เดือนธันวาคม 2654 เป็นเดือนสุดท้ายในการจ้างงานตามสัญญาของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำปี 2564 จึงมีแผนการจัดการอบรมที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต รวมถึงการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงานในตำบลอีกด้วย
ผู้ปฏิบัติงาน รหัส ED01 ประจำตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป รวมถึงคณาจารย์ผู้ดูแล จึงได้จัดการประชุม เพื่อปรึกษาและหารือในการจัดกิจกรรมตลอดทั้งเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งจัดในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบการประชุมเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ (Video Conference) ผ่านโปรแกรม Google Meet จึงได้วางแผนจัดกิจกรรมด้วยกัน 3 โครงการ ได้แก่
1. กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด โดยจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
2. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง(Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564
3. การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2564
ภาพ : การประชุมผ่านโปรแกรม Google Meet
ข้าพเจ้า นายราเชน อุส่าห์ดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ดังนี้
– กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาพื้นที่ของวัดสำราญราษฎร์-โนนสำราญ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการแบ่งหน้าที่กันดูแลพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ การทำความสะอาดโดยรอบบริเวณซึ่งมีใบไม้และเศษกิ่งไม้แห้งอยู่โดยทั่วจึงร่วมกันเก็บกวาด, ร่วมกันล้างห้องน้ำสาธารณะของวัดที่มีผู้ใช้บริการอยู่เป็นประจำ ให้สะอาดยิ่งขึ้น และการกวาดถูศาลาการเปรียญและจัดสถานที่ให้มีความเรียบร้อย เนื่องด้วยในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ทางวัดจะมีการจัดงานกฐินสามัคคีขึ้น จึงต้องมีการเตรียมสถานที่ให้พร้อมในการจัดงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงร่วมกันจัดสถานที่ให้พร้อม
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ผู้ปฏิบัติงาน U2T และอาจารย์ประจำตำบลจึงได้ร่วมงานกฐินสามัคคี โดยจัดกองกฐินในการร่วมงานและจัดให้มีโรงทานประจำทีมงาน U2T ด้วย นอกจากนี้มีการถวายหลอดไฟและอุปกรณ์ติดตั้งครบชุดเพื่อเป็นการบำรุงให้วัดมีแสดงสว่างที่เพียงพอในยามค่ำคืนและมอบอุปกรณ์ทำความสะอาดวัดให้เพียงพอต่อการทำความสะอาดในพื้นที่โดยรอบ
– การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง(Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดแบ่งงานของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลและปฏิบัติฝ่ายงานให้พร้อมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในวิถีทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในตำบลถลุงเหล็ก โดยจัดแบ่งเป็น 4 ฝ่ายทำงาน ได้แก่
1. ฝ่ายสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวและฐานเรียนรู้ มีหน้าที่กำหนดจุดทางการท่องเที่ยวและสืบหาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
2. ฝ่ายจัดเตรียมอาหาร มีหน้าที่สืบหาอาหารในท้องถิ่นที่สามารถนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวและจัดเตรียมอาหารให้พร้อม
3. ฝ่ายจัดทำโปสเตอร์ มีหน้าที่จัดทำโปสเตอร์แนะนำเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
4. ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย จัดทำแผนงบประมาณการใช้จ่าย รวมถึงประสานงานกับส่วนงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ให้เป็นสมาชิกฝ่ายอำนวยการ เพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยได้ลงพื้นที่ในการติดต่อประสานงานกับชุมชนและสอบถามข้อมูลในการจัดทำแผนที่การท่องเที่ยว จึงได้มีการวางแผนให้เส้นทางการท่องเที่ยวไม่วกวนและเป็นเส้นทางที่เหมาะสมมากที่สุด จึงได้กลุ่มวิถีชีวิตชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ การทำกระถางปูนซีเมนต์และการทอผ้า มีการจัดแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน จัดเป็นตลาดชุมชนจำลอง มีลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วย เสื่อกก ผ้าไหม ข้าวแต๋น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น ไม้ประดับ และน้ำอ้อย และมีการร่วมกันจัดสถานที่ให้พร้อม
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำตำบลได้มีการทดลองการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความพร้อมโดยสมมติเป็นนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวพักผ่อน จึงเกิดการปฏิบัติเสมือนมีนักท่องเที่ยวจริง โดยอาจารย์ได้ลงพื้นที่ประจำกลุ่มอาชีพด้วยรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง และมีนักเล่าเรื่องประจำรถและเดินทางจริงผ่านเส้นทางจริง เมื่อเรียบร้อยแล้วอาจารย์จึงเเนะนำและเสนอแนะการปรับแก้ให้เรียบร้อย
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 มีการจัดการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรมของชาวถลุงเห็ก โดยได้รบเกียรติจาก ท่าน รศ.ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณาจารย์ ผู้ติดตาม และผู้แทนจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวครั้งนี้ โดยได้รวมตัวกัน ณ จุดแรก คือ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 16 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยว เสร็จแล้วจึงเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์พ่วงข้างเพื่อเดินทางไปยังกลุ่มการทำกระถางปูนซีเมนต์ ซึ่งคุณตาพรมมาเป็นผู้ดูแล จึงได้อธิบายวิธีการในการทำกระถางที่มีความแข็งแรงเป้นอย่างมาก ตั้งแต่วิธีการก่อทรายเพื่อเป็นแบบในการทำกระถาง โดยมีวัสดุในการทำเป็นแบบซึ่งทำจากท่อ PVC ประดิษฐ์ แล้วจึงเทปูนซีเมนต์ลงกระถาง เมื่อเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางไปกลุ่มทอผ้าไหม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำผ้าไหมมาโดยตลอด ได้อธิบายวิธีการย้อมผ้า กรอผ้า มัดผ้า และแสดงผ้าที่ทอเรียบร้อยแล้วให้นักท่องเที่ยวได้ดู ต่อมาจึงได้เดินทางไปสักการะพระและเยี่ยมชมตลาดชุมชน ณ วัดสำโรง และพักรับประทานอาหารเที่ยง นักท่องเที่ยวจึงได้เสนอแนะในการนำไปปรับปรุงเพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต
– การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น
วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ได้ร่วมกันจัดสถานที่ในการอบรม โดยการนำแก้วกาแฟ กาต้มน้ำ และอุปกรณ์ในการอบรมมาจากอาคารคณบดีคณะครุศาตร์ เพื่อนำไปไว้ในห้องอบรม คือห้องปฏิบัติการทางสิ่งทอ ห้อง 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการจัดอบรม เมื่อดำเนินการพิธีเปิดเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าอบรมจึงได้ร่วมกันจัดทำเสื้อจากผ้าทอท้องถิ่นและทำกระเป๋า โดยได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์ และผู้ช่วยวิทยากรอีกหนึ่งท่าน ในการบรรยายในหัวข้อ การพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น และการเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ และร่วมในการปฏิบัติการจริง โดยอาจารย์ได้สอนผู้เข้าร่วมอบรมและช่วยกำกับดูแลในการตัดเย็บทุกขั้นตอน ข้าพเจ้าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดเย็บเสื้อผ้าโดยตลอด
วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ท่านวิทยากรได้บรรยายเพิ่มเติมในหัวข้อ การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น, ได้ฝึกปฏิบัติการออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น และข้อเสนอแนะและการปรับปรุงงานผ้าทอตำบลถลุงเหล็ก
จากการทำงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในการอบรมมากยิ่งขึ้น จากที่มีอยู่ก็เข้าใจมากยิ่งขึ้น ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น นอกจากความพร้อมในการปฏิบัติงานแล้ว ยังต้องมีการประสานงานที่ดีเพื่อให้งานที่ได้ทำมีการร่วมกันแก้ไขปัญหาและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาให้น้อยลงมากที่สุด ดังนั้น การสื่อสารและการประสานงานจึงสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การยอมรับข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติมากที่สุด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุดมากที่สุด
วิดีทัศน์สรุปงาน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564