ข้าพเจ้านายภาณุพันธ์ นิลรัตนานนท์  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบประเภทประชาชน ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ได้มีการจัดพัฒนาอบรมพัฒนาองค์ความรู้ทั้งหมด 3 กิจกรรม ดังนี้

1.กิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดยการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนและการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะปลอดเชื้อโควิด

  1. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการสร้างสตอรี่แบรนด์ดิ้ง (Story Branding) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนผ่านการนำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่าในสตอรี่แบรนด์ดิ้ง
  2. การพัฒนาอาชีพโดยการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผ้าทอท้องถิ่น

ในวันพุธที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ทีมงาน U2T จัดกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับชุมชน ตำบลถลุงเหล็ก ณ วัดบ้านสำราญราษฎร์ – โนนสำราญ เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดวัดตามบริเวณต่าง ๆ เช่น ทำความสะอาดห้องน้ำ กวาดศาลาวัด กวาดลานวัด ความสะอาดในพื่นที่ต่างๆเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส( COVID-19 )โควิด 19 และชาวบ้านถลุงเหล็ก ได้มีการเตรียมการงานกฐิน ทางทีมงานU2T จึงได้มีส่วนร่วมและช่วยเหลือในการจัดสถานที่ พร้อมทั้งถวายหลอดไฟ เสาไฟ และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆให้กับวัดสำราญราษฏร์-โนนสำราญ

ในวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลถลุงเหล็ก ซึ่งได้มีการวางแผนดำเนินการสร้างทริปท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน โดยจะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินการประสานงานและดูแลในส่วนต่างๆ ซึ่งแบ่งได้ 4 ทีม ดังนี้ 1.ทีมสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อสำรวจระยะทางและการคำนวณเวลาการเดินทางที่พอเป็นไปได้มากที่สุด 2. ทีมอาหาร เป็นฝ่ายจัดสรรดูแลอาหารและเครื่องดื่มให้กับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชม 3.ทีมโปสเตอร์ เพื่อประกาศเชิญชวนการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคในปัจจุบัน 4.ทีมอำนวยการ

ในทริปที่จะถูกจัดขึ้นนี้จะมีการจัดฐานการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนจำนวน 2 ฐาน ได้แก่ ฐานการทำกระถางปูนซีเมนต์ และฐานการทอผ้าไหม จากหมี่ และภายในวันนั้นจะมีการจัดนิทรรศการบูทสินค้าของชุมชนอีกด้วย โดยมีสินค้าดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์เสื่อกก 2. ผ้าไหม 3. ข้าวแต๋น 4. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าท้องถิ่น 5. ไม้ประดับ และ 6. น้ำอ้อย ณ วัดสำโรง ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

วันอาทิตย์ที่ 21 เดือนพฤศจิกายน 09.20 น.ทางทีมงาน U2T ได้ทำการรอรับนักท่องเที่ยว นำโดย รองอธิการบดี คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ เจ้าหน้าที่จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ ศาลาประชาคม หมู่ 16 เพื่อนำนักท่องเที่ยวไปยังฐานต่างๆ โดยใช้ยานพาหนะนำพานักท่องเที่ยงเดินทางไปยังฐานแรก คือ ฐานการทำกระถาง ซึ่งเป็นฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องการทำกระถาง ฐานนี้ได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองการทำกระถางด้วยตัวเอง ซึ่งข้าพเจ้าได้ประจำการต้อนรับนักท่องเที่ยวในฐานนี้

ฐานที่ 2 คือฐานทอผ้าไหม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับชมขั้นตอนการทอผ้าไหม และรับชมขั้นตอนการย้อมสีผ้า นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างสินค้าผ้าทอในท้องถิ่นที่ทำมาจากผ้าที่ชาวบ้านทอมาจากผ้าไหมเช่น เสื้อ ผ้าถุง ผ้าพันคอ ให้นักท่องเที่ยวได้ทำการรับชมอีกด้วย

หลังจากนั้น จึงได้ทำการเดินทางไปฐานที่ 3 ทางทีมงานได้นำนักท่องเที่อวเดินทางไปยังวัดบ้านสำโรง ต.ถลุงเหล็ก เข้าไปสักการะพระประจำวัด บ้านสำโรง ต่อมาจะเป็นการเดินชมตลาดจำลองที่ทีมงานได้จัดเตรียมไว้ โดยมีพ่อค้าแม่ค้าเป็นชาวบ้านคนในชุมชนนำสินค้าต่างๆ มาทำการนำเสนอขาย เช่น เสื่อกก ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอท้องถิ่น ผ้าพื้นเมือง น้ำอ้อย ข้าวแต๋น และไม้ประดับ ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถซื้อกลับไปได้ หลังจากนั้นทางทีมงานได้จัดเตรียมสถานที่ไว้เพื่อรับรองกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน เป็นอาหารในท้องถิ่น เช่น ผัดยอดอ้อย ส้มตำ แกงหยวกกล้วยใส่ไก่ น้ำพริกปลาทูผักสด ห่อหมกหน่อไม้ใส่หมู ปูนานึ่ง ปลาส้มทอด น้ำใบเตย และผลไม้คือ ฝรั่งสด ที่ชาวบ้านปลูกเอง หลังการนั้นจะเป็นการสรุปและการฟังคำติชมและคำแนะนำจากนักท่องเที่ยวเพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ในวันที่ 4 – 5 ธันวาคม 2564 เวลา 08:30 น. อบรม ณ ห้องปฏิบัติการ 1623 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวิทยากรที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผ้าคือ นางอมรรัตน์ สุขจิตต์  มีหัวข้อการอบรมดังต่อไปนี้

 

หลักสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

  1. 1. เทคนิคการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น
  2. การเรียนรู้องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับจากสิ่งทอ
  3. กระบวนการสร้างงานผ้าทอท้องถิ่น
  4. ฝึกปฏิบัติการ การออกแบบและการตัดเย็บผ้าทอท้องถิ่น

โดยการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ทำการตัดเย็บแปรรูปผ้าจำนวน 3 ชิ้นงาน คือ เสื้อ กระเป๋าสตางค์ขนาดเล็ก และ กระเป๋าถือขนาดใหญ่

นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้เข้าอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างรากแก้วให้ประเทศ)จนครบทั้ง 4 ด้านและบันทึกข้อมูลลงในลิงค์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

อื่นๆ

เมนู