1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED01 - ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED01อบรมการส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน(มผช.)แบบออนไลน์ภายใต้โครงการ U2t. ประจำเดือนกันยายน 2564

ED01อบรมการส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน(มผช.)แบบออนไลน์ภายใต้โครงการ U2t. ประจำเดือนกันยายน 2564

ประจำเดือน กันยายน

 

ข้าพเจ้านางสาวสายทอง ศรีบาง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาลัย)

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ณ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

ลงพื้นระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 3 กันยายน 2564

          ในการจัดกิจกรรมอบรมการส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน(มผช.) ด้วยคณะครุศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1 ตำบล 1 มหาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จะจัดอบรมการส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยกำหนดผู้เข้าอบรมเป็นผู้สนใจที่จะดำเนินการจดรับรองมาตรฐาน(มผช.) ในวันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

          ต่อมาได้มีการนัดประชุมเพื่อชี้แจงแผนงานที่จะอบรมขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2564 อาจารย์นัดประชุมออนไลน์ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ผ่าน Google Meet ในการประชุมครั้งนี้เพื่อชี้แจงสมาชิกU2t. ทุกท่านที่ทำงานร่วมกันในตำบลถลุงเหล็กช่วยประสานงานเชิญชวนชาวบ้านเข้าอบรม(แบบออนไลน์) ผู้สนใจที่จะดำเนินการจดรับรองมาตรฐาน(มผช.) เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 ทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มในจำนวนมากได้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้จึงจัดทำแบบออนไลน์ โดยการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมอบรมในครั้งนี้ได้ ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด19 หลังจากประชุมเสร็จสิ้น ในวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ได้ทำการลงพื้นที่แจ้งให้กับท่านผู้ใหญ่บ้านรับทราบคร่าวๆ และจะทำหนังสือแจ้งมายังผู้ใหญ่บ้านให้รับทราบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง จะมีการจัดอบรม(แบบออนไลน์)การส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยกำหนดผู้เข้าอบรมเป็นผู้สนใจที่จะดำเนินการจดรับรองมาตรฐาน(มผช.)

          และในวันที่ 29 สิงหาคม 2564 อาจารย์ได้ทำหนังสือเพื่อแจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้านทั้ง 16 หมู่บ้านในตำบลถลุงเหล็กได้รับทราบ กิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการลงพื้นที่หมู่ 1 บ้านถลุงเหล็ก หมู่ 8 บ้านเสม็ดราษฎร์ และหมู่ 9 บ้านหนองเหล็กในตำบลถลุงเหล็ก ในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ส่งหนังสือให้กับท่านผู้ใหญ่บ้านได้รับทราบ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าอบรม(แบบออนไลน์) ที่จะดำเนินการจดรับรองมาตรฐาน(มผช.) ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและสมาชิกในกลุ่ม ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดเตรียมสถานที่ ณ ศูนย์ดำรงธรรมประจำหมู่บ้านถลุงเหล็ก หมู่ที่ 1 ที่จะจัดอบรมขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2564 ได้จัดโต๊ะเพื่อการเว้นระยะห่าง อุปกรณ์ในการใช้อบรมและเช็คความพร้อมต่างๆ กลุ่มข้าพเจ้ากลุ่ม 2 ข้าพเจ้าใช้ทีวีเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊คเพื่อใช้ในการอบรมออนไลน์ และในช่วงเวลา 14.00 น. อาจารย์ได้นัดให้ตัวแทนกลุ่ม ประจำแต่ละกลุ่มเข้าไปเอาเอกสารที่สำนักงานคณะครุศาสตร์ ที่จะใช้ในวันที่ 3 กันยายน 2564

          ในวันที่ 3 กันยายน 2564 เริ่มลงทะเบียนเข้าอบรมตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป โดยเริ่มเข้าระบบอบรมผ่านโปรแกรม Google Meet (ออนไลน์)พร้อมเพรียงกัน ก่อนอบรมมีการทำแบบทดสอบก่อน-หลังการรอบรม การอบรมเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน(มผช.) ท่าน รศ.สมบัติ ประจญศานต์(วิทยากร) ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของมาตรฐานการจดรับรองผลิตภัณฑ์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ขอมากที่สุดคือ ผ้าทอ ส่วนใหญ่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจะเป็นของกลุ่มชุมชนบ้านตะลุงเก่า อ.ประโคนชัยและบ้านโพธิ์ไทร อ.ประโคนชัยที่กล่าวถึงนี้จะมีความสามารถในด้านการทอผ้าเป็นอย่างมาก และได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในการบรรยายนี้  บรรยายเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผ้าทอมือ ประกอบไปด้วยประเภทผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าลายขัด ผ้ามัดหมี่

          มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)

          คือ ข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP

          ประโยชน์ที่ได้รับจาก(มผช.)

1. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

2. สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3. สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด

4. สามารถนําผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว)

5. ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ผ้าขาวม้า

          ผ้าทอลายขัดที่ใช้เส้นด้ายยืนเป็นลายริ้วหรือลายทางอย่างน้อย 2 สีและใช้เส้นด้ายพุ่งเป็นลายคั่นอย่างน้อย 2 สีทอตัดกันเป็นรูปลายตาหมากรุกหรือตาสี่เหลี่ยมที่ชายผ้าทั้ง 2 ด้าน(เชิงผ้า) มีลวดลายเป็นริ้วหรือลายทางตามแนวเส้นด้ายยืนปลายริมผ้าแต่ละด้านอาจพับริมแล้วเย็บให้เรียบร้อยเพื่อความสะดวกในการใช้งาน อาจนำลายทออื่นมาเป็นลายประกอบหรือลายคั่นที่ชายผ้าด้วยก็ได้เช่น ลายขิด ลายยกดอกมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 200 เซนติเมตร

          การตรวจสอบการทอเนื้อผ้าแน่นอย่างง่าย คือ การตรวจสอบโดยการกางผ้าออกในที่สว่าง

1. ผ่านคุณลักษณะทั่วไป ขนาด เส้นใย ริมผ้า เนื้อผ้า ชำรุด

2. ผ่านการทดสอบความเป็นกรดด่าง

3. ผ่านทดสอบการเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้งต้องไม่เกินร้อยละ 10

4. ผ่านการทดสอบความคงทนของสีต่อการซักต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี

5. ผ่านการทดสอบความคงทนของสีต่อเหงื่อต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสีรวมไปถึงวิธีการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของผ้าทอมือ

          ความคงทนของสีต่อการซัก ต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย) กรณียอมสีธรรมชาติต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี

          ความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.0 ยกเว้นกรณีย้อมห้อมหรือครามต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.5 การปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่าง แช่น้ำกลั่น 10-15 นาที

          เครื่องหมายและฉลาก ฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ผ้าขาวม้าทุกหน่วยอย่างน้อยต้องมีเลขอักษรหรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายชัดเจน

1. ชื่อผลิตภัณฑ์(ตามชื่อ มผช.)

2. ความกว้างและความยาวเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร

3. เอกลักษณ์

4. ชนิดเส้นใยที่ใช้ เช่น ฝ้าย ไหมแท้

5. ความกว้างและความยาวเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร

6. กรณีใช้สีธรรมชาติให้ระบุพร้อมส่วนของพืชที่ใช้เช่นสีเหลืองจากดอกดาวเรือง

7. ข้อแนะนำในการใช้และการดูแลรักษา

8. ประวัติผลิตภัณฑ์(ถ้ามี)

9. เดือนปีที่ทำ

10. ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำพร้อมสถานที่ตั้งหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

          ตัวอย่างการแสดงฉลาก  ผ้าขาวม้า

-เอกลักษณ์ผ้าขาวม้าที่ใช้เส้นด้ายยืนเป็นลายริ้วหรือรายทางอย่างน้อย 2 สีและใช้เส้นด้ายพุ่งเป็นลายคั่น 2 สี โทรตัดกันเป็นรูปลายตาหมากรุกหรือตาสี่เหลี่ยม

-ฝ้าย 100% สีธรรมชาติของฝ้ายน้ำตาลและฝ้ายเขียว กว้าง x ยาว 80 เซนติเมตร x 200 เซนติเมตร

-ประวัติ/ตำนาน(ถ้ามี)

-เดือนปีที่ทำ

-ข้อแนะนำในการใช้งาน/ดูแล

-ชื่อผู้ผลิต…ที่อยู่…

          การขอใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ขั้นตอนการขอใบรับรอง กิจกรรมของผู้ยื่นคำขอ
การเตรียมเอกสาร •ขอรับแบบคำขอและข้อแนะนำในการกรอกคำขอ
•พิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ที่ยื่นคำขอมีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
•พิจารณาขีดความสามารถและความพร้อมในการยื่นคำขอ
การรับคำขอ •กรอกรายละเอียดในแบบคำขอ(มช.1)
•แนบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอที่ สมอ./สอจ. ที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่
นัดหมายตรวจสถานที่ •เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสถานที่ผลิตและตัวอย่าง
•รอรับการโทรนัดจากเจ้าหน้าที่ สมอ./สอจ.
ตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง •จัดเตรียมตัวอย่าง
•รับการตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง
ส่งทดสอบที่หน่วยตรวจสอบ •เจ้าหน้าที่ สมอ./สอจ. จัดส่งตัวอย่างให้หน่วยตรวจสอบ
ประเมินผลทดสอบ รอรับแจ้งผลทดสอบ(กรณีผลไม่ผ่านให้ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และยื่นคำขอใหม่)
สรุปเสนอออกใบรับรอง •กรณีผลผ่านรอรับแจ้งการรับใบรับรอง
ออกใบรับรอง •เซ็นรับการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการออกใบรับรอง

ตัวอย่าง เช่น กว้าง 0.8 เมตร ยาว 2.00 เมตร จำนวน 3 ชิ้น ให้ซักล้างรีดให้เรียบเย็บริม ห้ามปรับผ้านุ่มผ้าหอม

          เอกสาร

1. สำเนาบัตรประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. หนังสือรับรองกลุ่มจาก พช./เกษตร

4. เอกสารคำขอส่งที่สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด(กรณีไม่ต้องการรอโควตาของจังหวัด ค่าส่งตรวจสถาบันสิ่งทอ 5,000

บาท)

          บรรจุภัณฑ์ ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ฉลาก ป้าย สายคาด กล่อง ถุง

          ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์

1. ขนาดและน้ำหนักของสินค้า

2. การหีบห่อการรักษาสินค้าการขนส่ง

3. กลุ่มลูกค้า

4. การออกแบบภาพลักษณ์ของสินค้า

5. ต้นทุนการผลิตจำนวนการผลิตวัสดุที่เลือกใช้

6. การตั้งราคาจำหน่ายสินค้า

7. การสร้างแบรนด์สินค้า

 

อื่นๆ

เมนู