ข้าพเจ้านางสาวธิดารัตน์  บุตรงาม เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน ในช่วงเดือนมีนาคม ณ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ ณ ตำบลบ้านยาง โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการลงพื้นที่เพื่อสำรวจตามแบบสอบถามชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน(แบบฟอร์ม 01) และแบบสอบถามชุดที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 (แบบฟอร์ม 02) โดยมีเป้าหมายในการสำรวจครั้งนี้ คือหมู่ 4 บ้านยางประจิม ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

การลงปฏิบัติงานครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของคนในชุมชนบ้านยางประจิมตามหัวข้อต่าง ๆ ตามในแบบสอบถามโดยได้ข้อมูล พบว่าหมู่ที่ 4 บ้านยางประจิมมีจำนวนบ้าน 95 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 436 คน ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และอาชีพเสริมมักจะเป็นการรับจ้าง โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานภายในพื้นที่และมีบางส่วนที่ออกไปทำงานในต่างอำเภอบ้างแต่มีจำนวนน้อย สภาพบริเวณโดยรอบของบ้านแต่ละหลังจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน จากการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน พบว่าสิ่งที่ต้องการพัฒนาในบ้านยางประจิม คือการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน สิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของบ้านยางประจิม คือ กล้วยฉาบหรือกล้วยเบรกแตก โดยมีชาวผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มลูกบ้านเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง มีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้คนในชุมชน โดยหมู่ที่ 4 มีความต้องการที่จะทำให้กล้วยฉาบหรือกล้วยเบรกแตกได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ให้ยั่งยืนตลอดไป และชาวบ้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจเป็นอย่างดีเมื่อมีหน่วยงานเข้าไปพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ

จากการสำรวจลงพื้นที่ทำงานครั้งนี้ พบว่า ชุนชนต้องการที่จะสร้างรายได้และอาชีพเสริม เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นสร้างอาชีพเสริมที่มั่งคงให้คนในชุมชน ให้คนในชุมชนได้ทำงานในพื้นที่อีกด้วย

อื่นๆ

เมนู