโจด ดอกกระเจียว และผักต่างๆ มีทั้งนำมาบริโภคและนำจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้เลี้ยงชีพในฤดูกาลนี้ของคนในชุมชน

ข้าพเจ้าและทีมงานได้สำรวจข้อมูล ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด covid 19 ซึ่งมี ผู้คนย้ายกลับมากักตัวที่บ้าน  และได้รับการกักตัวตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค covid-19 สถานที่จากตัวของ ตำบลถาวร มี 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านถาวรและ วัดบ้านบุตาพวง ซึ่งปัจจุบัน ผู้ที่กักตัวอยู่ที่โรงเรียนบ้านถาวรหลังจากกักตัวครบ 14 วัน ได้ตรวจหาเชื้อแล้ว ไม่พบผู้ที่ติดเชื้อ จึงสามารถกลับไปพัก ที่บ้าน ได้มี อสม.เฝ้าระวังต่อไป ทำให้เหลือศูนย์กักตัวเหลือยู่เพียงแห่งเดียว ส่วนในชุมชน ด้านผู้นำและผู้มีจิตอาสาร่วมบริจาค ได้นำอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือในสถานที่กักตัว เพื่อช่วยเหลืออำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้น

ข้าพเจ้า ได้เชิญชวน กลุ่มอาชีพในชุมชน เข้ารับการอบรม กับหน่วยงานต่างๆเช่นกลุ่มทอผ้าไหม เพื่อยกระดับ และพัฒนา ผ้าไหมให้มีคุณภาพ สูงยิ่งๆขึ้นไป

ข้าพเจ้า ได้ส่งเสริมด้านการศึกษาโดยใช้ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ยั่งยืนแบบถาวร เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับ สถาบันการศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ได้เปิดการเรียนการสอน อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท เป็นการส่งเสริม ให้เกษตรกร ในชุมชน ได้รับการเรียนรู้ และพัฒนา คุณภาพชีวิต ด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และทำการประมง เพิ่มมากขึ้น

 

 

 

อื่นๆ

เมนู