ข้าพเจ้า “นางสาวปพิชญา ศิลปักษา” ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมอบรมโครงการนวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพจากจุลินทรีย์จาวปลวกและภูมิปัญญาชาวบ้านในการย่อยสลายตอซังข้าว สำหรับเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ โดย PM 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เช่น ท่อไอเสีย เตาถ่าน ไฟป่า เผาขยะ เผาหญ้าและอื่นๆ ซึ่งการเผาตอซังข้าวก็ก่อให้เกิด PM 2.5 ด้วยเช่นกัน และยังทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็งทำให้รากพืชแคระแกร็น ทำให้สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน จึงหันมาใช้วิธีไถกลบตอซังข้าว ถึงจะมีประโยชน์หลายอย่างแต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือต้องใช้ต้นทุนที่สูง จึงได้เกิดการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการย่อยสลายตอซังข้าว โดยได้ใช้ “จาวปลวก” หรือ “จอมปลวก”ที่ถูกค้นพบโดย “คุณจักรภฤต บรรเจิดกิจ”ปราชญ์ชาวบ้านผู้ใช้ศรัทธาคู่ปัญญา จังหวัดพิจิตร จาวปลวกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถนำมาใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ
  • สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก

– จาวปลวกที่ขุดมาประมาณ 1/2 กก. หรือหัวเชื้อแบบเข้มข้นจำนวน 1 ลิตร

-ปลายข้าวหรือข้าวหัก ใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า 5 กก.

-น้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนประมาณ 7.5 ลิตร

-ถังที่มีฝาปิด 1 ใบ

  • วิธีทํา

-นำจาวปลวก (พระแม่ธรณี) มาคลุกกับปลายข้าวหรือข้าวท่อน (พระแม่โพสพ)

-เทลงในถังพลาสติกที่มีน้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (พระแม่คงคา) ใส่ไว้เกือบเต็มถังเหลือที่ว่าง (พระพาย) จากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ

-ปิดฝาตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดด (พระเพลิง) ตอนเช้าส่วนตอนบ่ายให้อยู่ในร่มแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วันโดยคนไปทางเดียวกันทุกวันจะได้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวใส มีกลิ่นเปรี้ยว พร้อมใช้งาน

  • การนำไปใช้

-สำหรับวิธีการใช้ให้กรองเอาแต่น้ำไปใช้อัตราในการใช้คือ1:10

-หัวเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตรต่อน้ำเปล่า 10 ลิตร

-รดราดทางดิน หรือฉีดพ่นลงดินก่อนเตรียมแปลงปลูก ใช้ผสมดินปลูก ปุ๋ยหมัก เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ดีและสารอาหารให้กับพืช

หลังจากวิทยากรให้ความรู้เสร็จ ข้าพเจ้าและทีมงานร่วมกันลงมือทำจุลินทรีย์จาวปลวก และนำไปหมักไว้ เพื่อติดตามผลในอาทิตย์ต่อมา

 

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ บรรยายโดย  “ผศ.ดร.วรวัฒน์ พรหมเด่น”ในหัวข้อเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ โดยการที่จะเริ่มขายของออนไลน์นั้นต้องเริ่มจากสิ่งที่เราชอบสิ่งที่เรารักจะทำให้เราทำงานออกมาได้ดี การมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการขายของออนไลน์ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อแสดงการมีตัวตนและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า การเสียภาษี เมื่อกิจการมีรายได้เกิน 1.8ล้านบาทต้องมีการจดทะเบียน VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆเดือนและ​​​​​​​​​​​​​​ภาษี e-Payment ที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และจัดเก็บเอกสารหลักฐาน การคำนวณจุดคุ้มทุน การศึกษาว่าสินค้าตัวไหนเป็นที่ต้องการของตลาด และกำลังเป็นกระแส การโปรโมทสินค้าที่ต้องลงโพสสินค้าอย่างสม่ำเสมอ การเล่าเนื้อหาผ่านทางรูปภาพการใช้วิดีโอในการสอนใช้สินค้าและการยิงแอดเฟสบุ๊คและโฆษณาบนโซเชียลมิเดียเพื่อโปรโมทสินค้า ความรู้เกี่ยวกับการเปิดกราฟแสดงสินค้าที่ผู้คนค้นหามากที่สุดเพื่อเป็นการวิเคราะห์การตลาด การคำนวนราคาสินค้าเพื่อให้ได้กำไร การเลือกบริษัทขนส่งและการเก็บค่าขนส่งเพื่อไม่ให้ขาดทุน อาจารย์ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างสินค้าที่ขายออนไลน์อยู่ว่ามีหลักการทำงานอย่างไรบ้างว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร

ข้อดี – ข้อเสียของการขายของออนไลน์

ข้อดีของการขายของออนไลน์

  • ไม่มีหน้าร้านก็สามารถขายสินค้าได้
  • ไม่ต้องมีพนักงานขาย
  • ลงทุนน้อยไม่ต้องเช่าพื้นที่
  • บริการจัดส่งตรงถึงหน้าบ้านลูกค้า
  • เป็นตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้า
  • ลูกค้าสามารถติดต่อพูดคุยกับทางร้านได้โดยตรง
  • มีการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์
  • สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ
ข้อเสียของการขายของออนไลน์
  • มีการแข่งขันสูงในประเภทธุรกิจหรือสินค้าที่มีความนิยม
  • ความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อาจยังน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อโดยตรง
  • สินค้าบางอย่างไม่สามารถนำมาขายออนไลน์ได้
  • ความไม่ปลอดภัยจากระบบคอมพิวเตอร์อาจทำให้ระบบชำระเงินไม่ปลอดภัย อาจเกิดจากการดูแลเว็บไซต์ไม่รอบคอบ
  • ไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าแพงกว่าท้องตลาดได้ อาจทำให้ขายสินค้ายากขึ้น

 

และในช่วงบ่ายข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าพบ “นางฐาปนิต กัณหาวัฒนานนท์”นายกเทศมนตรีตำบลถาวรและคณะผู้บริหาร เรื่องการรายงานปฏิบัติงานที่ผ่านมาของโครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการ และได้ทำการส่งมอบตราสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดยใช้ชื่อว่า“ภูถาวร”และแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวตำบลถาวร ที่ทีมงานU2Tและประชาชนตำบลถาวรได้มีส่วนร่วมในการคิด ออกแบบและคัดเลือกมา ให้แก่เทศบาลตำบลถาวรเพื่อที่จะได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ต่อไป

 

วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเปราะบางเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือนยากจน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต่อไป

 

รูปภาพการปฏิบัติงานเพิ่มเติ่ม

   

 

วิดีโอปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู