ข้าพเจ้านางสาวศิริยากร แสนจะบก

กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร ED : 05 คณะครุศาสตร์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและทีมงานพร้อมคณะอาจารย์ประจำตำบล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์    ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ชุมชนบ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข          อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) พัฒนากิจกรรมเชิงพื้นที่ เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย วิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นสูตรทำ “น้ำหมักชีวภาพ” ที่ทำจากหน่อกล้วย หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” ที่ทำใช้เป็นประจำ ตั้งแต่เริ่มทำเกษตร มีวัสดุที่ต้องเตรียมดังนี้

  1. หน่อกล้วยเล็กๆสูงประมาณ ๑ เมตร ๓ กิโลกรัม
  2. กากน้ำตาล ๑ ลิตร
  3. น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน ๓ ลิตร
  4. EM จำนวน ๓ ฝา
  5. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด ๑ ใบ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ

๑. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด

๒. เติมน้ำเปล่าลงถัง เติมกากน้ำตาลและ EM จำนวน ๓ ฝา ลงไป คนให้ละลายเข้ากันประมาณ     ๑๕ นาที

๓. เติมหน่อกล้วยที่สับละเอียดลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง กด วัสดุหมักให้จมลง ปิดฝาถัง นำไปวางไว้ในที่ร่ม ๑0 วัน นำไปกรองเอาเฉพาะน้ำใช้ได้เลย ส่วนกากที่เหลือให้นำไปทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปใส่กระจายรอบโคนต้นไม้ได้เลย

การสังเกตน้ำหมักชีวภาพ

ในการสังเกตน้ำหมักชีวภาพที่พร้อมใช้นั้น หลังจากที่เราหมัก ครบ ๑0 วันแล้ว น้ำหมักจะมีสี

น้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวนิดๆ และจะมีราขาวเกิดขึ้นบริเวณผิวของน้ำหมัก ให้เรา นำมากรองเอาเฉพาะน้ำ เก็บใส่ขวดหรือถังพลาสติก ปิดฝา แบบหลวมๆก่อน เพราะในช่วงแรกๆจะมีก๊าซเกิดขึ้น และต้อง เก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแสงแดด

การใช้น้ำหมักชีวภาพ

ให้ผสมน้ำหมัก ๑0 CC. หรือประมาณ ๒ ช้อนแกง ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นหรือรดพืชผัก

พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นต่างๆ ในตอน เช้าที่แสงแดดอ่อนๆ ทุกๆสองสัปดาห์ จะทำให้พืชผัก พืชไร่ หรือไม้ผลที่เราปลูกโตไว มีใบเขียว ทนโรค ไม่มีแมลงมา รบกวน ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี และที่สำคัญเป็นน้ำหมัก ชีวภาพที่ปลอดสารพิษ ๑๐๐ % ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ใช้หน่อกล้วยที่ขุดใหม่จากต้นกล้วยที่ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร ตอนเช้าๆ ๓ กิโล หั่นให้เป็นชิ้นเล็ก   หรือ สับหยาบๆ เอาส่วนที่เป็นหน่อไม่เอาลำต้น ผสม กากน้ำตาล ๑ กิโล คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ ๒0 วัน จะได้น้ำสีน้ำตาลออกมา กรองเอาแค่น้ำ นำไปใช้เป็นหัวเชื้อได้ ผสมน้ำ ๒ ช้อนต่อน้ำ ๑0 ลิตร ฉีดต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นไม้

จุลินทรีย์หน่อกล้วย สรรพคุณ ใช้ป้องกันกำจัด ศัตรูพืช รักษาโรคจากเชื้อรา แบคที่เรีย

เคล็ดลับที่ ๑

จุลินทรีย์หน่อกล้วย (สูตรหัวเชื้อ)

ส่วนผสม หน่อกล้วยสูงไม่เกิน ๑ เมตร + กากน้ำตาล (หั่น สับ ตำ) ๓ กก. ๑ กก.

วิธีทำ หมัก ๗ วัน คนทุกวัน เช้า – เย็น แล้วคันน้ำมาใช้ ใส่ถัง ปิดฝาสนิท-เก็บได้นาน

ประโยชน์ ใช้ ๒ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ ๒0 ลิตร อาทิตย์ละครั้ง ใช้ปรับปรุงดิน ป้องกันกำจัดศัตรูพืช

เคล็ดลับที่ ๒ จุลินทรีย์หน่อกล้วย (สูตรขยาย)

 ส่วนผสม

หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย ๑ ลิตร +น้ำ ๑๐ ลิตร + หยวกกล้วยใหญ่สับละเอียด ๖๐ กก. +กากน้ำตาล ๒๐ กก.+ ลูกแป้งข้าวหมาก

วิธีทำ

ใช้แช่ฟาง หมักปุ้ยหอยเชอรี่ โดยไม่ใช้กากน้ำตาล หมักเหมือนสูตรหัวเชื้อ

ประโยชน์

ช่วยบำรุงดิน และป้องกันกำจัดศัตรูพืช

เคล็ดลับที่ ๓

จุลินทรีย์หน่อกล้วย (สูตรเร่งตัน)

ส่วนผสม

หอยเชอรี่ ๕0 กก.+ จุลินทรีย์หน่อกล้วย(สูตร ขยาย) ๕๐ ลิตร + รำละเอียด ๑๐ กก. + ๑ – ๓ กก. วิธีทำ

ผสมหอยเชอรี่กับจุลินทรีย์ เข้าด้วยกัน โปะหน้าด้วย รำ(ไม่ต้องคน)หมัก ๗ วัน แล้ว ผ่ามะกรูดใส่ คนทุกวันเช้า – เย็น อีก ๗ วัน พอหลังจากหมักต่อจนครบเดือนใช้ได้ ๒ ซ้อนโต๊ะ

ประโยชน์

ใช้ ๒ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ ๒0 ลิตร พ่นใบได้ ช่วยเร่ง ต้นเร่งใบ ใส่นาก็งาม ไร่ละ ๕ ลิตร ฤดูละ ๓ ครั้ง

เคล็ดลับที่ ๔

ปุ๋ยนมวัว ส่วนผสมนมวัว ๕ กก. + ไข่สด ๑๐ ฟอง + กากน้ำตาล ๑ กก. + จุลินทรีย์หน่อกล้วย ๑๐๐ ซีซี

วิธีทำ หมัก ๗ วัน คนทุกวัน เช้า – เย็น

ประโยชน์ เร่งต้น เร่งใบ มีธาตุอาหารครบถ้วนทั้งธาตุหลัก ธาตุรองใช้เหมือยปุ๊ยหมักหอยเชอรี่

เคล็ดลับที่ ๕

จุลินทรีย์หน่อกล้วย (สูตรปรามโรค) ส่วนผสม หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย ๑ แก้ว + เหล้าขาว ๑ แก้ว + น้ำส้มสายชูกลั่น ๕ %6 + กากน้ำตาล ๑ แก้ว

วิธีทำ

หมัก ๒๔ ชั่วโมง (๑ วัน)

ประโยชน์

ใช้ ๒ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ ๒0 ลิตร อาทิตย์ละครั้ง ใช้ฉีดหลังฝนตก ป้องกันรักษาโรคแบคทีเรีย

เชื้อไวรัส

เคล็ดลับที่ ๖

สารสกัดเปลือกมังคุด ส่วนผสม เปลือกมั่งคุดแห้งบดละเอียด ๑ ขีด (๑๐0 กรัม) + แอลกอฮอล์เช็ดแผล ๗๐% ๑ ขวด (๔๕๐ ชีซี)

วิธีทำ หมัก ๗ วัน กรองน้ำมาใช้ ด ซีซี ผสมน้ำ ๒0 ลิตร

ประโยชน์ ป้องกันรักษาเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส

เคล็ดลับที่ ๗

ฮอร์โมนไข่ ส่วนผสม ไข่ไก่พร้อมเปลือก ๕ ฟอง + กากน้ำตาล ๕ กก. + ยาคูลท์ ๑ ขวด + ลูกแป้งข้าวหมาก ๑ ลูกบด

วิธีทำ

หมัก ๑๔ วัน คนทุกวัน เช้า – เย็น

ประโยชน์

ใช้ ๒ ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ ๒0 ลิตร ใช้ปิดตาดอก เร่งดอก เร่งผล

เคล็ดลับที่ ๘

สารสกัดสมุนไพร ดีพร้อม ส่วนผสม กระเทียมทั้งเปลือก (ตำ) ๒ ขีด + พริกไทยดำ(ตำ) ๑ ขีด + น้ำมันยูคาลิปตัส ๑0 ซีซี + แอลกอฮอร์เช็ดแผล ๗0% ๑ ขวด(๔๕๐ ซีซี )

วิธีทำ

หมัก ๗วัน คนทุกวัน เช้า – เย็น กรองน้ำมาใช้เก็บ

ประโยชน์

ใช้ ๒ ชีซี กับปุ้ยนมวัว ๒0 ซีซี น้ำ ๒๐ลิตรผสมใช้กำจัดเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย     ไรแดง และแมลงวันทอง 

เคล็ดลับที่ ๙

สารสกัดสมุนไพร (สูตรไล่ศัตรูพืช) ส่วนผสม น้ำ ๑ ลิตร + สมุนไพรสด(ตำ) ๒ ขีด + จุลินทรีย์

หน่อกล้วย (หัวเชื้อ) ๑๐ ซีซี

วิธีทำ

หมักไว้ ๒๔ ชั่วโมง กรองน้ำมาใส่ ๑ ลิตร ผสมน้ำ ๒0 ลิตร ฉีดพ่น ๓ วัน/ครั้ง

ประโยชน์

ใช้ไล่ศัตรูพืชพวกแมลง เพลี้ย

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

วัสดุ

1.น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

  1. ขวดขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
  2. ไข่ไก่ 1 ฟอง

4.น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้

5.ถ้วย,ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
  2. นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตรียมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
  3. นำไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่งถึงทุกวัน

ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับในการลงพื้นที่

        ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก ตัวแทนทั้ง 14 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านเจริญสุข,               หมู่ 2 ประดาจะบก, หมู่ 3 บ้านโคกศรีละคร, หมู่ 4 บ้านบุไร่อ้อย, หมู่ 5 บ้านหนองสะแก, หมู่ 6 บ้านพูนสุขหมู่ 7 บ้านระเบิก, หมู่ 8  บ้านป่ารัง, หมู่ 9 บ้านหนองจอก, หมู่ 10 บ้านสี่เหลี่ยม, หมู่ 11 บ้านหนองแห้ว,   หมู่ 12 บ้านเจริญสุข, หมู่ 13 บ้านโคกเกริ่น และ หมู่ 14 บ้านสายบัว เข้าร่วมอบรบการทำน้ำหมักชีวภาพในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ได้รับรู้ถึงขั้นตอนวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่ชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ ขอบคุณท่านวิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มาให้ความรู้ความเข้าใจแก่ข้าพเจ้าและชาวบ้าน และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์ที่ได้มีโครงการดี ๆ จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

อ้างอิง : หลักสูตร การทำน้ำหมักชีวภาพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

อื่นๆ

เมนู