ข้อมูลผู้ปฏิบัติงาน
ข้าพเจ้า “นายสุทัศน์  ศรีหาลุน” ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.ถาวร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
สำเร็จการศึกษาจาก  สาขาอุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2564

การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม ของข้าพเจ้าประกอบด้วย 
ตอนที่ 1 การออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชน และโลโก้ผลิตภัณฑ์ประจำกลุ่ม
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนิน”โครงการ ยกระดับผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์”
โดยกิจกรรมเริ่มจากการรับฟังการบรรยายจากวิทยากรเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญต่างๆในการทำเครื่องดื่มและการขอขึ้นทะเบียน มผช. และ สูตรในการทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากผลผลิตที่มีในชุมชนบ้านถาวร ซึ่งจากการนำตัวอย่างบางส่วนเพื่อนำมาทำกิจกรรม พบว่าในตำบลถาวรยังมีผลผลิตที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้อีกมากมาย

ซึ่งในกิจกรรมภาคปฏิบัตินั้น กลุ่มของข้าพเจ้าได้สนใจ “กระชาย” ในการนำมาทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในครั้งนี้
หัวกระชาย

เมื่อกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำผลิตภัณฑ์และบรรจุในบรรจุภัณฑ์เรียบร้อยแล้วสิ่งที่จะทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ชื่อว่าอย่างไรและมีส่วนประกอบอะไรบ้างจึงต้องมีสติ๊กเกอร์หรือฉลากผลิตภัณฑ์ จึงได้มีการอบรมการออกแบบโลโก้และทางกลุ่มได้ร่วมกันวาดภาพและจัดทำฉลากผลิตภัณฑ์ตามที่ตนเองได้ออกแบบไว้เรียบร้อยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ

และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าคือ ได้รับการคัดเลือกจากผู้เข้าร่วมโครงการให้ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อที่จะนำไปจดทะเบียนเพื่อนำมาใช้เป็นฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป ซึ่งได้ออกแบบไว้หลากหลายแบบ

และแบบที่ทางผู้เข้าร่วมโครงการและอาจารย์ประจำทีมงาน ได้เลือกและให้รับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม คือ

และโลโก้2ภาพนี้ จะถูกนำมาเป็นโลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แบรนด์ “ภูถาวร”

ตอนที่่ 2การยืดอายุผลิตภัณฑ์”

เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการได้จัดทำผลิตภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นที่เรียบร้อยแล้วการที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุที่สามารถเก็บไว้ได้นานและยืดอายุในการขนส่ง จึงต้องมีการเรียนรู้การยืดอายุที่ถูกต้องและในครั้งนี้ได้รับการให้ความรู้จากท่านวิทยากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีและมีการสื่อความหมายที่ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย และยังได้ให้ความรู้ถึงขั้นตอนกระบวนการในการขอขึ้นทะเบียน มผช. และ อย. และขั้นตอนการตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นตัวการันตีว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมโครงการได้จัดทำขึ้นมานั้นได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่ปฏิบัติระจำเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งอยู่ในช่วงของการระบาดของไวรัสโควิด 19 จึงทำให้การดำเนินโครงการในครั้งนี้ ต้องกำชับให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านตระหนักถึงเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยในการทำงานเป้นอับดับแรกเนื่องจากโครงการในครั้งนี้ทำเกี่ยวกับอาหาร ส่วนการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมนั้นได้มีการคัดกรองวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตามกฎการรักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัย เพื่อความปลอดภัยเสมอในทำกิจกรรม

“ต้องขอขอบพระคุณชาวบ้าน บ้านถาวร ที่ให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และทางผู้ปฏิบัติงานโครงการU2T หวังว่าจะได้รับความร่วมมือและความสนใจจากทุกท่านแบบนี้อีกครั้ง ในโครงการต่างๆ ถัดไป ขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม ED03 สมาชิกโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.ถาวร ทุกท่านที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อมูลต่างๆ จนทำให้สามารถปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม 2564 ผ่านไปด้วยดี”

 

อื่นๆ

เมนู