ข้าพเจ้า นางสาวปิยพร อาจเอื้อม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลถาวร อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร  :  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ   1 ตำบล 1  มหาวิทยาลัย  (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

การปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม ได้มีการอบรมการทำน้ำหมักผลไม้เพื่อสุขภาพ ข้าพเจ้าและทีมงาน U2T ตำบลถาวรร่วมกับประชาชนที่สนใจการทำน้ำหมัก ได้เข้าร่วมกิจกรรมการทำน้ำหมักเพื่อสุขภาพ  ซึ่งข้าพเจ้าและทีมงานได้เตรียมวัตถุดิบ ผลไม้ประจำถิ่นที่มีตามฤดูกาลและตามท้องตลาด ได้แก่  มะขามหวาน  มะม่วงหาวมะนาวโห่  องุ่น ส้ม เป็นต้น  และทีมวิทยากรเตรียมอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ใช้ในการทำน้ำหมักให้ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักอนามัย มีอุปกรณ์ เช่น  กะละมังตะแกรงร่อน  หม้อต้มน้ำ  ผ้าขาวบาง เตาแก๊ส น้ำ 10 ลิตร  ผลไม้ประจำถิ่นหรือผลไม้ตามฤดูกาล  ถุงมือพลาสติก ฝาปิดหม้อ ขวดโหลแก้ว ยางรัด กระดาษทิชชู  หัวเชื้อน้ำหมัก  จากนั้นได้นำผลไม้ไปเตรียมโดยการนำเมล็ดออกให้หมดและเคี่ยวให้น้ำจากผลไม้ออกมาเพื่อสกัดคุณประโยชน์ทางโภชนาการวิธีการทำน้ำหมักเพื่อสุขภาพด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลา 30 นาทีหรือจนกว่าน้ำจากผลไม้จะออกมาได้ตามปริมาณที่ต้องการ โดยการเตรียมวัตถุดิบผลไม้นั้นต้องมีการชั่งตวง วัดปริมาณ เพื่อให้ได้สัดส่วนที่กำหนดหรือที่เราต้องการตามสะดวก  เมื่อนำน้ำจากผลไม้ออกมาแล้ว จากนั้นนำน้ำที่ได้มาเติมน้ำตาลบรรจุใส่ขวดโหลแก้วและใส่หัวเชื้อน้ำหมักเพื่อสุขภาพ  จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นและปิดปากด้วยกระดาษทิชชูและรัดด้วยยางเพื่อให้จุลินทรีย์ได้มีอากาศหายใจ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 3-7 วัน อุณหภูมิห้องหรือที่มีอากาศค่อนข้างเย็นสบาย จากนั้นนำมาชิมและสูดดมกลิ่น สรุปผลที่ได้ จากการทำน้ำหมักครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ความรู้เพื่อใช้ไปต่อยอดและพัฒนา ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำน้ำหมักดื่มเอง ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างอื่นหรือสร้างงานอดิเรกได้

 

ต่อมาข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ผู้ยากไร้ ในหมู่ที่3 หมู่ที่8 และหมู่ที่9 พบว่าในแต่ละหมู่บ้านมีผู้ยากไร้จำนวนมาก โดยวิธีความลำบากในการใช้ชีวิตแตกต่างกันตามสถานภาพและสภาวะสังคมที่พบเจอส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยของผู้ยากไร้จะไม่ค่อยมั่นคง แข็งแรง  และมีรายได้ค่อนข้างน้อย รวมถึงค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างมาก ผู้ยากไร้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้รับรู้ข่าวสารได้น้อยลง ส่วนใหญ่จะรับรู้ข่าวสารทางหัวกระจายข่าวหมู่บ้าน ในบางครั้งผู้ยากไร้บางคนก็ติดตามข่าวโดยการเข้าประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านนั้น พวกเขาตระหนักว่าการประชุมประจำเดือนถือว่าเป็นการติดตามข่าวอย่างหนึ่งของหมู่บ้าน  ปัญหาและความลำบากในการใช้ชีวิตจะค่อนข้างแตกต่างกันชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ และมีการได้รับสวัสดิการทางสังคมจากหน่วยงานภาครัฐคือเทศบาลตำบลถาวร ได้มาช่วยเหลือในบางส่วน แต่ยังช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึงหรือยังไม่ครอบคลุมความต้องการของชาวบ้าน ประชากรที่ยากไร้มีความต้องการได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ต้องการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ต้องการถุงยางชีพ เพื่อแบ่งเบาภาระส่วนหนึ่งของครอบครัว

 

การปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าขอขอบคุณหน่วยงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูล ขอบคุณประชากรในตำบลถาวรที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ขอขอบอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงาน U2T ตำบลถาวรที่ปฏิบัติงานอย่างเข็มแข็งร่วมกันมาตลอดระยะเวลา 11 เดือน

วิดีโอประจำตำบล

อื่นๆ

เมนู