ในปัจจุบันสถานการณ์การติดเชื้อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จากการระบาดระลอกที่ 3 ที่ยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติและยังไม่ปลอดภัยต่อการลงปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทีม ED01 ตำบลถลุงเหล็ก ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) อาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล จึงต้องหาวิธีการในการปฏิบัติงานได้ โดยผู้ปฏิบัติงานและประชาชน จะไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด 19

       วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15.30 น. อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานในตำบล จึงได้จัดการประชุมเพื่อปรึกษาและหารือในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในหัวข้อ “การส่งเสริมความรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการรับรองมาตรฐาน (มผช.)” ที่ได้มีการวางแผนและจัดเตรียมความพร้อมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนในตำบลจะต้องปฏิบัติหากต้องการจะให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอท้องถิ่นมีมาตรฐานและได้รับการรับรอง มผช. โดยการรับรองมาตรฐานจะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่สำคัญอยู่มาก จึงต้องมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถโดยตรงจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจให้ประชาชนสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีมาตรฐานและนำส่งให้ประเมินได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือก โครงการจะชำระค่าใช้จ่ายในการรับรองมาตรฐาน มผช.ด้วย อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานได้มีการแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 4 พื้นที่ โดยใช้การถ่ายทอดสดผ่านโปแกรมออนไลน์ Google Meet ในวันที่ 3 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสิริวิชญากร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อจัดการอบรมอย่างปลอดภัย ได้แก่

ภาพ : กำหนดการกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการรับรองมาตรฐาน (มผช.)

       1. จุดถ่ายทอดภาพการอบรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2. พื้นที่บ้านถลุงเหล็ก หมู่ 1
3. พื้นที่บ้านดอนดู่แดง หมู่ 13
4. พื้นที่บ้านโนนสำราญ หมู่ 16

      ข้าพเจ้า นายราเชน  อุส่าห์ดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในจุดที่ 1 จุดถ่ายทอดภาพการอบรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยการปฏิบัติงานเป็นดังนี้

       – วันที่ 2 กันยายน 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดสถานที่ในการจัดอบรมและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการอบรม ตรวจสอบความเรียบร้อยและประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


– วันที่ 3 กันยายน 2564 กิจกรรมได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ในช่วงเช้า เป็นการบรรยายโดย  รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์ในสาขาวิชา
สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้บรรยายเกี่ยวกับการอบรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของผ้าทอมือ เพื่อนำส่งขอมาตรฐาน มผช. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ โดยท่านวิทยากรได้บรรยายไว้เป็นลำดับขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดเตรียมเอกสารที่สำคัญ 2) คณะกรรมการรับคำขอของผู้ขอ 3) นัดหมายตรวจสถานที่ 4) ตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง 5) ส่งทดสอบที่หน่วยตรวจสอบ 6) ประเมินผลทดสอบ 7) สรุปเสนอออกใบรับรอง และ 8) ออกใบรับรอง โดยท่านวิทยากรได้ใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าอบรมได้ปฏิบัติตาม ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกร และผู้ช่วยวิทยากรในการอบรม

            ในช่วงบ่ายได้เรียนเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ยื่นขอมาตรฐาน มผช. ได้แก่ นางสุรัตน์ งามล้วน และนางอรุณ สาลี ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มาเล่าประสบการณ์ ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทราบแนวทางในเบื้องต้น และท่านวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับการเสริมสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นด้วย

      สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการปฏิบัติในเดือนนี้ คือ การปฏิบัติงานจะต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้นั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและมีความเข้าใจในกิจกรรมและสถานการณ์เป็นอย่างดี นอกจากนี้การรู้จักขอความร่วมมือจากผู้อื่นได้ จำเป็นที่จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและดำเนินตามขั้นตอนที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีนั้นไว้ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องและดี

วิดีทัศน์สรุปงาน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู