ข้าพเจ้า นางสาววรางคณา จันทร์โสภา ผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ED01-ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการปฏิบัติงานของเดือนที่ผ่านมานั้น ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่อาจารย์ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานประจำตำบลได้มอบหมายได้ให้ผู้ปฏิบัติงาน  เช่น การจัดอบรมการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างนักเล่าเรื่องให้กับชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ความน่าใจของชุมชนผ่านเรื่องราวของกระบวนการสืบสานและพัฒนาภัณฑ์,การจัดอบรมส่งเสริมการทำน้ำมันนวดสมุนไพรหอมระเหยจากสมสุนไพรพื่้นบ้านเพื่อรายได้หลังสถานการณ์โควิด,จัดกิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำ และความรู้ด้านการปลูกพืชผักสมุนไพร,การจัดอบรมการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันเชื้อโควิดและการรณรงค์การฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุในตำบล เป็นต้น

                                  ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน พฤศจิกายน 2564 หลังจากได้มีการประชาสัมพันธ์การจัดอบรมการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างนักเล่าเรื่องให้กับชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ความน่าใจของชุมชนผ่านเรื่องราวของกระบวนการสืบสานและพัฒนาภัณฑ์,การจัดอบรมส่งเสริมการทำน้ำมันนวดสมุนไพรหอมระเหยจากสมุนนไพรพื่้นบ้านเพื่อรายได้หลังสถานการณ์โควิด,จัดกิจกรรมหนุนเสริมธนาคารน้ำ และความรู้ด้านการปลูกพืชผักสมุนไพร ในวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ได้นัดผู้ปฏิบัติงานในทีมงาน U2T เตรียมจัดสถานที่อบรมในวันที่ 22-24 ตุลาคม 2564 ณ ศาลาประชาคมหมู่ที่ 16 บ้านโนนสำราญ ต่อมาในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00-08.30 น. ผู้เข้าอบรมเริ่มลงทะเบียนและทำพิธีเปิดการอบการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างนักเล่าเรื่องให้ชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ความน่าสนใจของชุมชนผ่านเรื่องราวของกระบวนการสืบสานและพัฒนาผลิตภัณฑ์  บรรยายโดยท่านวิทยากร อาจารย์วันดี เธียรสวัสดิ์ และท่านผู้ช่วยวิทยากร อาจารย์จินตนา วัชรโพธิ์กร  ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม 2564 ท่านวิทยากร อาจารย์วันดี เธียรสวัสดิ์ และท่านผู้ช่วยวิทยากร อาจารย์จินตนา วัชรโพธิ์กร ได้บรรยายเจ้าบ้านที่ดี,การฝึกปฏิบัติ หลักการพูดเล่าเรื่อง, ฝึกปฏิบัติการเล่าเรื่องนำเสนอชุมชนและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน การค้นหาจัดโปรแกรมท่องเที่ยวผลิตภัณฑ์เด่นในชุมชนและการทดสอบโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนเรื่องราวผลิตภัณฑ์ในชุมชนและเทคนิคการเล่าเรื่องราวโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชนและเขียนคำเชิญชวนที่สร้างความสนใจให้ลูกค้าและการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นชุมชนบรรยายและนำฝึกปฏิบัติ

 

 

                          ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564  เวลา 08.00-08.30 น. ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนและพิธีเปิดการอบรมการส่งเสริมการทำน้ำมันนวดสมุนไพรหอมระเหยจากสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อเพิ่มรายได้หลังสถานการณ์โควิด วิทยากรให้ความรู้ เรียนรู้สมุนไพรใกล้ตัวในครัวเรือนและประโยชน์ของน้ำมันนวดสมุนไพร เป็นวิธีของคนไทยโบราณที่ใช้เตรียมน้ำมันไพลเพื่อใช้ในครัวเรือน เป็นน้ำมันถูนวด แก้ปวดกล้ามเนื้อ น้ำมันไพลสูตรนี้เตรียมได้จากการนำไพลสดมาทอดกับน้ำมันพืชชนิดอิ่มตัว (ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดอิ่มตัว) ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม ไม่ควรใช้น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัว ผู้เข้าอบรมสามารถจะเตรียมน้ำมันไพลใช้เองได้ในครัวเรือน จึงขอแนะนำวิธีเตรียมตำรับน้ำมันไพลทอดสูตรโบราณซึ่งใส่เหง้าขมิ้นชันด้วย เพื่อเสริมฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด ทั้งนี้เพราะขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดได้ โดยวิทยากร นางอรพรรณ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รพ.บุรีรัมย์ 

             วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำมันไพล

1) ไพล 1 กิโลกรัม
2) น้ำมันำ หรือน้ำมันมะพร้ำว 1 ลิตร
3) กำรบูร 15 กรัม
4) พิมเสน 15 กรัม
5) เมนทอล 15 กรัม
6) ดอกกำนพลู 15 กรัม

วิธีทำน้ำมันไพล
1) หั่นไพลบำง ๆ ทอดในน้ำมันงำ หรือน้ำมันมะพร้าว ด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ
2 – 3 ชั่วโมง จนเหลืองกรอบ
2) ก่อนยกลจากเตาไฟให้ใส่ดอกกำนพลูลงไป ทิ้งไว้สักครู่
3) นำกำรบูร, พิมเสน, เมนทอล, น้ำมันไพล กวนผสมให้เข้ากัน
4) บรรจุขวด (หำกต้องกำรท้ำเป็นขี้ผึง ให้ใส่วาสลีนผสม อัตราส่วน วาสลีน 1
กิโลกรัม ต่อน้ำมันไพล 1 กิโลกรัม โดยน้ำวาสลีนตั้งไฟอ่อน ๆ ให้ละลาย แล้วผสมน้ำมันไพลลง
ไป ยกลงแล้วกรอกใส่ขวดขณะร้อน ๆ ทิ งไว้ให้เย็นแล้วจึงค่อยปิดฝาขวด)

 

                              ในวันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 07.30 น. ได้นัดรวมตัวชาวตำบลถลุงเหล็กเพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านแสงจันทร์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์  การหนุนเสริมการทำธนาคารน้ำ เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการน้ำในชุมชน โดยวิทยากร อาจารย์ไพรัตน์ ชื่นศรี เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2555 ซึ่งใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน โดยขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร อีกวิธีคือ การใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หิน หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาถมในบ่อเพื่อแทนที่น้ำ ให้น้ำล้นออกมาใช้ได้เร็วขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินมีปริมาณมากพอ แนวคิดนี้เป็นเสมือนการออมหรือกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามน้ำหลาก นับเป็นตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน  วันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติงานทีมU2Tตำบลถลุงเหล็ก ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลถลุงเหล็กว่ามีจุดไหนหรือผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในชุมชนที่น่าจะนำมาเสนอให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแบบทำกิจกรรมหรือเที่ยวแบบครอบครัวและได้เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมอีกด้วย วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติงานทีมU2Tตำบลถลุงเหล็ก ได้ลงพื้นที่เพื่อส่งหนังสือประชาสัมพันธ์การอบรมการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันเชื้อโควิดและการรณรงค์การฉีดวัควีนแก่ผู้สูงอายุ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564ให้กับผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม

 

 

                           วันที่ 6 พฤศจิกาน 2564 เวลา 08.00-08.30 น. ผู้เข้าอบรมร่วมลงทะเบียนและพิธีเปิดอบรมการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติตนในการป้องกันเชื้อโควิด19 และการรณรงค์การฉีดวัคซีนแก่ผู้สูงอายุในตำบล “การส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอ ชรา ชีวายืนยาว”  บรรยายโดยวิทยากร ท่านอรชร คนชุม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาล อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยหัวข้อในการบรรยาย โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ,การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ,สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ,การสาธิตการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ผู้สูงอายุสมองดี,สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยของผู้สูงอายุ จากการจัดกิจกรรมต่างๆที่ได้เกิดขึ้นในชุมชนได้รับการร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม. และพี่น้องชาวตำบลถลุงเหล็ก ในการทำกิจกรรมต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี อาจเกิดข้อผิดพลาดไปไม่มากก็น้อยข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติพร้อมที่จะน้อมรับข้อตำหนิ และข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าจะนำข้อตำหนิ ข้อบกพร่องมาพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

 

 

  

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู