1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02-การลงพื้นที่และการปฏิบัติงานด้านการซ่อมแซมและปรับปรุงสถานที่ห้องเก็บของเป็นโรงงานผลิตสินค้าประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

ED02-การลงพื้นที่และการปฏิบัติงานด้านการซ่อมแซมและปรับปรุงสถานที่ห้องเก็บของเป็นโรงงานผลิตสินค้าประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

ข้าพเจ้านายณัฐนันท์  ละอองทอง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทประชาชน  ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย  ๑ ตำบล(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

จากการประชุมแบบออนไลน์ร่วมกันของทีมอาจารย์ผู้ดูแลจำบลบ้านยาง อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้ใหณ่บ้านหมู่ที่ 16 นายสมบูรณ์  บูราณสุข  ผู้ช่วยผู้ใหณ่บ้าน นายสมหมาย  อุไรัมย์  ประธานอสม.ตำบลบ้านยาง นายจักรพงษ์  คะขุนรัมย์ สมาชิกผู้เข้ารับอบรมและทีมผู้ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยาง  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564  มีมติเห็นชอบให้ใช้ห้องเก็บของศาลาประจำบ้านหม่ที่  16 บ้านผักบุ้ง  เป็นสถานที่ผลิตสินค้าประจำตำบลบ้านยาง โดยเลือกใช้สถานที่ห้องเก็บของศาลาประจำหมู่บ้านเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงเป็นโรงงานผลิตสินค้าประจำตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยที่ผ่านมาประมาณเดือนกรกฏาคม ทีมผู้ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยางได้ประชุมทีมงานและได้แบ่งกลุ่มการทำงานและลงพื้นที่ทำการสำรวจตลาดและหาข้อมูลสิค้าตามห้างสรรพสินค้า ตลาดชุมชน ตลาดบ้านหม้อ-คลองถม โดยใช้รูปแบบการหาข้อมูลแบบ Onsite และ Online ทีมดำเนินงานประจำตำบลบ้านยางทุกคนได้มีมติในที่ประชุมให้เลือกการผลิตพริแกงเผ็ด (Red  Curry Paste) เปฺ็นสินค้าประจำตำบลบ้านยางในแบรนด์ที่มีชื่อว่า “เซราะเยียง”ซึ่งเป็นชื่อที่ได้มาจากภาษาเขมรความหมายแปลเป็นภาษาไทยแล้วคือ”บ้านยาง”ซึ่งมีประวัติความเป็นมามาจากชื่อตำบลบ้านยางนำมาใช้ในการตั้งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้  และยังได้รับสูตรดั้งเดิมมาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านหมู่ที่ 2  ซึ่งมีป้าศรีทอง  รัตนะ ซึ่งปราชญ์ชุมชนตำบลบ้านยางทางด้านอาหารและขนมหวานได้เป็นผู้ให้ความรู้ ตลอดทั้งมีการจัดอบรมวิธีและขั้นตอนการเลือกวัตถุดิบที่ใช้เพื่อผลิตพริกแกงเผ็ด.พริกแกงเขียวหวานให้กับสมาชิกผู้เข้ารับการอบรมและทีมงานดำเนินงานประจำตำบลบ้านยางอย่างละเอียดทุกขั้นตอนการผลิตพร้อมกับได้รับการอบรมด้านการปรับปรุงสุตรเพิ่มเติมจากอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูปจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เดือนกันยายนเป็นช่วงของการยื่นแบบขอจดแจ้งการจัดตั้งกลุ่มชุมชน(กลุ่ม/องค์การชุมชน) เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 หมายความว่า  กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฏหมายและศิลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีการบริหารจัดการและยังแสดงเจตนารมณ์แทนกลุ่มได้ และได้ทำการขอจดแจ้งการจัดตั้งกลุ่มชุมชนมีชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านผักบุ้ง” ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ไว้ ณ.วันที่ 27 เดือนกันยายน 2564 จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นหลักฐานว่า ได้รับการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิชุมชน พ.ศ.2548 เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น  เมื่อวันที่ 14  ตุลาคม  2564 ทีมอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบลบ้านยาง ทีมอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูปจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ร่วมประชุมกับทีมช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง นายสำราญ  คะชุนรัมย์ ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับรูปแบบที่จะทำการซ่อมแซมและรูปแบบการปรับปรุงห้องเก็บของศาลาประจำหมู่ที่  16 บ้านผักบุ้ง เพื่อให้เป็นโรงงานผลิตสินค้าประจำตำบลบ้านยางโดยห้องเก็บของมีขนาดความกว้าง 4 เมตร x ยาว  10 เมตร โดยให้มีการแบ่งเป็นสัดเป็นส่วน แบ่งเป็นโซนห้องแปรรูปและโซนห้องบรรจุภัณฑ์เพิ่มจากเดิมทีเป็นห้องโถงไม่มีการกั้นห้อง  จัดให้มีการติดตั้งมุ้งลวดประูตู-หน้าต่างเพิ่มเติมเพื่อป้องกันสัตว์และแมลง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP โดยใช้เวลาในการปรับปรุงครั้งนี้ประมาณ 15 วันจึงจะแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ต่อไป

ข้อกำหนดทั่วไปมาตรฐาน GMP

  1. สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและตัวอาคารผลิตสินค้า
  2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
  3. การควบคุมและกระบวนการผลิต
  4. การสุขาภิบาล
  5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดวัสดุ อุปกรณ์
  6. บุคคลากร

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู