1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED04 - ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED04ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ งานประจำเดือน ตุลาคม 2564 เรื่อง การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP

ED04ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ งานประจำเดือน ตุลาคม 2564 เรื่อง การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างได้แก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สู่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายจักรกริช คินรัตน์ ประเภท ประชาชน ได้รับมอบหมายงานประจำเดือน ตุลาคม 2564
ให้ปฏิบัติงานและได้รับมอบหมายงานจัดกิจกรรม เรื่อง การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียร จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน ตุลาคม 2564 จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2564
สถานที่จัดกิจกรรม บ้านยายแย้มวัฒนา หมู่ที่ 11 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
1.อาจารย์และเจ้าหน้าที่
2.ผู้รับจ้าง/ผู้นำชุมชน
3.กลุ่มผ้าไหมอัปสราและผ้าโบราณ หมู่ที่ 16
4.กลุ่มแม่บ้านทอผ้าฝ้าย หมู่ที่ 5 บ้านโนนเจริญ จำนวน 30 คน
5.กลุ่มการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น
6.กลุ่มแปรรูปข้าวอินทรีย์กลุ่มเกษตรอินทรีย์

วิทยากร อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ ชาว U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

จากการสำรวจข้อมูลของตำบลยายแย้มวัฒนาและสำรวจบริบทต่างๆของตำบลยายแย้มวัฒนานั้น ผลการสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ ปลูกฝ้ายเป็นจำนวนมากจึงเล็งเห็นความสำคัญของผ้าฝ้ายทำมาจากใยฝ้าย ซึ่งได้จากต้นฝ้ายที่สามารถปลูกขึ้นได้ดีในแถบที่มีอากาศอุ่นชื้นและมีแดดจัด เมื่อผลฝ้ายแก่จัดแล้ว ผลจะแตกมีใยเป็นปุยขาว จึงเก็บมาแยกเอาเปลือกและเมล็ดออก แล้วนำไปปั่นเป็นเส้นใยและเส้นด้าย จึงจะสามารถทอเป็นผืนผ้าได้แล้วจึงจะสามารถใช้ประโยนช์จากผ้าฝ้ายได้ โดยการนำมาตัดและเย็บเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่าง เช่น เสื้อยืด กระเป๋าผ้า ผ้าพันคอ หน้ากากอนามัยจากผ้าฝ้าย และตำบลยายแย้มวัฒนายังประกอบการย้อมผ้าฝ้าย จากดินภูเขาไฟ นั่นก็คือ ผ้าภูอัคนี และมีความเป็นไปมาดังต่อไปนี้ “ผ้าภูอัคนี” หรือ “ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ” เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่หาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ โดยเป็นกรรมวิธีในการย้อมสีผ้า ให้ออกมามีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์ ด้วยการนำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ไปย้อมกับดินภูเขาไฟ หนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ไม่ยาก เพราะหมู่บ้านยายแย้มนั้น ตั้งอยู่ใกล้กับ “เขาพระอังคาร” ซึ่งเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่ดับแล้ว 1 ใน 6 ลูกของจังหวัดบุรีรัมย์ ดินบริเวณนี้จึงอุดมด้วยแร่ธาตุจากลาวาภูเขาไฟที่ปะทุออกมาในอดีต ซึ่งนอกจากเป็นประโยชน์ในการเพาะปลูกแล้ว ชาวบ้านยายแย้มวัฒนายังคิดค้นวิธีการนำดินเหล่านี้มาใช้ย้อมผ้าอีกด้วย ดังนั้นคณะทำงานลูกจ้าง U2T ตำบลยายแย้มวัฒนาได้คิดค้น การพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนภายในตำบลยายแย้มวัฒนาแปรรูปเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันตามยุคตามสมัยให้เกิดขึ้นค่าของผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนและออกแบบ เครื่องแต่งกาย พัฒนาแนวคิดมาจากการเลือกผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าต่าง ๆในท้องถิ่นมาออกแบบและตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายที่ไม่ได้เน้นความเป็นแฟชั่นแบบจัดจ้าน แต่ประยุกต์รูปแบบให้เรียบง่าย สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตและเครื่องแต่งกายที่มีอยู่ เน้นกลุ่มผู้สวมใส่ที่ต้องการความเรียบง่าย ไม่จำกัดช่วงวัยและเข้ากับแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ง่าย จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย คือ การทําหน้ากากอนามัยจากผ้าฝ้ายภูอัคนี การทำกระเป๋าจากผ้าฝ้ายภูอัคนี และการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆจากผ้าฝ้าภูอัคนี ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
ดังนั้น ชาว U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา และคณะอาจารย์ประจำตำบลยายแย้มวัฒนา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงเล็งเห็นการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP จึงจัดกิจกรรม การอบรมและให้ความรู้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ทอผ้าฝ้าย หมู่ที่ 5 บ้านโนนเจริญ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์การทำข้าวแต๋น หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 15 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
3.กลุ่มแปรรูปข้าวอินทรีย์และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลยายแย้มวัฒนา
โดยมีวิทยากรที่ให้ความรู้ในการอบรมในครั้งนี้ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2564
มีการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP มีการออกแบบการทำบรรจุภัณฑ์ การออกแบบไอเดียผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์การทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP และร่วมจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่างๆภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นองค์กรที่ให้ความรู้และสนับสนุนการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาเพื่อเป็นสินค้า OTOP

ดังนั้นท่ามกลางกระแสความสนใจเรื่องการรักษ์โลกนับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทุกองค์กรหรือหน่วยงานทุกภาคส่วน ต่างก็ตระหนักและให้ความสนใจมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งนับวันก็ยิ่งค้นคว้า วิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตสิ่งทอให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งทอที่มีลักษณะและคุณสมบัติพิเศษตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอมีความตื่นตัว นำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนการผลิตและสร้างนวัตกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
สุดท้ายนี้ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องร่วมกันส่งเสริมการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลยายแย้มวัฒนา นับได้ว่าการทำผ้าภูอัคนี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่ามหัศจรรย์ ที่เกิดจากดินธรรมดา เเละได้กลับกลายมาเป็นสีสันงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ จนเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของจังหวัดบุรีรัมย์ ในการซื้อกลับไปเป็นของฝากสำหรับคนที่บ้านหรือให้กับตนเอง
ในการจัดกิจกรรมการอบรมในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือของพ่อแม่พี่น้องชาวตำบลยายแย้มวัฒนาที่ร่วมเข้าอบรม และขอขอบคุณคณะอาจารย์และวิทยากรในการจัดการอบรมในครั้งนี้ ข้าพเจ้าถือว่าการอบรมในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีและประทับใจเป็นอย่างมาก หวังว่าการได้รับความรู้ในการอบรมในครั้งนี้จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณมาณโอกาสนี้ ขอบคุณครับ

อื่นๆ

เมนู