ข้าพเจ้า นางสาววรางคณา จันทร์โสภา ผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ED01-ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการปฏิบัติงานของเดือนที่ผ่านมานั้น ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่อาจารย์ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานประจำตำบลได้มอบหมายได้ให้ผู้ปฏิบัติงาน  เช่น กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด ,การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง(Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง, จัดอบรมการพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น  เป็นต้น

 

                      ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน ธันวาคม 2564 ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ที่ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็กได้นัดประชุมผ่านโปรแกรม Google Meets  เพื่อแบ่งทีมในการทำงาน วันที่ 10 พฤสจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานกับผู้นำชุมชนและเจ้าอาวาสวัดสำราญราษฎร์-โนนสำราญ ว่าทีมงานU2T ตำบลถลุงเหล็กจะทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชนในวันที่ 17 ที่จะถึงนี้ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ทีมงานU2T ตำบลถลุงเหล็ก ได้ร่วมกันทำความสะอาดที่วัดสำราญราษฎร์-โนนสำราญ ช่วยกันเก็บกวาดถู จัดโต๊ะ จับผ้า ล้างห้องน้ำ เก็บกวาดใบไม้รอบวัด เพราะในวันต่อมาที่วัดจะมีงานทอดกฐินและมีโรงทาน ซึ่งในวันงานอาจารย์และทีมงานU2T ตำบลถลุงเหล็ก ได้ร่วมบริจาคชุดโคมไฟติดถนน ให้กับวัดเพื่อเพิ่มความสว่างให้เพียงพอและอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ ให้กับทางวัด

 

 

                        ในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00-13.00 น. ณ ชุมชนตำบลถลุงเหล็ก ทีมผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งออกเป็น 4 ทีมด้วยกัน ทีมละ 5 ท่าน ได้แก่ 1.ทีมสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยวและฐานเรียนรู้ 2. ทีมอาหาร 3. ทีมโปสเตอร์ 4. ทีมอำนวยการ ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่ในทีมที่ 4 ทีมอำนวยการ  ข้าพเจ้าก็ได้ลงสำรวจพื้นที่กับทีมสำรวจท่องเที่ยวและฐานเรียนรู้พร้อมทั้งคอยติดต่อประสานงานกับทีมต่างๆเพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ ผลสรุปการเตรียมความพร้อม  ได้เมนูอาหารประจำท้องถิ่นของตำบลถลุงเหล็กและได้นำมาจัดรายการอาหารในทริปท่องเที่ยว มีอาหารประจำท้องถิ่นของชาวบ้าน(ช่วงเที่ยง) คือ แกงหยวกกล้วยใส่ไก่ แกงยอดอ้อย ห่อหมกหน่อไม้ใส่หมู น้ำพริกปลาทูผักสด ส้มตำ ปลาส้มทอด เครื่องดื่มได้แก่ น้ำอ้อย น้ำอัญชัน น้ำใบเตย และฐานสร้างอาชีพของชุมชนถลุงเหล็ก 2 ฐาน ได้แก่ การทำกระถางปูนซีเมนต์ การทอผ้า รวมไปถึงบูธสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน มีดังนี้ 1.เสื่อกก 2.ผ้าไหม 3.ข้าวแต๋น 4.ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น 5.ไม้ประดับ 6.น้ำอ้อย   ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ทีมงานU2T นัดกันจัดสถานที่ ณ วัดสำโรง เพื่อเตรียมสถานที่ในการตั้งบูธต่างๆและที่รับประทานอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวในชุมชนตำบลถลุงเหล็ก ต่อมาในวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2564 ในช่วงเช้าอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลถลุงเหล็กก็ได้ลงพื้นที่ในการเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้สถานที่และฐานการเรียนรู้ต่างๆจัดเตรียมไว้เป็นที่เรียบร้อยเหมาะแก่การต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ และในช่วงบ่ายก็ได้จัดเตรียมสถานที่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะสมและเข้ากับงานครั้งนี้

 

  

 

 

                    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00-09.20 น. นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง ณ ศาลาหมู่ 16 บ้านโนนสำราญ Welcome drink(น้ำอ้อย) นักท่องเที่ยวเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัวเสร็จ เวลา 09.20 น. เริ่มเดินทางไปที่ฐานถางปูนซีเมนต์ เดินทางโดยการนั่งรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง จำนวน 3 คัน/3คน เข้าฐานกระถางปูนซีเมนต์ ของคุณพ่อพรมมา นันทพันธ์ ฐานกระถางปูนซีเมนต์สามารถให้นักท่องเที่ยวสามารถลองทำกระถางได้ โดยคุณพ่อพรมมาจะคอยสอนวิธีทำกระถางอยู่ตลอด ขั้นตอนแรกนำทรายมาใส่ให้ท่วมแบบแกนจากนั้นปั้นทรายให้พอดีกับแบบแกน ระหว่างปั้นให้ฉีดน้ำพรมทรายด้วย เพื่อป้องกันทรายแตก ทำแบบขึ้นรูปทรายวนให้เป็นทรงกระถาง ผสมปูนกับน้ำให้เข้ากันแล้วตักปูนใส่ถังนำปูนตักเทลงจากด้านบนและด้านข้างให้รอบนำปูนฉาบด้านข้างให้ทั่วแล้วนำแบบขึ้นรูปปูนวนให้รอบเสร็จแล้วผสมปูนโดยใช้ทรายละเอียด ให้เหลวพอประมาณตักราดบนกระถางที่เราทำไว้แล้วนำแบบขึ้นรูปปูนมาวนให้เรียบ เช็ดทำความสะอาดด้านข้าง ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง ค่อยๆแกะออกก็จะได้กระถางตามต้องการ และขั้นตอนสุดท้ายคือการลงสีกระถาง 10.00 น. นักท่องเที่ยวก็ได้เดินทางไปยังฐานทอผ้าไหม มัดหมี่ มัดตามจุดจากลายที่ออกแบบด้วยเชือก แต่นิยมใช้เชือกฟาง เพราะซื้อง่าย สะดวก นำเส้นไหมออกจากโฮงย้อมสีตามครั้งของเฉดที่ต้องการหรือตามมัดหมี่ไว้ แต่ตรงที่มัดหมี่ต้องไม่ติดสี ส่วนการย้อมสีซ้ำต้องย้อมหลังการตากแดดครั้งแรกให้สีแห้งก่อน การมัดหมี่ เริ่มด้วยการมัดเก็บขาว แบ่งได้ 2 วิธี คือ มัดทุกลายในหัวหมี่เดียวกัน กับ มัดแยกแต่ละลายในหัวหมี่แล้วต่อตอนทอผ้า กรอกเส้นไหม้เข้าหลอด นำหัวมัดหมี่ที่แกะเชือกใส่ในกงทำการกรอเส้นไหมเข้าอักเข้าหลอดด้ายด้วยไน ต้องมีการเรียงลำดับหลอดด้ายตามสีที่ออกแบบไว้ด้วย เวลา 11.35 น. เบรกดื่มน้ำอัญชัน ต่อมาเวลา 11.40 น. เดินทางชมวิถีการดำเนินชีวิตชาวตำบลถลุงเหล็ก โดยรถพ่วงข้างไปยังวัดสำโรง เดินทางถึงเวลา 12.00 น. ไหว้พระที่วัดสำโรงจากนั้นร่วมทอดกฐินประจำปีของชาวบ้าน ณ วัดสำโรง รับประทานอาหารท้องถิ่นจากชุมชน และเลือกชมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของดีประจำตำบลถลุงเหล็ก เวลา 13.30 น. ส่งนักท่องเที่ยวเดินทางกลับไปยังศาลาหมู่ 16 แล้วเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

 

                       ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ได้รับหนังสือจากทางอาจารย์ แล้วนำไปส่งให้กับทางผู้นำชุมชนและกลุ่มจิราพรกระเป๋าผ้าเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอท้องถิ่น ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ทีมงานU2T นัดกันจัดสถานที่ ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยกันจัดโต๊ะ เก้าอี้ เก็บกวาด เช็ดถู เตรียมพร้อมในการอบรมในวันต่อไป ในวันที่ 4-5 ธันวาคม 2564 เวลา 07.30 รถทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ออกเดินทางมารับผู้เข้าร่วมอบรม ณ ศาลา หมู่ 16 บ้านโนนสำราญ เพื่อเดินทางไปอบรม ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เวลา 08.00-17.30 น. ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม โดยวิทยากร นางอมรรัตน์ สุขจิตต์  มีหัวข้อการอบรมดังต่อไปนี้

1.หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

2.เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น

3.การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ

4.กระบวนการสร้างงานผ้าทอท้องถิ่น

5.ฝึกปฏิบัติการ การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น

การอบรมโดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทำการตัดเย็บผลิตภัณฑ์โดยการใช้จักร โดยมีวิทยาการและสมาชิกทีม U2T คอยให้ความช่วยเหลือ โดยการอบรมได้มีชิ้นงานให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทำการตัดเย็บ 3 ชิ้น คือ เสื้อ กระเป๋าใบเล็ก และ กระเป๋าใบใหญ่

                   จากที่ได้ปฏิบัติงานตลอดทั้งธันวาคม ข้าพเจ้าได้ประสบการณ์ทำงานที่มากยิ่งขึ้น และนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานในอนาคตต่อไป ได้เห็นถึงความร่วมมือและความสามัคคีของสมาชิกทีม ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และแข็งขัน รวมไปถึงความร่วมมือต่าง ๆ จากชุมชมที่ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ อาจเกิดข้อผิดพลาดไปไม่มากก็น้อยข้าพเจ้าพร้อมที่จะน้อมรับข้อตำหนิ และข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าจะนำข้อตำหนิ ข้อบกพร่องมาพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

 

 

อื่นๆ

เมนู