ข้าพเจ้านางสาวชญานิษฐ์  ทวีพวงเพชร  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับผิดชอบ หมู่บ้านสำราญราษฎร์ หมู่ 7 ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมงาน เมื่อวันที่ 5-12  กุมภาพันธ์  2564  ณ หมู่บ้านสำราญราษฎร์  หมู่  7  ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02) ซึ่งการลงพื้นในครั้งนี้ คนในชุมชนได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งให้ข้อมูลในแบบสอบถามได้อย่างครบถ้วน และในวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อสำรวจข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) (06) ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สำรวจข้อมูลการสำรวจชุดที่ 3 หมู่ 12 บ้านพะไล สำรวจวัดพะไลราษฎร์บำรุง และสำรวจข้อมูลชุดที่ 4 หมู่บ้านสำราญราษฎร์ วัดบ้านโนนศิลา และได้รับมอบหมายสำรวจข้อมูลสถานภาพตำบล (05) ในตารางที่ 3 การประเมินศักยภาพตำบลตามเป้าหมาย ๑๖ ประการ โดยใช้ TPMAP มีทั้งหมด 16 เป้าหมาย ซึ่งข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อสำรวจ ซึ่งข้าพเจ้าได้ร่วมออกพื้นที่กับนางสาววรางคณา จันทร์โสภา และนางสาวอลิษา วิบูลย์อรรถ ได้รับมอบหมายให้สำรวจ ข้อ 11 พัฒนาคุณภาพกลุ่มเปราะบาง และข้อ 12 ระบบสุขภาพตำบล

หลังจากการได้สอบถามคนในชุมชนแล้ว ข้าพเจ้าพบว่าคนในชุมชนได้มีการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก คือ ทำนา และบางส่วนได้ทำอาชีพ รับจ้างทั่วไป จากการสำรวจค้นพบว่าในครัวเรือน ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

จากการสำรวจผลกระทบจากโรคโควิด-19 พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังกาย แต่ทุกครัวเรือนจะมีแอลกอฮอล์เจลพกติดตัวเพื่อใช้เวลาออกจากบ้านเช่น ไปตลาด หรือทำธุระต่างๆในพื้นที่สาธารณะ และมีบางครัวเรือนที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจลพกติดตัว แต่จะล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่ออกไปยังพื้นที่สาธารณะ และมีการใช้แอลกอฮอล์เจลตามจุดต่างๆที่ร้านค้า หรือ สถานที่ต่างๆได้จัดวางไว้ให้ประชาชนได้ใช้ และคนในชุมชนส่วนใหญ่มีการล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง และล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ ปัญหาที่พบในการสำรวจครั้งนี้คือ 1) ปัญหาหนี้สินในครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ 2) ขาดแคลนน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่การเกษตรต้องใช้น้ำเป็นอย่างมากเพื่อผลการผลิตพืชชนิดต่างๆและสระน้ำสาธารณะประโยชน์ต้องแบ่งร่วมกันใช้ระหว่างหมู่บ้านทำให้ขาดแคลนน้ำยิ่งกว่าเดิม และในการสำรวจครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้านและชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลการสำรวจดังกล่าว นำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาและช่วยเหลือ พัฒนา ชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

       

       

        

นายปรีดา นันทพันธ์

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 หมู่บ้านสำราญราษฎร์ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู