ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์  ทวีพวงเพชร  ลูกจ้างโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันได้ลงพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อค้นหาและสำรวจว่ามีหมู่บ้านใดบ้างที่ทำกลุ่มทอ เสื่อกก โดยหมู่บ้านหลักๆที่ทำเสื่อกก ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านถลุงเหล็ก หมู่ที่ 12 บ้านพะไลพัฒนา และ หมู่ที่ 5 บ้านหนองผักแว่น
จากการสำรวจพบว่ามีกลุ่มคนในชุมชนที่รวมกันทำเสื่อกก โดยมีคุณยายสุบิน ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม จากการสอบถามคุณยายสุบินเล่าว่าในกลุ่มแม่บ้านได้เปลี่ยนจาก กก เป็น ไหล ที่ใช้เป็นวัสดุในการนำมาทอเสื่อ ต้นไหลจะถูกเก็บมาทำเป็นเสื่อ ปีละประมาณ 3ครั้ง/ปี ต้นไหล 1 ต้น จะถูกนำมาตัดแบ่งเป็นเส้น ได้ต้นละ 3-4 เส้น นำไปตากแดดแล้วจึงนำมาย้อมสี ส่วนใหญ่จะเป็นสีม่วง สีเขียว และสีเหลือง เมื่อได้สีตามที่ต้องการเเล้วจึงนำมาทอ โดยจะใช้เวลาผืนละ 2-3 วัน โดยคุณภาพของเสื่อจะขึ้นอยู่กับลายที่ทำ หากละเอียดมากก็จะยิ่งทำให้สินค้าความละเอียดและมีราคาสูงขึ้น และมีงานหยาบจะมีลายและคุณภาพจะต่างจากงานละเอียดจึงจะทำให้มีราคาที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังสามารถนำ ไหล มาทอเป็นเสื่อได้ และยังสามารถแปรรูปไปเป็นที่รองแก้ว และที่รองจานได้อีกด้วย ส่วนกกนั้นซึ่งในหมู่บ้านนี้จะไม่ได้นำมาทอเสื่อ แต่จะสามารถนำมาดัดแปลงเป็นตุงที่ใช้ประดับในวัด หรืองานบุญต่างๆ โดยชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมตุง คนในชุมชนเชื่อว่าพิธีตุงจะช่วยไม่ให้เกิด ภัยร้ายแรงกับคนในชุมชน

ต่อมาลงสำรวจบ้านพะไลพัฒนา จากการสอบถามผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 นายบุญช่วย ศรีไพร  พบว่ามีกลุ่มชาวบ้านที่ทำทอเสื่อกก โดยจะมีคุณลลิตา ชัยฤทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม  โดยมีสมาชิกตั้งเเต่ 23-25 คน และยังมีการเเปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นอีกด้วย เช่น กระเป๋า หมวก รองเท้า และกระติบข้าว สินค้าที่ถูกดัดแปลงและนำมาจัดจำหน่ายนั้น โดยคุณลลิตา ชัยฤทธิ์ ได้กล่าวว่าสินค้าพวกนี้ส่วนใหญ่จะถูกขายให้กับคนในชุมชนมากกว่า เพราะสินค้าพวกนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปและยังไม่มีตลาดที่กว้างขวาง ทั้งนี้กลุ่มแม่บ้านที่ทอเสื่อกกของบ้านพะไลพัฒนายังได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอีกด้วย

และลงสำรวจบ้านหนองผักแว่น จากการสอบถามผู้ใหญ่บ้าน พบว่าภายในหมู่บ้านเคยมีการก่อตั้งกลุ่มแม่บ้านทอเสื่อกก แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำต่อ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำไปแจกหรือจัดจำหน่ายในกับชุมชน และชาวบ้านที่ทำเสื่อกกส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ทำให้อาจใช้เวลานานในผลิตเสื่อกก

จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าภายในชุมชนมีการทำเสื่อกกเป็นจำนวนมาก แต่ต้องหยุดทำเพราะทำแล้วไม่มีแหล่งตลาดที่รองรับให้กับชาวบ้านกลุ่มที่ทอเสื่ออย่างต่อเนื่อง หากเสื่อกกมีเเหล่งตลาดรองรับการขายสินค้าก็จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับกลุ่มชุมชน สร้างรายได้ให้คนในชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ต้นไหล

                       

ผลิตภัณฑ์เสื่อที่ทำจากต้นไหล

ผลิตภัณฑ์เสื่อที่ทำจาก กก

                     

ตุง

 

 

อื่นๆ

เมนู