1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED03 - ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED03 การสร้างและพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการนำเที่ยวและการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการถ่ายทอดเรื่องราวตำบล ประจำเดือนพฤศจิกายน

ED03 การสร้างและพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการนำเที่ยวและการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการถ่ายทอดเรื่องราวตำบล ประจำเดือนพฤศจิกายน

ข้าพเจ้านางสาวชลธิชา เหลวกูล ประเภทประชาชน ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ วิถีชีวิต อาชีพ แหล่งท่องเที่ยว และประเพณีต่างๆ ของชาวตำบลถาวร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาชุมชนของเราต่อไป

ตำบลถาวรมีทั้งหมด 11 หมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ และบางคนประกอบอาชีพเป็นศิลปิน ครูเพลง ครูดนตรี จักสาน ส่งออกขนมกระยาสารท เกิดการจ้างงานและเป็นการสร้างรายได้ในชุมชน

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม – 27 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า และทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล CBD เพิ่มเติม ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานหัวข้อที่ทำการสำรวจก็คือ 1) บุคคลที่ย้ายบ้านเนื่องจากสถานการณ์โคสิด-19 2) สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น 3) พืชในท้องถิ่น 4) เกษตรกรในท้องถิ่น 5) ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ พบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากที่ย้ายกลับบ้าน เพื่อรับฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องใช้ซึ่งเป็นการสืบทอดมายาวนาน

วันที่ 28 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมอบรมกับทีมงาน ชาวบ้าน และผู้นำหมู่บ้าน ในหัวข้อการสร้างและพัฒนาเชิงปฏิบัติการด้านการนำเที่ยว รูปแบบการอบรมเป็นการเล่าถึงประวัติหมู่บ้าน อดีตกำนันได้เล่าว่า นายฮ้อย หา วงค์เพ็ญ เป็นผู้ก่อตั้งบ้านถาวร คนแรกๆ พศ.2480 ต่อมาปี พศ.2485 ขึ้นทะเบียนเป็นบ้านถาวร ตำบลตาเป็ก อำเภอนางรอง ก่อนเปลี่ยนเป็น บ้านถาวร ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในปัจจุบัน หลังจากได้ทราบข้อมูลบางส่วนจากทางชาวบ้านแล้ว ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เพื่อขอข้อมูลอีกครั้ง โดยกลุ่มของข้าพเจ้ารับผิดชอบพื้นที่ หมู่6 หมู่7 และหมู่10 โดยเริ่มจากหมู่6 บ้านบุตาพวง ซึ่งเป็นแหล่งหินซ้อน นางรำพึง จูกูล คนในหมู่บ้านเล่าว่า เดิมที่ตรงนี้เป็นป่าเต็งรัง เขื่อนลำปะเทีย และเขื่อนลำจังหัน อำเภอละหานทราย มาขุดเอาหินแท่งเพื่อไปสร้างเป็นสันเขื่อนจึงทำให้เกิดเป็นสระน้ำ บริเวณขอบสระเป็นหินบะซอลต์ซ้อนกันอย่างสวยงาม จากนั้นได้ไปพื้นที่หมู่ 7 บ้านคลองต้อ เป็นอีก 1 หมู่บ้านที่มีความน่าสนใจทางด้านดนตรีไทย มีวงดนตรีไทยครบชุด และสามารถทำเครื่องดนตรีใช้เองและจำหน่ายเกิดเป็นรายได้อีกอย่างหนึ่ง และยังมีการทำขนมกระยาสารท โดยใช้ข้าวตอกข้าวพองที่ซื้อจากคนในชุมชน และจ้างชาวบ้านในการทำขนมและแพ็คขนม ทางคุณอุดมพร สีสาคำ เจ้าของกิจการอุดมพรกระยาสารท เล่าว่าตนเองมีความชื่นชอบในรสชาติของกระยาสารท และพี่ชายเป็นคนทำข้าวพองขายอยู่แล้ว จึงลองผิดลองถูกจนเป็นที่ต้องการของตลาด และส่งขายทางจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เกิดเป็นรายได้หมุนเวียนในชุมชนได้อย่างดี นอกจากมีดนตรีและขนมกระยาสารทสารทแล้ว ยังมีป่าเขาอังคาร ที่เป็นดินภูเขาไฟ มีของป่าตามฤดูกาลให้กินได้ตลอดทั้งปี เช่น เห็ด หน่อไม้โจด ไข่มดแดง ผักอีนูน เป็นต้น เรียกว่าอยู่แบบพึ่งพาอาศัยธรรมชาติจริงๆ ต่อมาลงพื้นที่ไปยังหมู่ 10 บ้านโคกสำราญ ซึ่งมีห้วยลำนางรองไหลผ่านหมู่บ้านมีปลาเล็กปลาน้อยให้ชาวบ้านได้จับตลอดทั้งปี จึงเกิดเป็นอีกอาชีพคือการถักแหจับปลา จักสานกระด้งไม้ไผ่ใช้ในการตากปลา และสามารถทำจำหน่ายให้คนในพื้นที่ได้ด้วย คุณตา ยศศักดิ์ และคุณยายเจริญ บุญรักษ์ สองตายายที่ประกอบอาชีพจักสานและถักแห เล่าว่าเรียนรู้การทำมาจากรุ่นตายายที่ทำสืบต่อกันมาแต่ทุกวันนี้น้อยคนที่จะทำเป็น ตากับยายเลยมีออเดอร์เข้ามาตลอดทำแทบไม่ทันมีรายได้ดีเลยทีเดียว จากนั้นได้ไปขอข้อมูลทางด้านดนตรีพื้นบ้านกับนายสนิท อาจเอื้อม อดีตผู้ใหญ่บ้าน และเป็นผู้ก่อตั้งคณะกลองยาวหมู่ 10 ได้ให้ข้อมูลว่าตนเองเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะกลองยาวขึ้นมา โดยให้ลูกหลานในหมู่บ้านไปเรียนดนตรีกับครูบุญจันทร์ ชัยช่วย ซึ่งเป็นครูดนตรีในตำบลถาวร เมื่อเรียนจบแล้วก็รวมวงและสอนต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่มีงานจ้าง ทำให้ขาดรายได้ไปเยอะ

วันที่ 6-16 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมกับทีมงาน และคณะอาจารย์ ในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของตำบล เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นสื่อออนไลน์ การถ่ายทอด การนำเสนอข้อมูลและรูปภาพต่างๆ การสร้างสถานที่สำคัญบน Google map เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและเดินทาง

ข้าพเจ้าและทีมงานขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาชุมชนของเราต่อไป ขอบคุณค่ะ

รูปภาพการทำงาน

 

วิดิโอการทำงาน

อื่นๆ

เมนู