ข้าพเจ้านางสาวอาภารัตน์ ลามะให ประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านยาง ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล ทางคณะทีมงานและข้าพเจ้าได้มีการวางแผนประจำเดือนสิงหาคม โดยผลสรุปจากการประชุมนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยรูปแบบที่ได้มีการปรับเปลี่ยนคือ การปรับเปลี่ยนการจัดอบรม ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนจัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ ที่ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.จิตตะวัน กุโบลา ดร.จตุพัฒน์ สมัปปิโต อ.ชุลีพร บุ้งทอง และ อ.เพียรพรรณ สุภะโคตร อาจารย์ประจำสาขาวิชา นวัตกรรมอาหารและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการอบรมประจำเดือนสิงหาคม สำหรับกิจกรรมอบรมนั้น จะมีจำนวน 2 กิจกรรม หลักๆ ด้วยกัน กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ อบรมระหว่างวันที่ 7- 8 สิงหาคม 2564 และกิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การทดสอบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และขอรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์พริกแกง ในระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2564
ในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ และอบรมเชิงปฏิบัติการ การทดสอบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และขอรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์พริกแกง ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของ การจัดสถานที่ชั้น 6 และ ชั้น 7 ตึก 22 อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ใช้สำหรับการจัดการอบรมในรูปแบบออนไลน์ กิจกรรมที่ 1 ได้มีการจัดอบรมระหว่างวันที่ 7- 8 สิงหาคม 2564 เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์ ที่จะเป็นการอบรมโดยการใช้Food Technology ที่ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง เพื่อที่จะให้ตัวพริกแกงนั้นสามารถที่จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมากขึ้น อีกทั้งได้มีการอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ที่ได้มีการนำสูตรผลิตภัณฑ์พริกแกงแบบดั้งเดิมของชาวบ้านตำบลบ้านยาง นำมาย่อยอดพัฒนาสูตรร่วมกันกับชาวบ้านตำบลบ้านยาง พร้อมทั้งนำFood Technologyเข้ามาช่วยในการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ จนได้ตัวผลิตภัณฑ์พริกแกงเป็นทั้งแบบซอสข้น และแบบก้อน โดยแบบซอสข้นจะมีการใช้สารHedrocolloid เพื่อช่วยให้ตัวผลิตภัณฑ์พริกแกงเป็นเนื้อเดียวกัน ที่มีความหนืด เข้มข้น ส่วนแบบก้อน จะมีการไล่ความชื้นที่ตัวพริกแกง ซึjงการไล่ความชื่นนั้น จะนำตัวผลิตภัณฑ์พริกแกงที่อัดเป็นก้อน นำไปไล่ความชื้นโดยการอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส กิจกรรมที่ 2 ได้มีการจัดอบรมอบรมในระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2564 เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ การทดสอบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และขอรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์พริกแกง เพื่อที่จะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์พริกแกงมีคุณภาพ น่าเชื่อถือต่อการบริโภค ที่จะต้องมีขอการรับรองอนุญาตผลิตภัณฑ์(อย.) และขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตพริกแกงที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสถานที่ตั้งควรที่จะมีท่อระบายน้ำออกนอกตัวอาคาร เพื่อที่จะระบายน้ำทิ้ง บริเวณผลิตจะต้องเป็นระเบียบ สะอาด ถูกสุขลักษณะ สะดวกเหมาะสมต่อการปฏฺิบัติงาน มีการป้องกันสัตว์ แมลงเข้าสู่อาคารผลิต โดยทำการติดต่อขออนุญาติผลิตอาหาร ที่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด ซึ่งทั้งนี้หลังจากการอบรมแล้วนั้น ทางทีมงานได้มีการประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน ในการขอใช้สถานที่ในการจัดตั้งสถานที่ผลิตพริกแกง ที่จะต้องมีการปรับปรุงสถานที่ให้มีความเป็นมาตรฐานถูกต้องตามหลักการขอจัดตั้งสถานที่ผลิต เพื่อให้นำมาสู่การที่จะขอการรับรองอนุญาตผลิตภัณฑ์(อย.)ต่อไป
สำหรับการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคมนั้น ก็ได้สำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดอบรม ที่ทีมงานทุก ๆ ฝ่ายนั้น ต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งชาวบ้านตำบลบ้านยางให้ความร่วมมือ และให้ความสนใจในการอบรมเป็นอย่างมาก ที่ได้มีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เข้ามายกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง ให้มีความพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดการค้าภายในประเทศ และต่างประเทศ