1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02 –การลงพื้นที่และอบรมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านทักษะในการพัฒนาอาชีพชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564

ED02 –การลงพื้นที่และอบรมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านทักษะในการพัฒนาอาชีพชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม 2564

ข้าพเจ้านายณัฐนันท์  ละอองทอง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประจำตำบลบ้านยาง ประเภทประชาชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสร้างตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) คณะครุศาสาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

       การลงพื้นที่ปฏิบัติงานในวันที่ 25 เดือนพฤศจิกายน 2564 ได้ลงพื้นที่จัดอบรมโครงการถ่ายทอดความรู้ทางด้านทักษะความรู้เบื้องต้นด้านยาสมุนไพรไทยพื้นบ้านโดยวิทยากรปราชญ์ชาวบ้านด้านพืชและสมุนไพรนายหอม หะทัยทาระ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2491 ปัจจุบันอายุ 73 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 82 หมูที่ 12 บ้านง้าง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาสมุนไพรจากบิดาผู้ให้กำเนิดและ ได้ศึกษาเรื่องสมุนไพรไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 จนถึงปัจจุบันมาเป็นเวลามากกว่า 49 ปี เมื่อปี 2555 กระทรวงสาธารณะสุขได้เข้ามาสำรวจและ ส่งชื่อไปยังกรมการแพทย์แผนไทยและ ได้รับการแต่งตั้งเป็น หมอยาสมุนไพรจนถึงปัจจุบัน

  ขอบเขตเนื้อหา

  • ประวัติความเป็นมา
  • ความรู้เบื้องต้นด้านยาสมุนไพรพื้นบ้าน
  • การรักษาและการปรุงยาสมัยโบราณ
  • ตัวอย่างพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่ควรรู้จัก
  • สรรพคุณของสมุนไพรใกล้ตัว

ประวัติความเป็นมา

ย้อนกลับไปในอดีตการแพทย์แผนไทยเริ่มค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.1725-1729 หลักฐานที่พบเป็นศิลาจารึกของอาณาจักรขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบการสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า “อโรคยาศาลา” ทั้งหมด 102 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ภายในมีเจ้าหน้าที่ ซึ่งประกอบไปด้วย หมอ พยาบาล และเภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยารวมทั้งหมด 92 คน อีกทั้งยังมีการทำพิธี “เภสัชยคุรุไวฑูรย์” ด้วยอาหารและยา ก่อนจะนำเอายาไปแจกให้กับชาวบ้าน

      โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่ค่อยมีความรู้การมีร้านขายยาเหล่านี้ย่อมช่วยให้การรักษาโรคตรงจุดกว่าเดิม มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำรับยาโบราณเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์บันทึกเป็น “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ที่ยังคงมีการใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้บางส่วนคลาดเคลื่อนไม่สมบูรณ์แบบไปบ้างซึ่งในยุคนั้นผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับการรักษาอย่างการนวดกดจุดเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูกที่ได้รับความนิยม ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกเริ่มที่การรักษาภูมิปัญญาโบราณรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนการแพทย์แผนตะวันตกที่เริ่มเข้ามามีบทบาทยังไม่ค่อยได้รับความนิยม ในที่สุดก็ต้องถูกยกเลิกไป

ในสมัยที่ภาคอีสานได้รับอิทธิพลจากขอม เมื่อราว 5,000 ปีที่ผ่านมา  ระบบการแพทย์พื้นบ้านอีสานได้เกิดขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านสิ่งปลูกสร้างที่เรียกว่า “ อโรคยาศาลา”  พร้อมกันนั้นยังได้นำองค์ความรู้ทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากอินเดียและขอมมาประยุกต์ใช้  ต่อมาองค์ความรู้จากลาวในเรื่องการดูแลรักษาโรคต่างๆ ได้แพร่ขยายเข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นยังพบหลักฐานปรากฏว่า  ระบบการแพทย์ของภาคอีสานมีความแตกต่างจากระบบการแพทย์ภาคอื่นๆ เห็นได้จากสมุนไพรที่หมอยาภาคอีสานเลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่มีในป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นพื้นป่าทางภาคอีสาน

       จากการนำเอาวัฒนธรรมการรักษาจากอินเดียเข้ามาปรับใช้ในระบบการแพทย์พื้นบ้านอีสาน  จึงเกิดแนวคิดการอธิบายการเจ็บป่วยของมนุษย์โดยใช้ทฤษฎีธาตุ  ซึ่งทางการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกันกับทฤษฎีธาตุของอินเดีย  คือร่างกายประกอบด้วยธาตุ 4 ประการได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลมและ ธาตุไฟการเจ็บป่วยมีสาเหตุมาจากความแปรปรวนของธาตุทั้ง 4 โดยเรียกสาเหตุการเกิดโรคว่า “สมุฏฐาน”  นอกจากนี้ยังมีเหตุเนื่องจากการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอื่นๆ ด้วยซึ่งสมุฏฐานและพฤติกรรมมีผลให้ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายไม่สมดุล จึงมีหลักการรักษาคือ การปรับสมดุลของธาตุโดยสมุนไพร  การเลือกใช้สมุนไพรขึ้นอยู่กับทฤษฎีรสยาและสรรพคุณทางยาของสมุนไพรแต่ละชนิด

       เป็นการรักษาที่ใช้พืชสมุนไพรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นการแพทย์พื้นบ้านหรือดูแลการรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านเป็นองค์ความรู้และแบบแผนการรักษาสุขภาพและรักษาโรคของกลุ่มชนหรือชาติพันธุ์เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดรุ่นสู่รุ่น มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นและมีความสัมพันธ์กับโลกทัศน์และระบบนิเวศน์ของท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิธีการที่รักษาโรคทั่วไปที่พบเห็นในชุมชน  โดยหมอพื้นบ้านที่รักษาผู้ป่วยจะเลือกใช้ส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ  ตามที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น ลำต้น ราก ใบ ผล เปลือก ยาง โดยนำมาสกัดเอาส่วนที่เป็นตัวยาสำคัญด้วยวิธี การที่หลากหลาย เช่นต้ม ฝน บด ดอง ตัวยาหลังการปรุงตามตำราแล้วอาจมีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง เป็นน้ำ ผู้ป่วยสามารถรับประทานตามหมอพื้นบ้านแนะนำ ตัวยาบางประเภทผู้ป่วยใช้วิธีการพอก ประคบ ตามอวัยวะที่มีอาการเจ็บปวด เช่น ปวดหัว เป็นไข้ ท้องร่วง ปวดท้อง บำรุงร่างกาย ปวดเมื่อยตามร่างกาย การกินของแสลง ตลอดจนอาการผิดกรรม(อาการผิดปกติของหญิงหลังคลอด)เป็นต้น    

หลักการและเหตุผล

           1.เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยา การเรียนรู้การพัฒนาสรรพคุณยาและการส่งเสริมการมีรายได้จากการขายยาสมุนไพรพื้นบ้านจากหมอพื้นบ้านที่อาศัยอยู่ที่หมู่ 12 บ้านง้าง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       2.เนื่องจากหมอสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นผู้สูงอายุ ประสบการณ์รักษาผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ได้รับแรงจูงใจในการเป็นหมอพื้นบ้านเพื่อสืบทอดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษทั้งนี้มีการสืบทอดความรู้หลากหลายวิธีด้วยกันมากที่สุดคือการจดจำจากการติดตามผู้เป็นบรรพบุรุษที่ไปรักษาชาวบ้านในชุมชน รวมถึงการบันทึกและการศึกษาด้วยตนเองจึงทำให้ขาดผู้ที่จะสืบทอดวิชาความรู้ทางด้านพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

       3.มีการพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารงานอย่างเป็นธรรมในองค์กร  มีการลงมือทำความดีให้ชุมชน/สังคมยอมรับ

       4.มีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานระดับพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือเกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด

        5.มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน/สังคมรับทราบ

การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

       เมื่อสมัยก่อนที่หมอสมุนไพรพื้นบ้านทำการปรุงยาแผนโบราณขึ้นมาเฉพาะเพื่อใช้รักษาผู้ที่ป่วยมารักษาอาการป่วยที่บ้านหมอสมุนไพรเท่านั้นบางครั้งยาเหลือจึงเป็นการจำหน่ายโดยการเดินทางไปตามหมู่บ้านต่างๆภายในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่และต่างจังหวัดบ้างนานๆครั้งปัจจุบันเนื่องจากหมอมีอายุมากขึ้นทำให้การจำหน่ายยาสมุนไพรมีเฉพาะการขายที่หน้าบ้านเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ดังนั้นทางทีมดำเนินงานกลุ่มชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านผักบุ้งเล็งเห็นหนทางในการช่วยเหลือและส่งเสริมการมีรายได้ให้แก่ชุมชนน่าจะเป็นทางเลิกอีกทางในการช่วยเหลือหมอสมุนไพรพื้นบ้านในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการเชิญชวนมารวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯเพื่อเป็นการเพิ่มด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการบรรจุภัณฑ์และ ด้านการสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกทาง

Exif_JPEG_420

Exif_JPEG_420

อื่นๆ

เมนู