ข้าพเจ้า นางสาวมนต์ธิกา ภูตาเลิศ ประเภทนักศึกษา  ปฏิบัติงานประจำ

ตำบลถลุงเหล็ก  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์

ตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

  เนื่องด้วยคณะครุศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1 ตำบล 1 มหาลัย) จะจัดอบรมการแปรรูปจากสิ่งทอ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก โดยกำหนดผู้เข้าอบรมเป็นผู้ประกอบอาชีพด้านการทอเสื่อกก หรือผู้ที่มีงานอดิเรกมีฝีมือในการตัดเย็บ การออกแบบหรือผู้มีความสนใจในเรื่องเสื่อกกในตำบลถลุงเหล็ก  อาจารย์นัดประชุมออนไลน์ในวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ผ่าน Google Meet ในการประชุมครั้งนี้เพื่อชี้แจงสมาชิกU2t ทุกท่านที่ทำงานร่วมกันในตำบลถลุงเหล็กช่วยประสานงานเชิญชวนชาวบ้านมาอบรมการพัฒนารูปแบบสินค้าเสื่อกก และในวันที่ 5 มิถุนายน 2564 อาจารย์ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ใหญ่บ้านทั้ง 16 หมู่บ้านในตำบลถลุงเหล็กได้รับทราบ  ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ 2564 ได้เริ่มการประชุมเพื่อวางแผนในการดำเนินงานในเดือนกรกฎาคม ซึ่งในวันนี้ได้มีการประชุมเพื่อวางแผนไว้ 3 อย่างคือ 1 จะจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  เสื่อกกในชุมชน  2 ยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าในตำบลถลุงเหล็ก 3 อบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้สื่อออนไลน์  เมื่อได้วางแผนประชุมงานเสร็จสิ้น จึงได้มีการจัดทำเจลแอลกอฮอล์ เพื่อนำไปไปแจกจ่ายให้แก่ผู้เข้าอบรม

 ในวันที่ 26-27 มิถุนายน พ.ศ 2554 ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  เสื่อกก  ให้แก่ชาวบ้านซึ่งมีจำนวน 40 ท่านโดยประมาณ  มีวิทยากรมาให้ความรู้จำนวน 3 ท่านในระยะเวลา 2 วัน   ในกิจกรรมนี้จะให้ชาวบ้านได้ร่วมกันคิดสิ่งที่โดดเด่นหรือเป็นอัตลักษณ์ในตำบลและได้เลือกมา 6 อัตลักษณ์และแบ่งเป็นอย่างละ 2 อัตลักษณ์ ได้แก่กลุ่มที่ 1 คือข้าวและต้อยกลุ่มที่ 2 กระทงและเจดีย์กลุ่มที่ 3 ถนนสายยาวและบ้าน  เพื่อทำกิจกรรม  โดยจะให้ผู้เข้าอบรมเลือกอัตลักษณ์ตามที่ตนเองชื่นชอบ และออกแบบลายเสื่อกกตามอัตลักษณ์  ซึ่งในแต่ละกลุ่มได้มีการออกแบบลวดลายประจำกลุ่มและมาโหวตกันว่าจะเอาลวดลายไหนในการจัดทำเป็นอัตลักษณ์ประจำกลุ่ม   จากนั้นในวันที่ 2 จะมีการจัดกิจกรรมบูรณาการการทำเสื่อกกโดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เช่น  กระเป๋า  แผ่นรองแก้วน้ำ ที่ใส่ทิชชู่แบบกล่อง ปกหนังสือและสมุด หรือแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น ซึ่งในการอบรมในครั้งนี้ได้สอนผู้เข้าอบรมทำที่ใส่ทิชชู่กล่องและแผ่นรองแก้วน้ำ ซึ่งผู้เข้าอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ในวันที่ 10-11 กรกฎาคมพศ 2564  ในวันกิจกรรมของวันแรกได้เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.00-17.30 น. หลังจากกล่าวเปิดงาน อบรมครั้งนี้เชิญวิทยากร 1 ท่าน ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง การขายสินค้าออนไลน์ฉบับต้นเรื่อง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขายของออนไลน์ ต้นทุน การลงทุน กำไร Workshop การเปิดร้านค้าออนไลน์ การเปิดเพจขายของออนไลน์ การลงรูปสิ้นค้า ราคา ขนาดสินค้า เบอร์โทรสั่งซื้อ และวิธีการปิดการขาย  อาทิเช่น กล้วยฉาบ ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เสื่อกก   ในกิจกรรมของวันที่ 2 จะให้ผู้เข้าอบรมได้รู้รูปแบบของการถ่ายรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในการขายมากยิ่งขึ้น และเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงของลูกค้า  ซึ่งผู้อบรมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เริ่มลงทะเบียน เวลา 08.00-17.30 น. อบรมครั้งนี้เชิญวิทยากร 2 ท่าน ท่านที่ 1.อาจารย์ปัญจมาพร ผลเกิด 2.อาจารย์กฤษณ์ ปิตาทะสังข์ ให้ความรู้ในหัวข้อเรื่องเทคนิคการบริหารร้านค้าออนไลน์ เริ่มจากระบบการสร้างออเดอร์ ถ่ายรูปสิ้นค้ายังไงให้ดูน่าซื้อ การวางจำหน่ายสินค้า การชำระเงินผ่านระบบต่างๆ การเชื่อมกับระบบของขนส่งที่เป็นพาร์ทเนอร์ ระบบการขายแยกเป็นหมวดหมู่อย่างเจนชัดเจน รวมไปถึงกระบวนการให้ร้านค้าออนไลน์สามารถบริหารการขายในขั้นตอนเดิม เพิ่มสินค้าเข้าคลัง – Live ขายสินค้า – สร้างออเดอร์ – คอนเฟิร์มออเดอร์ – ปริ้นท์ใบปะหน้า – เรียกรถส่งสินค้า ได้สะดวกมีข้อมูลรองรับและเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิมภายในระบบเดียว และอบรมเรื่อง ขายอย่างไรไม่ให้ขาดทุน ต้องรู้จักสินค้าของตัวเองก่อน ว่าสินค้ามีต้นทุนต่อหน่วยเท่าไร รวมไปถึงต้องรู้ว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าประเภทไหน เป็นสินค้าสำหรับคนทั่วไปที่ซื้อง่ายขายคล่อง หรือเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนคนซื้อที่จำกัด

 

อื่นๆ

เมนู