1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED02 - ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. ED02 “การจัดสรรทรัพยากร ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ที่มีความผูกพันทางวิถีชีวิต ความเชื่อ ของคนในตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์”

ED02 “การจัดสรรทรัพยากร ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ที่มีความผูกพันทางวิถีชีวิต ความเชื่อ ของคนในตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์”

             

       ข้าพเจ้านางสาวอาภารัตน์ ลามะให ประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านยาง ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีการเริ่มลงปฏิบัติงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 โดยลงพื้นที่ปฏิบัติงานในตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการลงพื้นที่สำรวจหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง ตลอดจนได้มีการสำรวจวัดและชุมชน ซึ่งในการลงพื้นที่ในการปฎิบัติงานในครั้งนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มานั้น มาเป็นฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการหาแนวทางเพื่อที่จะยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคมของตำบลบ้านยาง รวมไปถึงเพื่อจัดรวบรวมข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และเป็นปัจจุบันมากที่สุด

                จากการลงสำรวจพื้นที่ในตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ นั้นจะเห็นได้ว่าคนในตำบลบ้านยางนั้น ล้วนแต่มีชาติพันธุ์เขมร มีวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ถูกปลูกฝังถ่ายทอดมาอย่างช้านาน อีกทั้งยังหยั่งรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของคนในตำบลบ้านยาง ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมเหล่านี้ หากไม่ได้มีการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ(องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง) และเอกชน(การระดมเงินของคนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่) ก็คงจะไม่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดจนทำให้เกิดเป็นประเพณีประจำตำบลจวบจนถึงทุกปัจจุบันนี้ 

                ประเพณีที่ได้มีการได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อาทิประเพณีกีฬาต้านยาเสพติด ได้มีการจัดขึ้นประจำทุกปี จนส่งผลทำให้เกิดเป็นประเพณีประจำตำบลเลยก็ว่าได้ ประเพณีลอยกระทง ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางนั้นก็ได้มีการสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทางด้านการแสดง และนอกจากนี้ยังมีประเพณีสงกรานต์ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางให้การสนับสนุนทุกๆ ปี ในการจัดกิจกรรมในประเพณีสงกรานต์มีกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ถือได้ว่าเป็นการทำความเคารพและขอพรผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณที่เคารพ ส่วนทางด้านภาคเอกชนนั้น โดยพื้นฐานทางด้านวิถีชีวิตของคนในตำบลนั้น คนในตำบลบ้านยางมีชาติพันธุ์เขมร ที่มีการนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีการจัดพิธีทำบุญพระครูวิบูลย์ธรรมาภิรมย์(หลวงพ่อพา ยโสธร) โดยมีการจัดขึ้นประจำในทุกๆ ปี เป็นการจัดพิธีทำบุญที่เกิดจากความเคารพ ศรัทธา ต่อพระครูวิบูลย์ธรรมาภิรมย์(หลวงพ่อพา ยโสธร) ของคนในพื้นที่ตำบลบ้านยาง และคนทั่วไปนอกเขตตำบลบ้านยาง ที่มีการจัดงานพิธีทำบุญพระครูวิบูลย์ธรรมาภิรมย์(หลวงพ่อพา ยโสธร) โดยไม่ได้มีการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐใดๆ ทั้งสิ้น แต่เกิดจากการหลอมรวมใจของคนที่ศรัทธาในพระครูวิบูลย์ธรรมาภิรมย์(หลวงพ่อพา ยโสธร) เลยก่อให้เกิดพิธีทำบุญพระครูวิบูลย์ธรรมาภิรมย์(หลวงพ่อพา ยโสธร) นอกจากจะมีการนับถือทางด้านศาสนาพุทธแล้ว ยังมีการนับถือที่ผสมผสานทางความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ นั้นก็จะเห็นได้จากการก่อให้เกิดอาชีพ อาชีพนึงขึ้นมา นั้นก็คือหมอพราหมณ์ ที่จะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งต่อกันมาเป็รุ่นต่อรุ่น ซึ่งหมอพราหมณ์นั้นจะถือได้ว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีกแขนงนึงเลยก็ว่าได้ ที่มีความรู้เฉพาะด้านในการทำพิธีเรียกขวัญ ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ตำบลบ้านยางต่างก็เคารพ และศรัทธาเป็นอย่างมาก

                  จากที่ข้าพเจ้าได้มีการสำรวจมานั้น จะเห็นได้ว่าการจัดสรรทรัพยากร ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งทางองค์กรภาครัฐ(องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง)นั้น ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม เพื่อที่จะทำให้ประเพณี ความเชื่อนั้นสืบทอดต่อไป

                    

อื่นๆ

เมนู