ข้าพเจ้านางสาวธิดารัตน์ บุตรงาม เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทนักศึกษา ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล
การปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการอบรมการนำองค์ความรู้บริการชุมชน และโครงการอบรมการจัดฐานข้อมูลของชุมชน ณ ศาลากลางหมู่ 16 (บ้านผักบุ้ง) ตำบบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการอบรมการนำองค์ความรู้บริการชุมชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 11 ธันวาคม 2564 ผู้ให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ ได้แก่ ผศ.ดร.จิตตะวัน กุลาโบ ดร.จตุพัฒน์ สมัปปิโต อาจารย์ชุลีพร บุ้งทอง อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร คณะอาจารย์จากสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและการแปรรูป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมรับฟังในการอบรมครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพริกแกงบ้านยาง การอบรมครั้งนี้ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือทำพริกแกงตั้งแต่กระบวนการแรก โดยมีคณะอาจารย์ที่ให้ความรู้ไปด้วย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตและผลิตให้ถูกตามสุขอนามัยกำหนดก่อนที่จะนำ ผลิตภัณฑ์พริกแกงบ้านยางออกไปจำหน่ายสู่ชุมชม ท้องตลาด
โครงการอบรมการจัดฐานข้อมูล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2564 ผู้ให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ ดร.เลอสันต์ ฤทธิขันธ์ และอาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา จากสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัpราชภัฏบุรีรัมย์ การอบรมหัวข้อนี้เป็นการอบรมเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของตำบลบ้านยาง โดยการลงพื้นที่สำรวจและให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้แบ่งกลุ่มเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาจัดทำแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวบ้านยาง การเก็บข้อมูลจะเป็นการกรอกข้อมูลลงใน Google Form เพื่อง่ายและสะดวกผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งข้อมูลในการเก็บเป็นหัวข้อ/ประเภทของข้อมูล เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณวัตถุ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งความรู้เรื่องอาหาร แหล่งความรู้เรื่องดนตรี เป็นต้น โดยแต่ละสถานที่จะต้องจับพิกัด GPS และสอบถามผู้คนในพื้นที่เกี่ยวกับความเป็นมา จากนั้นจึงค่อยกรอกข้อมูลที่ได้ลงใน Google Form เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปจัดทำแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของตำบลบ้านยางต่อไป ซึ่งเป็นการทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักกับตำบล บ้านยางมากขึ้น เข้ามาท่องเที่ยวสะดวกมากขึ้นจากแอปพลิเคชันที่ได้รวบรวมข้อมูลท่องเที่ยวไว้แล้ว และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไป
ผู้ปฏิบัติงานได้เริ่มขายพริกแกง โดยได้ตั้งบูธขายสินค้าที่ตลาดคนเดินเซราะกราวที่จัดในวันเสาร์ – อาทิตย์ เป็นการทดลองขายให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จักพริกแกงบ้านยาง และได้ทดลองซื้อพริกแกงไปประกอบอาหาร นอกจากนี้พริกแกงบ้านยางได้ขายทางช่องทางออนไลน์ 2 ช่องทางได้แก่ ทางเพจ Facebook ใช้ชื่อว่า BanYang_Market และทางแอปพลิเคชัน Shopee ใช้ชื่อว่า BanYang_Market