ดิฉันนางสาวฉัตรสุดา บุตกะ  ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ทำหน้าที่รับผิดชอบตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้รับแนวทางในการดำเนินงานจากคณะอาจารย์ประจำโครงการได้จัดเตรียมกิจกรรมทั้งหมด3กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับชุมชนทำความดีพัฒนาชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด จัดขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

2. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง(Story branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564

3. การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2564 ณ.ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่17 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานU2T ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาที่วัดสำราญราษฏร์-โนนสำราญ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการทำความสะอาดในศาลาและบริเวณวัด ทางทีมงานได้ช่วยกันกวาดพื้น ถูพื้น ล้างห้องน้ำ กวาดเศษใบไม้รอบวัด เพื่อที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับในการจัดงานทอดกฐินที่จะจัดขึ้นในวันต่อมา ซึ่งในวันงานคณะอาจารย์ประจำโครงการและทีมงานU2T ได้เข้าร่วมกันกิจกรรมทอดกฐิน พร้อมทั้งถวายหลอดไฟ เสาไฟ และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆให้กับวัดสำราญราษฏร์-โนนสำราญ

ในวันที่18พฤศจิกายน 2564 ทีมงานU2T ได้จัดเตรียมสถานที่ในการตั้งบูธต่างๆและที่รับประทานอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในชุมชน ณ.วัดสำโรง ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

ในวันที่19-20 พฤศจิกายน 2564 เวลา09.00 น.คณะอาจารย์ประจำโครงการได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชมตามจุดต่างๆและคอยแนะนำในเรื่องการพูดเชิญชวนนักท่องเที่ยวและรวมถึงการจัดวางบูธสินค้าต่างๆ

วันที่21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 น. ข้าพเจ้าและทีมงานU2T ได้ไปประจำยังจุดที่ได้รับหมอบหมายเพื่อมาเตรียมความพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะมาถึง

เวลา09.00 น.นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาถึงจุดต้อนรับ ณ.ศาลาประชาคม หมู่ที่16 บ้านโนนสำราญ ทางทีมงานได้มีการจัดที่ให้นั่งพักและจัดเสิร์ฟเครื่องดื่มWelcome drink ให้แก่นักท่องเที่ยว และได้แนะนำให้นักท่องเที่ยวได้เข้าห้องน้ำทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนเดินทางไปยังฐานต่อไป

พาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปยังฐานต่างๆตลอดทั้งทริปนี้คือรถจักรยานยนต์พ่วงข้างจำนวนสามคัน โดยระหว่างการนั่งจะมีไกด์คอยเล่าถึงที่มาของตำบลถลุงเหล็ก

ฐานแรกคือฐานการทำกระถางปูนซีเมนต์ โดยคุณพ่อพรมมาได้ให้ความรู้ในเรื่องขั้นตอนการทำกระถางและได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองทำด้วยตนเอง

ต่อมาคือฐานมัดย้อม มัดหมี่ โดยคุณแม่สุรัตน์ได้ให้ความรู้วิธีการทอผ้าและการย้อมสีให้แก่นักท่องเที่ยวหลังจากเสร็จภารกิจทั้งสองฐาน ทางทีมงานได้จัดเสิร์ฟน้ำอัญชันให้แก่นักท่องเที่ยวและต่อด้วยการเดินทางไปยังวัดสำโรงในระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้เห็นวิถีชีวิตต่างๆของคนในชุมชน เช่นการเกี่ยวข้าว ตากข้าว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

เวลา11.00-11.15 น. กลุ่มนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาถึงวัดสำโรง ทางทีมงานได้มายืนต้อนรับและนำนักท่องเที่ยวเข้าไปไหว้พระประจำวัดที่คนในหมู่บ้านต่างให้ความเคารพนับถือ หลังจากนั้นจะเป็นการเดินเยี่ยมชมบูธผลิตภัณฑ์และของดีประจำตำบลถลุงเหล็ก ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 6 บูธ ได้แก่

1.บูธผ้าไหม
2.บูธเสื้อกก
3.บูธข้าวแต๋น
4.บูธผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น
5.บูธไม้ประดับ
6.บูธน้ำอ้อย

เวลา12.00 น. นักท่องเที่ยวได้เข้านั่งยังที่รับรองที่ทางทีมงานได้จัดเตรียมไว้สำหรับนักท่องเที่ยวโดยอาหารกลางวันที่จะได้รับประทานนั้นเป็นอาหารประจำท้องถิ่น เวลา13.00 น.ทางทีมงานได้รับฟังคำแนะนำและการติชมจากนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป เวลา13.30 น.ทางทีมงานส่งนักท่องเที่ยวเดินทางกลับไปยังจุดรวมตัว ณ.ศาลาประชาคม หมู่16 จากนั้นนักท่องเที่ยวได้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

วันที่26 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำโครงการได้นัดประชุมผ่านโปรแกรม Google Meet เพื่อชี้แจ้งงานกิจกรรมอบรมการพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น โดยจัดขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2564

วันที่3 ธันวาคม 2564 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการและทีมงานU2T ดำเนินการจัดสถานที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อนดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ในวันที่4 ธันวาคม 2564 เวลา07.30 น.รถของทางมหาลัยได้มุ่งหน้าไปรับผู้เข้าอบรมที่จุดนัดพบ ณ.ศาลาประชาคม หมู่ที่16 บ้านโนนสำราญ 08.00-08.30 น.ผู้เข้าอบรมถึงสถานที่จัดอบรม ณ.ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้ลงทะเบียนเรียบร้อย

เวลา08.30-09.00 น. เป็นพิธีเปิดกิจกรรมการอบรม การพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอทอดถิ่น

การอบรมมีทั้งหมด4หัวข้อดังนี้

1.หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
2.เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น
3.การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ
4.กระบวนการสร้างผ้าทอท้องถิ่น

บรรยายโดยท่านวิทยากร คุณอมรรัตน์ สุขจิตต์

ในวันที่5 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30 น.ผู้เข้าร่วมอบรมลงทะเบียน การอบรมเริ่มจากการแบ่งกลุ่มออกเป็น4กลุ่ม โดยวันนี้ท่านวิทยากรได้ให้ผู้อบรมได้ลงมือฝึกปฏิบัติการออกแบบและตัดเย็บผ้าทอโดยเริ่มจากการรีดผ้าเขาม้าและผ้ากาวให้ติดกัน โดยวิทยากรจะเเจกแพทเทิร์นเสื้อและกระเป๋าให้แก่ผู้ที่มาอบรม ได้ตัดเย็บตามขั้นตอนที่ได้อบรมมาให้แล้วเสร็จและทุกขั้นตอนจะมีท่านวิทยากรคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ชิ้นงานในการอบรมครั้งนี้มีทั้งหมด3ชิ้นงานได้แก่เสื้อ กระเป๋าใบใหญ่และกระเป๋าใบเล็ก โดยจะเป็นผลงานของผู้เข้าร่วมอบรมเอง ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมยังสามารถนำสิ่งที่ได้อบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชนต่อไป

อื่นๆ

เมนู