ข้าพเจ้า นางสาวภาคิณี อึงชัยศรี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (covid-19) ในประเทศไทยที่เกิดปรากฏการณ์ new high มีประชาชนติดเชื้อเป็นจำนวนมาก รวมถึงตำบลบ้านยางก็พบผู้ติดเชื้อเช่นกัน แต่ในปัจจุบันไม่พบผู้ติดเชื้อเกินกว่า 14 วันแล้ว แต่ยังมีการเฝ้าระวัง และควบคุมการเข้า-ออกภายในตำบล จึงทำให้การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมนั้น ทางคณาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจง และมอบหมายหน้าที่แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ้านยาง งานที่ได้ปฏิบัติคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง การยืดอายุผลิตภัณฑ์ และการขอรับรองมาตรฐานการผลิต (อย.) โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ (google meet)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกง การยืดอายุผลิตภัณฑ์ ได้จัดขึ้นในวันที่ 7-8 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยมีคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหาร และแปรรูป คือ ผศ.ดร.จิตตะวัน กุโบลา, ดร.จตุพัฒน์ สมัปปิโต, อ.ชุลีพร บุ้งทอง และ อ.เพียรพรรณ สุภะโคตร มาเป็นวิทยากร ในส่วนของการพัฒนา และการยืดอายุผลิตภัณฑ์พริกแกงนั้นได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ การเพิ่มสารไฮโดรคลอลอยด์ (Hydrocolloid) เพื่อเพิ่มความข้นหนืดสำหรับพริกแกงในรูปแบบของซอสข้น ทั้งนี้ปริมาณการใช้สารนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการใช้สารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และการอบไล่ความชื้น เพื่อให้ปริมาณน้ำในตัวพริกแกงระเหยออกไป และคงรูปในรูปแบบพริกแกงก้อน
การขอรับรองมาตรฐานการผลิต (อย.) จัดขึ้นในวันที่ 14-15 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยมีคณาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหาร และแปรรูป เช่นเดิม ได้มาให้ความรู้เรื่องการจัดตั้งกลุ่มวิสาหากิจชุมชน, การก่อตั้งโรงเรือนให้ได้มาตรฐาน และการขอรับรองมาตรฐานการผลิต (อย.) ทั้งนี้ยังได้สาธิตวิธีการตรวจหาปริมาณน้ำอิสระในพริกแกง, การวัดค่าสีพริกแกง และการวัดค่าความชื้นของพริกแกงภายในห้องทดลอง
สุดท้ายนี้ขอบคุณทางคณาจารย์ที่ได้มาเป็นวิทยากร, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชาวบ้านตำบลบ้านยางที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทางทีมงานตำบลบ้านยางหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าร่วม และจะนำข้อมูล ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกงเพื่อให้มีคุณภาพ และดียิ่งขึ้นไป