ดิฉันนางสาวชญานิษฐ์  ทวีพวงเพชร  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 1 – 6 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้วางแผนประสานงานดำเนินงานเกี่ยวกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนลงเว็บไซต์ https://cbd.u2t.ac.th

เมื่อวันที่ 7 – 14 พฤษภาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหัวข้อแหล่งน้ำในชุมชน, พืชในชุมชน, แหล่งท่องเที่ยว, ร้านอาหารในท้องถิ่น, เกษตรกรในท้องถิ่น, สัตว์ในท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิดของหมู่ 7 บ้านสำราญราษฎร์และหมู่ 10 หมู่บ้านหนองเครือ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกรอกข้อมูลลงในเว็บไซต์ https://cbd.u2t.ac.th

จากการลงพื้นที่ครั้งนี้

ทำให้ทราบว่ามีในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านสำราญราษฎร์ มีโฮมสเตย์ที่เปิดไว้สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้พักอาศัยและได้สัมผัสบรรยากาศความเป็นอยู่ของชุมชนจริงๆ และได้มีห้องพักราคาพิเศษสำหรับคณะ หรือผู้ที่มาศึกษาดูงานชุมชนทางสายยาว มีสิ่งอำนวยความสะดวกดังนี้

  • แผนกต้อนรับบริการ 24 ชั่วโมง
  • บริการฟรีอินเทอร์เน็ต / Wi-Fi
  • บริการอาหาร
  • เครื่องปรับอากาศ
  • เครื่องทำน้ำอุ่น
  • อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าได้
  • ที่จอดรถ

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการในตำบลถลุงเหล็กและพื้นที่ใกล้เคียง

และนอกจากนี้ในพื้นที่หมู่ 7 ยังมีสวนปลูกอ้อย, ยางพารา, และกล้วยเป็นพืชในท้องถิ่นและมีเกษตรกรคือนายบุญถึง แก้วบุตรดีเป็นเจ้าของสวนอ้อยหมู่ที่ 7 และนายเฉลิม วิบูลย์อรรถเป็นเจ้าของสวนอ้อยเช่นกันในพื้นที่หมู่ 10 นายบุญถึงและนายเฉลิมมีพื้นที่สวนอ้อยในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เมื่อผลผลิตออกแล้วจึงนำไปจำหน่ายบางส่วน ส่วนยางพาราได้มีนายพินิจ สีโสภาเป็นเจ้าของสวนยางพาราแห่งนี้ ในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ และเมื่อถึงฤดูกรีดยางจึงได้กรีดยางเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้ตัวเองและครอบครัวต่อไป และนอกจากนี้ยังมีสวนกล้วยขนนาดเล็กเป็นพืชในท้องถิ่นอีกด้วย และในชุมชนยังมีวัว เป็นสัตว์ในท้องถิ่นคนในชุมชนส่วนใหญ่จะเลี้ยงวัวประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 ครัวเรือน และยังพบว่าในพื้นที่หมู่ 10 ได้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นคือหม่อนไหมสำหรับทำผ้าไหมโดยเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาหม่อนไหมนี้คือนางสุรัตน์ งามล้วน ซึ่งจัดทำจำหน่ายให้กับชุมชนและผู้ที่ต้องการแม้จะมาจากนอกพื้นที่

และนอกจากนี้การลงพื้นที่ทำให้ทราบว่าขณะนี้ชุมชนอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ร้านอาหารในชุมชนหมู่ 7 และหมู่ 10 ส่วนใหญ่ปิดทำการเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดในชุมชน และพบว่าในหมู่ 7 ไม่มีบุคคลจากนอกพื้นที่ย้ายมาในพื้นที่ ตำบลถลุงเหล็ก มีเพียงแต่มาพักอาศัยในช่วงเทศกาลเป็นเวลาชั่วคราวเท่านั้น และพอครบกำหนดกักตัวในสถานที่ 14 วันก็ได้กลับไปยังต่างจังหวัด

การลงพื้นที่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 คนในท้องถิ่น เกษตรกร เจ้าของโฮมสเตย์ ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล

อื่นๆ

เมนู