ED03โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้ว1ตำบล1มหาวิทยาลัย) ข้าพเจ้า นาย วรายุทธ์ ทองดี กับทีมปฏิบัติงานได้เข้าอบรมหลักสูตร การตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพเเละเชิงปริมาณด้านเคมีเเละกายภาพผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเเละขั้นตอนการขอใบอนุญาตขึ้นทะเบียน อย.
ในวันที่18พฤษภาคมถึง 16 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าเเละทีมปฎิบัติงานได้ร่วมกับชาวบ้านในตำบลถาวรที่สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้ร่วมกันออกเเบบโลโก้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพเเละเข้าอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนเเละวิธีการในการยื่นเรื่องขอใบอนุญาต อ.ย.เเละวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม รวมทั้งวิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องดื่มให้ผ่านมาตรฐาน มผช. เเละ อย.
ในขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.ผู้ขอต้องยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งโรงเรือน(ในกรณีที่ยังไม่มีโรงเรือน)พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขอำเภอ เเละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบโรงเรือนเพื่อขอใบอนุญาต อย.ตามเเต่ชนิดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ส่วนในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพเครื่องดื่มเพื่อให้ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ มผช.นั้นคือ
1. ข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับเเละสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
2. มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเเละสอดคล้องกับนโยบาย OTOP
3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ.เป็นผู้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ
4. ผู้ประกอบการสามารถที่จะปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของ สมอ.
5. ภายใต้คำเเนะนำของผุ้เชี่ยวชาญจาก สมอ.ซึ่ง สมอ.จะให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเเก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณา โดยมีการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
สำหรับจุลินทรีย์ก่อโรค ในผลิตภัณฑ์ มผช.ได้เเก่
ด้าน เคมี
ด้านกายภาพ
ด้านจุลชีววิทยา
เเหล่งที่เกิดการปนเปื้อนจุลินทรีย์
ดินเเละน้ำ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารหรือเครื่องดื่มหรือภาชนะที่บรรจุไม่สะอาด
จุลินทรีย์จากลำไส้ของมนุษเเละสัตว์ที่อาจปนเปื้อนลงสู่เเหล่งน้ำ
จากผู้สำผัสอาหาร นิ้วมือ ผิวหนังหรือเสื้อผ้าของผู้ประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม
อากาศเเละฝุ่นละออง
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจุลินทรีย์
ใช้ความร้อนในการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มระดับพาจเจอไรซ์ หรือฆ่าเชื้อระบบยูเอชที
ควบคุมการผลิตตามหลัก GMP อย่างเคร่งครัด
ระมัดระวังการปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารที่ปรุงสุกเเล้วกับวัตถุดิบหรือผู้สำผัสอาหาร ภาชนะ หรือเครื่องจักร
สวมผ้าปิดปาก ถุงมือ หมวกคลุมผม ขณะที่ประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม
ช่วงนี้อยู่ในช่วงโควิด 19 ระบาด การดำเนินงานหรือการเข้าร่วมอบรมต่างๆเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้ปฎิบัติงานเเละชาวบ้านที่เข้าร่วมการอบรมให้ความร่วมมือในการป้องกันเละเฝ้าระวังการระบาดโควิด 19 อย่างเข้มงวด
เขียนโดย นายวรายุทธ์ ทองดี