การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยตลอด ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม อาชีพ สภาพเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของประชาชนในตำบลถลุงเหล็กได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้เอง ในวันที่ 18 มิถุนายน 2564 จึงได้มีการจัดประชุมวางแผนงานกิจกรรมอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งข้าพเจ้า นายราเชน อุส่าห์ดี ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นการวางแผนทำความเข้าใจการอบรม และการวางแผนงานฝ่ายต่าง ๆ จึงวางกำหนดการจัดอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก คือ วันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2564 ณ ศาลาประชาคม หมู่ 10 บ้านหนองเครือ ตำบลถลุงเหล็ก นอกจากนี้อาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ได้ร่วมกันบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์ลงบรรจุภัณฑ์เพื่อจะนำไปมอบให้ผู้เข้าร่วมอบรมด้วย
ภาพ : การจัดประชุมวางแผนงานกิจกรรมอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก
และบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์ลงบรรจุภัณฑ์เพื่อจะนำไปมอบให้ผู้เข้าร่วมอบรม
สำหรับกิจกรรมอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก ผลการปฏิบัติงานเป็นดังนี้
– วันที่ 25 มิถุนายน 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดสถานที่ในการจัดอบรม เช่น กวาดพื้น ถูพื้น ติดป้ายการอบรม จัดเก้าอี้ จัดเตรียมอุปกรณ์การอบรม ติดตั้งป้ายการอบรม และได้ประชุมทบทวนหน้าที่และส่วนฝ่ายต่าง ๆ อีกครั้ง
– วันที่ 26 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรกที่จัดการอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก ในการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรับสเปรแอลกอฮอล์ที่ผู้ปฏิบัติงานได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสมอาจ สวัสดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 เป็นประธานในพิธี เมื่อประธานกล่าวเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ท่านวิทยากรก็จะได้พาเข้าสู่การจัดอบรม โดยวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ และผศ.อัษฎางค์ รอไธสง จากสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ให้ความรู้ในการจัดการอบรม ได้แก่ การให้ชุมชนได้รู้จักท้องถิ่นของตนเอง หาอัตลักษณ์ของชุมชนและวาดออกแบบเพื่อทำเป็นลายเสื่อที่มีเฉพาะตำบลถลุงเหล็ก ซึ่งออกแบบมาได้ 3 ลาย ได้แก่ ลายทางการเกษตร คือ ลายต้นอ้อยและต้นข้าว ลายทางประเพณีวัฒนธรรม คือ ลายกองทรายและกระทง และลายทางแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ลายชุมชนสายยาว ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกร ผู้ช่วยวิทยากร และผู้ช่วยประจำกลุ่มที่ 1
– วันที่ 27 มิถุนายน 2564 ท่านวิทยากรได้นำผู้เข้าร่วมอบรมพัฒนาเสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเสื่อกก ซึ่งได้พัฒนาเสื่อกกเป็นกล่องกระดาษชำระและจานรองแก้ว ซึ่งในตอนท้ายได้มีการสร้างความโดดเด่นในผลิตภัณฑ์โดยการจัดการเดินแบบแสดงสินค้า ซึ่งสร้างความสนุกสนานและมีความสุขเป็นอย่างมาก โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.พัชนี กุลฑานันท์ เป็นประธานในพิธีปิด ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกร ผู้ช่วยวิทยากร และผู้ช่วยประจำกลุ่มที่ 1
ภาพ : กำหนดการกิจกรรมอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก
ภาพ : กิจกรรมอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก
ต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ได้มีการจัดประชุมวางแผนงานกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ผ่านการประชุมในรูปแบบออนไลน์ (Video Conference) โปรแกรม Google Meet โดยเป็นการวางแผนทำความเข้าใจการอบรม และการวางแผนงานฝ่ายต่าง ๆ จึงวางกำหนดการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย คือ วันที่ 10 -1 1 กรกฎาคม 2564 ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 บ้านโนนเจริญ ตำบลถลุงเหล็ก ผลการปฏิบัติงานเป็นดังนี้
ภาพ : กำหนดการกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
– วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดสถานที่ในการจัดอบรม เช่น กวาดพื้น ถูพื้น ติดป้ายการอบรม จัดเก้าอี้ จัดเตรียมอุปกรณ์การอบรม ติดตั้งป้ายการอบรม และได้ประชุมทบทวนหน้าที่และส่วนฝ่ายต่าง ๆ อีกครั้ง
– วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เป็นวันแรกที่จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ในการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรับสเปรแอลกอฮอล์ที่ผู้ปฏิบัติงานได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสิงห์ทอง พวงเพชร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 16 เป็นประธานในพิธี เมื่อประธานกล่าวเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ท่านวิทยากรก็จะได้พาเข้าสู่การจัดอบรม โดยวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ คือ อาจารย์ปัญจมาพร ผลเกิด จากสาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ให้ความรู้ในการจัดการอบรม ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นในการขายของออนไลน์ ความรู้ด้านการตลาด การจัดทำเพจ การเพิ่มความน่าสนใจในเพจ และการพัฒนาเพจให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกร และผู้ช่วยวิทยากร
– วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ท่านวิทยากรได้พาเข้าสู่การจัดอบรม โดยวิทยากรในการอบรม ได้แก่ อาจารย์กฤษณ์ ปิตาทะสังข์ จากสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ อาจารย์ ดร.จริยาภรณ์ ปิตตาทะสังข์ จากสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ท่านวิทยากรได้นำผู้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าในการลงเพจให้ดูน่าสนใจและน่าซื้อ โดยมีการใช้เทคนิคทางการถ่ายภาพและทำง่ายด้วยกล้องมือถือ และการพัฒนาเพจเฟซบุ๊กในการขายออนไลน์ให้น่าสนใจ โดยการโพสต์ 3 อย่าง ได้แก่ การโพสต์เปิดร้าน การโพสต์ขาย และการโพสต์ให้ความรู้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกร ผู้ช่วยวิทยากร และผู้ช่วยประจำกลุ่ม
ภาพ : กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
ผลจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกการทำงานตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ ช่วยเหลืองานของผู้อื่นที่สามารถช่วยได้ ฝึกกระบวนการทำงานเป็นทีม รู้จักการวางแผนที่ดี และได้พัฒนาความรู้ร่วมกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้
วิดีทัศน์สรุปงาน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564