ข้าพเจ้านายณัฐนันท์ ละอองทอง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทประชาชนทั่วไป ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
คณาจารย์และทีมงานตำบลบ้านยางได้ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมการอบรมโครงการส่งเสริมพัฒนาและจัดตั้งกลุ่มชุมชนผลิตพริกแกงประจำตำบลบ้านยางโดยให้ผู้เข้าอบรมได้มีองค์ความรู้ในด้านการจัดทำแผนงานธุรกิจเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของธุรกิจจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการวางแผนเนื่องจากการวางแผนทำให้ได้ทราบถึงความสำคัญของแผนงานและใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบลำดับก่อน-หลัง แผนงานจึงเป็นเข็มทิศที่จะช่วยนำทางไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ช่วยในการติดตามความก้าวหน้า ทำให้มีการกำหนดขอบเขตของการทำงานที่ที่แน่นอนและมีนโยบายที่ชัดเจนในอนาคต

Exif_JPEG_420

Exif_JPEG_420

การวางแผนเป็นแนวทางการพัฒนาและการจัดตั้งกลุ่มชุมชนในการผลิตพริกแกง ตำบลบ้านยาง “การจัดตั้งกลุ่มชุมชนในการผลิตสินค้า” คือ กระบวนการในการตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร และมีการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิก การแนวปฏิบัติที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
”การกำหนดนโยบายของโครงการ”จะต้องประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ
1.โครงการต้องเป็นอนาคตและมีการพัฒนาต่อยอดได้
2.โครงการต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
3.โครงการต้องเกี่ยวข้องกับทรัพยากรท้องถิ่น(คน,อุปกรณ์,วัตถุดิบ,การเงิน)
วัตถุประสงค์การตั้งกลุ่มชุมชนในการผลิตพริกแกงตำบลบ้านยาง
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสให้สมาชิกและคนในชุมชน ส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบในการผลิตเครื่องแกง และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีให้กับคนในชุมชน การพึ่งพาตนเอง
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นการพัฒนาสิ่งใหม่ๆให้กับชุมชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
สมาชิกร่วมรับรู้ปัญหา รู้แผน/กิจกรรมกลุ่ม เข้าประชุมรับความรู้และร่วมประชุม
ประชุมวาระจร เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆของหกลุ่มและการตัดสินใจเร่งด่วน
สมาชิกได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาศักยภาพ เช่น การฝึกอบรม การเรียนรู้ และการมีบทบาทในชุมชน เช่นการเป็นอาสาสมัครสาธารสุขหมู่บ้าน(อสม.) กรรมการกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
การฝึกปฏิบัติการทำพริกแกงเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีคุณสมบัติใหม่หรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ซึ่งมีส่วนเพิ่มเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วทั้งในด้านรูปลักษณ์ การนำเสนอ และสูตรการทำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกต้า หรืดเป็นที่น่าพึงพอใจต่อความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี

Exif_JPEG_420

Exif_JPEG_420

Exif_JPEG_420

โครงการมีการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
1.หลักการมีเหตุผล คือ การรวมกลุ่มเป้าหมายการเน้นการพึ่งพาตนเอง การจัดตั้งกลุ่มโดยการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นเนื่อง เกษตรกร มีการแบ่งงานอย่างเป็นระบบ พัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานในท้องถิ่น มีผู้นำที่เข้มแข็ง สร้างเครือข่าย
2.หลักการพอประมาณ คือ ผลิตให้พอดีกับความต้องการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเมื่อผลิตเป็นทีรู้จักและเป็นที่ต้องการของตลาด จึงเพิ่มปริมาณการผลิต
3.หลักการมีภูมิคุ้มกัน คือ การผลิตเกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมในชุมชน มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ปัจจุบันเป็นเครื่องแกงที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก