ข้าพเจ้านางสาวมนต์ธิกา ภูตาเลิศ ประเภทนักศึกษา
ผู้ปฏิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ประจำพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาทางกลุ่มถลุงเหล็กถลุงใจของพวกเราได้ทำกิจกรรมให้ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าให้แแกผลิตภัณฑ์ต่างของชุมชน อาทิเช่น การอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื่อกก, การอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย, การอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายรูปภาพสินค้าด้วยมือถือ ซึ่งกิจกกรมต่อไปทางกลุ่มได้นัดการประชุมในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ได้มีการประชุมวางแผน แบ่งฝ่ายงานในการจัด อบรมส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ผ่าน Google Meet สรุปคือ จะมีการแบ่งทีมงานการปฏิบัติงานออกเป็นกลุ่มๆได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มนักศึกษา จำนวน 5 คน คอยช่วยงานกับทางมหาวิทยาลัย วิทยากรผู้บรรยายการอบรม ทีม U2t ประจำ ม.1 จำนวน 4 คน มีผู้เข้าอบรมจำนวน 7 คน ทีม U2t ประจำ ม.13 จำนวน 4 คน มีผู้เข้าอบรมจำนวน 8 คน ทีม U2t ประจำ ม.16 จำนวน 4 คน มีผู้เข้าอบรมจำนวน 4 คน
ภาพ : การประชุมวางแผนในกิจกรรมต่อไป
ซึ่งในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้กลุ่มของพวกเราได้ตระหนักถึงการเว้นระยะ ลดการการรวมกลุ่มเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการจัดกิจจกรรมนี้พวกเราได้วางแผนออกเป็น 4 จุด ใหญ่ๆ เพื่อสะดวกและปลอกภัยสำหรับคนในชุมชนและสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งได้แก่ จุดที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, จุดที่ 2 บ้านดอนดู่แดง หมู่ 13, จุดที่ 3 บ้านถลุงเหล็ก หมู่ 1, จุดที่ 4 บ้านโนนสำราญ หมู่ 16 ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และข้าพเจ้า นางสาวมนต์ธิกา ภูตาเลิศ ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้รับผิดชอบในจุดที่ 1 จัดสถานที่และดูแลการอบรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้าพื้นที่ และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนพื้นที่จุดที่ 2 – จุดที่ 4 จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนและบัณฑิตที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล
ภาพ : การเตรียมสถานที่ในการอบรม
วันที่ 3 กันยายน 2564 ได้จัด อบรมส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ที่เป็นการจัดอบรมในรูปแบบการถ่ายทอดสดผ่าน Google Meet โดยมี รศ.สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ในการอบรมวิทยากรได้อธิบายคุณสมบัติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ และวิธีการทำอย่างไรให้การเข้ารับการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ผ่านมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนการทดลองตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ที่มีการสาธิตทั้งการ วัดขนาด การตกสีของผลิตภัณฑ์ การดูความสม่ำเสมอของผ้าทอ และได้ให้ผู้เข้าอบรมที่รับฟังผ่านออนไลน์ได้ทดลองตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตนเอง ก่อนที่จะส่งเข้ารับการรับรองมาตรฐาน (มผช.)
การจัดการอบรบในครั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนที่มีความสนใจในการส่งขอรับรองมาตรฐาน (มผช.) ได้มีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น ได้เรียนรู้ในลักษณะของผ้าที่ดี เอกลักษณ์ของผ้า สีย้อมที่ปลอดภัย การออกแบบฉลาก ขนาดและน้ำหนักของสินค้า การหีบห่อ การรักษาสินค้า ต้นทุนการผลิต วัสดุที่เลือกใช้ การตั้งราคาจำหน่ายสินค้า การสร้างแบรนด์สินค้า และการรู้ในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งเอกสารที่ใช้ในการขอการรับรองมาตรฐาน และที่สำคัญได้รู้แนวทางการพัฒนาผลิตภัฒฑ์ชุมชน คุณภาพ (มผช.) ตามที่กำหนด ในขั้นตอนสุดท้ายหลังการอบรมเสร็จสิ้น ทางทีมงานได้ให้ผู้เข้าอบรมทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมอบรมเพื่อวัดความรู้เพิ่มเติม
ภาพ : การจัดการอบรม
ซึ่งในเดือนกันยายานข้าพเจ้า นางสาวมนต์ธิกา ภูตาเลิศ ได้เก็บข้อมูลลงในระบบ cbd.u2t.ac.th ซึ่งมีการสำรวจดังนี้
1.อาหารที่น่าสนใประจำถิ่น
2.พืชในท้องถิ่น
3.สัตวืในท้องถิ่น