ED01  การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอเสื่อกก  และอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้สื่อออนไลน์

ข้าพเจ้านางสาวสุภาพร  ปักกาสาร  เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน  ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล  1 มหาวิทยาลัย)  การปฏิบัติงานครั้งนี้ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอเสื่อกก  และอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้สื่อออนไลน์  ชาวบ้าน  ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยอีสานจะมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย  คือ  ช่วยเหลือตนเอง  พึ่งพาอาศัยกัน  และจะมีการทำสิ่งของไว่ใช้เองไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าไหม  ผ้าพื้นเมือง  หรือการท่อเสื่อ  นอกจากจะเอาไว้ใช้เองแล้วยังเก็บไว้สำหรับมอบให้เป็นของที่ระลึกกับแขกที่มาเยือนอีกด้วย

กกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากมายหลายแบบหลายชนิด  ชาวบ้านได้ปลูกต้นกกไว้  โดยใช้พื้นที่ว่างจากบริเวณบ้านให้เกิดประโยชน์  และนำกกที่ปลูกไว้มาทอเป็นเสื่อกก  ไว้ใช้ปูนั่ง  ปูนอน  จากทอใช้เองแล้วก็เริ่มมีการวมกันเป็นกลุ่มเพื่อทอจำหน่ายหารายได้ให้ครอบครัว  ซึ่งเดิมการทอเสื่อนั้นจะทอเสื่อแบบราบโบราณ  และลักษณะของเสื่อที่ทอจะเป็นเสื่อผืนใหญ่

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

-เส้นกก

-สีเคมีหรือสีธรรมชาติ

-ด้ายหรือเส้นเอ็น

อุปกรณ์ในการทอเสื่อกก 

-ปี๊บหรือกาละมังยอมสี

-ฟืมทอเสื่อกก

-หลอดด้าย

-กระสวย

-กี่ทอเสื่อกก

ขั้นตอนในการผลิต

-ตัดต้นกกที่ปลูกไว้นำมาผ่าให้เป็นซีกเล็กๆ  และนำไปตากให้แห้ง

-ตั้งเตาไฟเพื่อผสมน้ำสีย้อมในปี๊บ  และตั้งไฟให้เดือด

-นำกกที่แห้งแล้วใส่ลงในปิ๊บเพื่อย้อมสีตามที่ต้องการ

-นำกกที่ย้อมแล้วตากไว้ให้แห้ง

-ขึ้นด้ายกับกี่ทอเสื่อ

-นำกกที่ย้อมสีเสร็จเรียบร้อยแล้วมาทอเป็นเสื่อ

-นำเสื่อที่ทอได้  ซึ่งเป็นผืนใหญ่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ  ตามที่ต้องการ

การออกแบบลายสร้างอัตลักษณ์ (เอกลักษณ์)  จุดเด่นของผลิตภัณฑ์  ไม่เพียงการถักทอตัดเย็บที่ปราณีต  และการเพิ่มพูนทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกกให้มีรูปแบบหลากหลาย  เพื่อสร้างรายได้แล้ว  ทาง U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  และชุมชนเห็นฟ้องในการสร้าง  อัตลักษณ์  ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสะท้อนรากฐานแห่งภูมิปัญญาในการพึ่งพาธรรมชาติ  ด้วยการทักทอ  ชาวบ้านก็ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์จากกกเหล่านี้มาจาก  ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์  จะให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเลยมีแนวความคิดว่าจะท่อเสื่อเป็นลายชุมชนสายยาว  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ  ตำบลถลุงเหล็ก  และเลือกใช้สี  น้ำตาล  แดง  เขียว  เพื่อสะท้อนถึงพื้นที่อาศัยของชุมชน ลายกระทง  ก่อกองทราย  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี  ของตำบลถลุงเหล็ก  และเลือกใช้สีน้ำตาล  แดง  เขียว เพื่อสะท้อนถึงประเพณี  ของตำบลถลุงเหล็กและเลือกใช้สีน้ำตาลส้ม  เขียวอ่อน  เพื่อสะท้อนถึงประเพณีวัฒนธรรมของชมชน  ลายต้นข้าว  ต้นอ้อย  ซึ่งเป็นพืชเอกลักษณ์ของตำบลถลุงเหล็ก  และเลือกใช้สีน้ำตาล  ส้ม  เหลื่อง  เขียว  เพื่อสะท้อนถึงพืชเศรษฐกิจของชุมชน

การเรียนรู้สื่อออนไลน์เพิ่มกลยุทธ์ทางการตลาด  แม้กลุ่มเป้าหมายจะพยายามฝึกฝนทักษะจนสร้างผลิตภัณฑ์จากกก  เพื่อจำหน่ายได้แล้ว  แต่เพื่อให้รายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนทาง  U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จัดอบรมให้ความรู้ทั้งด้านการตลาด  การบริหารจัดการเงิน  การขายออนไลน์  ซึ่งจะได้เรียนรู้  ในเรื่องขยองการทำสื่อการขาย  การถ่ายภาพ  เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่าย  รวมถึงการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

อื่นๆ

เมนู