1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02-การลงพื้นที่และสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-2019 (COVID-19) ระบาดในตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม

ED02-การลงพื้นที่และสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-2019 (COVID-19) ระบาดในตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม

 

ข้าพเจ้านายณัฐนันท์  ละอองทอง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทประชาชนทั่วไป  ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค C0VID-19 ดังกล่าว ส่งผลกระทบให้ระบบเศรษฐกิจหดตัว อย่างรุนแรง ประกอบกับมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาด ทำให้สถานประกอบการจำนวนมาก ปิดกิจการชั่วคราว แรงงาน ลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระอยู่ในภาวะว่างงาน ถือเป็นภัยพิบัติ สาธารณะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งผลกระทบต่อรายได้ คุณภาพชีวิตของ ประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดท าการเก็บข้อมูลผ่าน “ระบบรายงาน ข้อมูลผู้เดินทาง เข้าหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อปูองกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 (COVID-19) (Thai QM ) มีข้อมูลผู้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชนกว่า ๑,๑๙๗,๖๒๕ คน และมีผู้ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 (COVID-19) จำนวน ๖.๔ ล้านคน (ข้อมูลอ้างอิง ณ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๓)

ดังนั้นกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม จึงให้คณะเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อตามปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจ(เพิ่มเติม)ข้อมูลที่เกี่ยวกับ   ชื่อผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-2019 (COVID-19) เกี่ยวกับสาเหตุที่ย้ายกลับบ้าน  แผนในชีวิตที่จะทำเมื่อกลับมาอยู่บ้าน ความช่วยเหลือที่อยากได้รับ

จากการลงพื้นที่ได้เข้าพบและสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน, อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ได้ทราบถึงปัญหาการย้ายกลับบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-2019 (COVID-19)  ซึ่งผู้ที่เดินทางกลับบ้านจะเป็นกลุ่มประชาชนที่เดินทางกลับช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์หลังจากนั้นก็เดินทางกลับไปทำงานที่เดิมที่ตนเคยทำงานและกลับบ้านตนเองที่ได้ทำการซื้อไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ใกล้ๆที่ทำงาน และบ้านเช่าที่เคยเช่าอาศัยอยู่ในช่วงเวลาทำงานปกติซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

1.กลุ่มผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลฯได้แก่ ผู้ที่ทำงานพนักงานในบริษัทฯ พนักงานห้างสรรพสินค้า พนักงานโรงแรมใหญ่ๆ พนักงานร้านอาหารใหญ่ๆ, พับ ,บาร์ ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้มักจะเดินทางกลับไปทำงานที่ทำงานคืนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากเจ้าของกิจการมีศักยภาพพอที่จะดูและลูกจ้างของตนเองได้ บางรายบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจึงทำการเปิดกิจการได้ตามปกติ

2.กลุ่มผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างจังหวัด ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง(ที่งานยังไม่เสร็จตามสัญญาที่กำหนดไว้) ผู้ประกอบอาชีพพนักงานโรงแรม พนักงานห้างสรรพสินค้า พนักงานร้านอาหาร, พับ, บาร์ ค้าขายเพิงหมาแหงนและ ค้าขายรถเข็นตามสองข้างทาง ส่วนใหญ่ได้เดินทางกลับไปที่ทำงานของตนเองเนื่องจากบางรายซื้อที่พักอาศัยเป็นของตนเองและได้ย้ายถิ่นฐานออกจากภูมิลำเนาเดิมไปแล้วซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

หมายเหตุ : กลุ่ม 2 เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องทำกาiสำรวจเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพนักงานร้านอาหาร พับ บาร์ ถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือบางร้านเจ้าของกิจการปิดถาวร บางร้านลดพนักงานบางแผนกลงเพื่อลดต้นทุนเพื่อให้กิจการอยู่รอดได้ต่อไป เพิงหมาแหงนหรือรถเข็นขายของตามแนวชายหาดโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่จังหวัดชลบุรี, สมุทรสาคร, นนทบุรีที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงเป็นต้น

3.กลุ่มผู้ใช้แรงงานในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่  ผู้รับเหมาก่อสร้างบางส่วนที่เดินทางไปทำงานไปเช้า-กลับเย็น  ผู้ทำงานรับจ้างทั่วไปทำงานแบบไปเช้า-เย็นกลับมีผลกระทบน้อยที่สุดเนื่องจากยังพอมีงานในตัวเมืองรองรับผู้ใช้แรงงานจำนวนมากพอสมควร

อื่นๆ

เมนู