หลักสูตรโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลบูรณาการ ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือนพฤษภาคม
ข้าพเจ้านางสาวจันทรสปรีชากูล และทีมงาน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล แบบสอบถาม และข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่าง เดือนพฤษภาคม พ. ศ. 2564 ในตำบลถาวร เพื่อให้ทราบถึง บริบทชุมชนสภาพความเป็นอยู่ ทั่วไปรวมถึงปัญหา สถานการณ์ covid-19 และความต้องการในชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการนำมา วิเคราะห์หาแนวทาง ช่วยแก้ไขและพัฒนาชุมชน พัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชนเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ข้อมูลด้านอาชีพ ข้อมูลเกี่ยวกับ รายได้ และรายจ่าย แต่ละครัวเรือน ภาวะด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน ภาวะหนี้สินของครัวเรือนรวมถึงสถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบ จาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และภาวะด้านต่างๆในชุมชนโดยได้พูดคุยกับคนในพื้นที่และได้สอบถามรายละเอียดตามเอกสารแบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 ในการเก็บข้อมูล พบว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพทำนาทำไร่เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป บ้างก็ว่างงาน และได้หันมารวมกลุ่มทำ อาชีพตามภูมิปัญญาชาวบ้านเช่น การทอผ้าการย้อมผ้าการจักสาน เพื่อใช้ในครัวเรือน และจำหน่ายในชุมชนบ้าง แต่ยังไม่ได้ รวมกลุ่มอย่างจริงจัง เมื่อสอบถามถึงผลกระทบ เกี่ยวกับโรคระบาด พบว่าชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและทราบถึงการป้องกัน และดูแลรักษาตัวเองในเบื้องต้น ส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบเล็กน้อยเนื่องจากชาวบ้านไม่ค่อยได้ออกไปในที่ชุมชนมาก จะเก็บตัวและกับตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในชุมชน ทุกคนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันตนเองเป็นอย่างดีล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำใช้ สวมใส่หน้ากากอนามัยและใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ที่มีการเข้าสู่กลุ่มชุมชน ชาวบ้านอยากให้ มีการส่งเสริมด้านอาชีพและการจำหน่ายสินค้าบ้างก็อยากให้กลุ่มเด็กเยาวชนในพื้นที่มีความรู้ความสามารถ รายการ ฝึกฝนเยาวชนเพิ่มมากขึ้น และ คนในชุมชนมีการตื่นตัวเกี่ยวกับการหันมา ทำเกษตรแบบพอเพียง เพื่อความอยู่รอด โดยมี ต้นแบบจากโคกหนองนาโมเดลซึ่งข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงสำรวจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในชุมชนแหล่งน้ำในชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้านพบว่านิยมเลี้ยงกระบือ เลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ด และเลี้ยงหมู เลี้ยงโค บ้างก็เลี้ยงเพื่อการบริโภคในครัวเรือนบ้างก็เลี้ยงเพื่อจำหน่ายและขายให้เกษตรกรในชุมชนด้วยกัน แหล่งน้ำในชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะมีแหล่งเก็บน้ำแต่ละหมู่บ้านซึ่งยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำในตำบล มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้แค่ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ภูมิปัญญาชาวบ้านมีกลุ่มที่สามารถพึ่งตนเองได้เช่นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มจักสานและกลุ่มทอผ้าซึ่งชาวบ้านแจ้งว่า อยากให้มีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนเพิ่ม มากขึ้น
การสำรวจข้อมูลจากชาวบ้านในชุมชนครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากผู้นำหมู่บ้าน จากเจ้าหน้าที่รพ. สตและอสมในชุมชน ในการตอบแบบสอบถามและชี้แนวทางให้มีความรู้แก่ข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดียิ่งซึ่งทำให้ทีมงานผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลได้รับข้อมูล เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมาขึ้นมาอีกในระดับหนึ่งในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลางเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการ เชิงสถิติ ในการเขียนรายงาน ในเชิงด้านวิชาการ และในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมนี้ข้าพเจ้าได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะผ่าน ในระบบที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ด้าน ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ความเข้าใจในแต่ละด้านเพิ่มมากขึ้นเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันและในการพัฒนาตนเอง เพิ่มมากขึ้น และยังเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไปค่ะ