ข้าพเจ้า นายสมชาย ม่วงอ่อน นักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน
ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

การจัดกิจกรรมในเดือนนี้ มีอยู่ทั้งหมด 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง (Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง 3) การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน ณ วัดสำราญราษฏร์ – โนนสำราญ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นการทำความสะอาดภายในบริเวรวัด และช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ เนื่องจากว่าในวันถัดไปทางวัดจะมีการจัดงานทอดกฐิน ซึ่งทีมงานผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้ร่วมกันบริจาคหลอดไฟ เสาไฟ และอุปกรณ์ทำความสะอาดให้กับทางวัดด้วย

วันที่ 19 -20 พฤศจิกายน 2564 ได้เตรียมจัดการทดลองการท่องเที่ยวในชุมชนตำบลถลุงเหล็ก ทีมผู้ปฏิบัติงาน
ได้แบ่งหน้าที่กันทั้งหมด 4 ทีมงาน คือ 1) ทีมงานสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวและฐานเรียนรู้ 2) ทีมงานอาหาร 3) ทีมงานโปสเตอร์
และ 4) ทีมอำนวยการ ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่ในทีมสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวและฐานเรียนรู้ ได้ลงพื่นที่ไปสำรวจและติดต่อประสานงานกับฐานเรียนรู้เพื่อจัดการทดลองการท่องเที่ยวครั้งนี้ พบว่า ฐานการเรียนรู้ที่จัดในการทดลองการท่องเที่ยวครั้งนี้มีทั้งหมด 2 ฐาน คือ 1) การทำกระถางปูนซีเมนต์ และ 2) การทอผ้า นอกจากนี้ในช่วงท้ายจะเป็นการเยี่ยมชมบูธจัดแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 6 บูธ ดังนี้ 1) บูธเสื่อกก 2) บูธผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น 3) บูธผ้าไหม 4) บูธข้าวแต๋น 5) บูธไม้ประดับ และ 6) บูธน้ำอ้อย  ซึ่งทางคณาจารย์ประจำโครงการได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชมตามจุดต่าง ๆ และให้แนะนำในเรื่องการพูดเชิญชวนนักท่องเที่ยว รวมถึงการจัดวางบูธสินค้าต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการทดลองท่องเที่ยว

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงาน เข้าประจำจุดที่รับผิดชอบรอต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งข้าพเจ้าได้รับหน้าที่เป็นคนขับรถพาชมการท่องเที่ยว เวลาประมาณ 09.00 น. นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงจุดต้อนรับ ณ ศาลาประชาคม ม.16 บ้านโนนสำราญ ทีมผู้ปฏิบัติงานได้จัดที่นั่งพักให้กับนักท่องเที่ยวและจัดเสิร์ฟเครื่องดื่ม Welcome drink ด้วยน้ำอ้อย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากคนในชุมชน เมื่อนักท่องเที่ยวนั่งพักและทำธุระส่วนตัวเรียนร้อย ได้ออกเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์พ่วงข้างไปเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ จุดแรกคือการทำกระถางปูนซีเมนต์ ซึ่งจุดนี้นักท่องเที่ยวจะได้ทดลองลงมือทำกระถางจริง จากนั้นเดินทางไปยังจุดที่สองคือ การทอผ้า ในจุดนี้จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าในแต่ละขั้นตอนจากคนในชุมชน จากนั้นเดินทางชมวิถีชีวิตของชาวชุมชนตำบลถลุงเหล็ก และเดินทางไปยังวัดสำโรง เวลา 12.00 น. ไหว้พระที่วัดสำโรงและร่วมทอดกฐินประจำปี ณ วัดสำโรง พร้อมทั้งเยี่ยมชมบูธจัดแสดงสินค้าของชุม และรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นเมนูอาหารประจำท้องถิ่น เช่น แกงยอดอ้อย หมกหน่อไม้ หยวกกล้วยใส่ไก่ น้ำพริกผักสด เป็นต้น หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ จึงได้ไปส่งนักท่องเที่ยวที่จุดต้อนรับ จากนั้น นักท่องเที่ยวจึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

วันที่ 4 – 5 ธันวาคม 2564 จัดกิจกรรมการพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคารสิ่งทอ ตึก 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งมีหัวข้อการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ 1) หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ 2) เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น 3) การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ 4) กระบวนการสร้างผ้าทอท้องถิ่น จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้ทำการตัดเย็บชิ้นงาน 3 ชิ้น คือ 1) เสื้อ 2) กระเป๋าใบเล็ก และ 3) กระเป๋าใบใหญ่

วิดีทัศน์สรุปงาน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู