ข้าพเจ้านายนนทกร สียางนอก ประเภทนักศึกษา

ผู้ปฏิบัติงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ประจำพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

          ากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา มีการอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ แก่คนในชุมชนถลุงเหล็ก เช่น การอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื่อกก, การอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย, การอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายรูปภาพสินค้าด้วยมือถือ ที่มีการจัดอบรมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ได้มีการประชุมวางแผน แบ่งฝ่ายงานในการจัด อบรมส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ผ่าน Google Meet

รูปภาพ : ประชุมวางแผนการจัดอบรม

          ในวันที่ 2 กันยายน 2564 ผู้ปฏิบัติงาน U2T ประจำพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก ได้แบ่งเป็นกลุ่มจัดสถานที่และดูแลการอบรม เพื่อลดการรวมตัวผู้คนและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่ประชุมแบ่งงานในวันที่ 24 สิงหาคม 2564  เพื่อที่จะใช้ในการอบรมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2564 โดยแบ่งออกเป็น 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, จุดที่ 2 บ้านดอนดู่แดง หมู่ 13, จุดที่ 3 บ้านถลุงเหล็ก หมู่ 1, จุดที่ 4 บ้านโนนสำราญ หมู่ 16 ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และข้าพเจ้า นายนนทกร สียางนอก ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา ได้รับผิดชอบในจุดที่ 1 จัดสถานที่และดูแลการอบรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้าพื้นที่ และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนพื้นที่จุดที่ 2 – จุดที่ 4 จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนและบัณฑิตที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว

รูปภาพ : การเตรียมสถานที่ในการอบรม

          วันที่ 3 กันยายน 2564 ได้จัด อบรมส่งเสริมความรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสิริวิชญากร(อาคาร19) ที่เป็นการจัดอบรมในรูปแบบการถ่ายทอดสดผ่าน Google Meet โดยมี รศ.สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ในการอบรมวิทยากรได้อธิบายคุณสมบัติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ และวิธีการทำอย่างไรให้การเข้ารับการรับรองมาตรฐาน (มผช.) ผ่านมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนการทดลองตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ที่มีการสาธิตทั้งการ วัดขนาด การตกสีของผลิตภัณฑ์ การดูความสม่ำเสมอของผ้าทอ และได้ให้ผู้เข้าอบรมที่รับฟังผ่านออนไลน์ได้ทดลองตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตนเอง ก่อนที่จะส่งเข้ารับการรับรองมาตรฐาน (มผช.)

ในช่วงบ่ายของการอบรมในวันที่ 3 กันยายน 2564 เป็นการเชิญคนในชุมชนที่เคยส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการรับรองมาตรฐาน (มผช.) มาเล่าถึงประสบการณ์ ขั้นตอนการเตรียมตัว รวมถึงข้อดีและข้อเสียหลังจากที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจส่งผลิตภัณฑ์เข้ารับการรับรอง และในตอนท้ายวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสินค้าให้มีความโด่ดเด็นมากยิ่งขึ้น

 

ข้าพเจ้า นายนนทกร สียางนอก ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในจุดที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากรในการดำเนินการอบรม และเป็นผู้สนับสนุนการอบรมเพื่อให้การอบรมได้ดำเนินไปอย่างรื่น

อื่นๆ

เมนู