1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02 การนำองค์ความรู้บริการชุมชน โดยเทคโนโลยีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พริกแกงและการส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน รายตำบล เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน ประจําเดือน ธันวาคม

ED02 การนำองค์ความรู้บริการชุมชน โดยเทคโนโลยีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พริกแกงและการส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน รายตำบล เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน ประจําเดือน ธันวาคม

ข้าพเจ้านางสาวอมรา ดาดผารัมย์ เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทประชาชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ปฏิบัติงานพื้นที่ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ 2564 ทางคณะอาจารย์ประจำตำบลบ้านยาง ได้มีการนัดหมายประชุมออนไลน์เพื่อแจ้งกำหนดการอบรมในวันที่ 10 และวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ 2564 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 16 บ้านผักบุ้ง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมการนำองค์ความรู้บริการชุมชน โดยเทคโนโลยีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พริกแกง ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ทั้ง 4 ท่าน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขาวิชา นวัตกรรมอาหารและการแปรรูป ได้แก่

  • ผศ.ดร. จิตตะวัน กุโบลา
  • ดร. จตุพัฒน์ สมัปปิโต
  • อ. ชุลีพร บุ้งทอง
  • อ. เพียรพรรณ สุภะโคตร

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์พริกแกง เพื่อให้ได้มาตรฐานและความเหมาะสมทำให้ผลิตภัณฑ์พริกแกงมีความน่าสนใจในการจำหน่ายมากยิ่งขึ้น และให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตพริกแกง เพื่อจำหน่ายและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมการส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน รายตำบล เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน โดยเนื้อหาการอบรม แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังนี้

  1. การส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ คธาวุธ จันบัวลา มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ โดยอาจารย์ให้คำแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับ การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลสถานที่ต่างๆ เช่น แหล่งธรรมชาติ สถาปัตยกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม แนวปฏิบัติทางสังคมพิธีกรรมและงานเทศกาล กีฬาภูมิปัญญาไทย เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดบันทึกลงในแอปพลิเคชั่นเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว ทำให้สะดวกในการค้นหาสถานที่และเส้นทางได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  2. การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.เลอสันต์ ฤทธิขันธ์ มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ โดยอาจารย์ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการทำงาน มี 4 ข้อดังนี้
    1. ติดต่อผู้นำชุมชน
    2. ศึกษาเส้นทางที่จะลงพื้นที่
    3. ศึกษาข้อมูล ข้อคำถาม
    4. ประชุมตามทีมเก็บข้อมูล

เพื่อที่จะได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาความยากจนได้อย่างรวดเร็วและได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสถานที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดบันทึกลงในแอปพลิเคชั่นเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้ค้นหาสถานที่แหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

อื่นๆ

เมนู