สถานการณ์ของพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จากการระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้หน่วยงานราชการในท้องถิ่นอนุญาตให้ทีม ED01 ตำบลถลุงเหล็ก ในการลงพื้นที่และการจัดอบรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ตำบลตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วและปฏิตามมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเคร่งครัด อาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกประเภทจึงได้ร่วมจัดประชุมเพื่อวางแผนและชี้แจงการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

       วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น. อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานในตำบล จึงได้จัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือและชี้แจงในการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม ซึ่งจัดในรูปแบบการประชุมเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ (Video Conference) ผ่านโปรแกรม Google Meet โดยมีกิจกรรมดังนี้
– การแนะนำสมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้รับการคัดเลือกเข้ามาใหม่จำนวน 5 คน แบ่งเป็น บัณฑิตจบใหม่ 3 คน ประชาชน 1 คน และนักศึกษา 1 คน
– การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัด ด้วยเครื่องมือ SROI แบ่งเป็น 11 ห้วข้อ
– การประสานงานประชาสัมพันธ์การจัดอบรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องให้กับชุมชนในวันที่ 22-23 ตุลาคม 2564  อบรมการทำน้ำมันนวดหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้านในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 และกิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำและความรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพร ณ บ้านแสงจันทร์ อ.สตึก ในวันที่ 25-26 ตุลาคม 2564

ภาพ : การประชุมผ่านโปรแกรม Google Meet

       ข้าพเจ้า นายราเชน  อุส่าห์ดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ดังนี้
– ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลและช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้ประจำทีม ED01 ตำบลถลุงเหล็ก คือ นายจตุพร  ศรีแจ่ม หรือน้องก้อง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ การปรับตัว และระบบในการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่โดยการทำงานเป็นกลุ่มให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย
– วันที่ 9 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้บันทึกข้อมูลการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัด ด้วยเครื่องมือ SROI ในหัวข้อที่ 2 ลูกจ้างโครงการที่เป็นนักศึกษา ซึ่งเป็นการสรุปการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ว่าส่งผลอย่างไรบ้างในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโดยภาพรวมแล้วโครงการได้พัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีคุณภาพทั้ง 2 ด้านนี้ดียิ่งขึ้นจากเดิม พัฒนาการมีรายได้ให้ผู้ปฏิบัติงานได้นำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติและถดถอยลง และการประสานงานในชุมชน พัฒนาทักษะให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยข้าพเจ้าได้ประเมินผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในรูปแบบ Google Forms

ภาพ : การประเมินผลด้วยเครื่องมือ SROI

 – วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ทีมงานED01 ตำบลถลุงเหล็ก ได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์การจัดอบรม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

       กลุ่ม 1 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 6, หมู่ที่ 8,  หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 15
       กลุ่ม 2 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 10, หมู่ที่ 11, หมู่ที่ 12 และหมู่ที่ 16
       กลุ่ม 3 รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 13 และหมู่ที่ 14

       ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ประจำกลุ่มที่ 2 และได้เดินทางเพื่อประชาสัมพันธ์ ณ บ้านของผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนโดยการประสานงานในเบื้องต้นว่า จะมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาชุมชนโดยจะต้องมีตัวแทนของหมู่บ้านในการเข้าร่วมอบรมในกิจกรรมที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านได้ประชาสัมพัธ์ต่อผู้ที่สนใจ ซึ่งมีกิจกรรมอยู่ 3 กิจกรรม ได้แก่

        1. ในวันที่ 22-23 ตุลาคม 2564 มีกิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องให้กับชุมชน
2. ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 อบรมการทำน้ำมันนวดหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้าน
3. ในวันที่ 25-26 ตุลาคม 2564 กิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำและความรู้ด้านการปลูกพืชสมุนไพร ณ บ้านแสงจันทร์ อ.สตึก

ภาพ : การลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์

 – วันที่ 13 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ดำเนินการลงพื้นที่ในหมู่บ้านที่รับผืชิดชอบ เพื่อเก็บข้อมูล CBD ผ่านระบบของ https://cbd.u2t.ac.th/ เพิ่มเติมในหัวข้อผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด นั่นคือบ้านผักแว่น หมู่ที่ 11 และบ้านพะไลพัฒนา หมู่ที่ 12 โดยเป็นการย้ายกลับมาเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในพื้นที่ จึงย้ายกลับมาอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิม เพราะปลอดภัยมากกว่า และพืชในท้องถิ่น โดยพืชที่ข้าพเจ้าลงสำรวจนี้ คือ ต้นยอ ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไปในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก ชาวบ้านนิยมนำผลมารับประทานด้วยการตำคล้ายกับส้มตำและนำใบมาทำห่อหมกซึ่งจะเสริมรสชาติให้ดีิ่งขึ้น

ภาพ : ลักษณะทั่วไปของต้นยอ

      สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการปฏิบัติในเดือนนี้ คือ การประสานงานที่ดี จะต้องมีข้อมูลที่แน่นอนและชัดเจน เพื่อให้การประสานงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและแม่นยำมากที่สุด รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทุกฝ่าย การรู้จักใช้ทักษะสื่อสารให้เข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน รวมถึงการสัมผัสกับสถานการณ์จริงก็จะทำให้การทพงานดียิ่งขึ้น

วิดีทัศน์สรุปงาน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู