ED03โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือนเมษายน

ข้าพเจ้านาย วรายุทธ์ ทองดี และทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างเดือนเมษายน ในตำบลถาวร เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการในชุมชนที่สามารถช่วยแก้ไขและพัฒนาชุมชน หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์และหาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลแบบสอบถามระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน เกี่ยวกับอาชีพและรายได้ของครัวเรือน ภาวะด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะด้านต่างๆ ในชุมชนโดยได้พูดคุยกับคนในพื้นที่และได้สอบถามรายละเอียดตามเอกสารแบบฟอร์ม (01) และเก็บข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 รายละเอียดตามเอกสารแบบฟอร์ม (02) จากการสอบถามพบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่จะทำงานรับจ้างทั่วไป บางส่วนก็ว่างงาน แต่ก็มีชาวบ้านบางกลุ่มที่สร้างรายได้ จากหัตถกรรม ได้แก่ การจักสานตะกร้าจากไม้ไผ่ การทอผ้าไหม แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ส่วนมากจะขายให้กับคนในพื้นที่ และยังไม่มีตลาดรองรับ และเมื่อสอบถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 พบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและทราบถึงอาการเบื้องต้น หลายคนเกิดความวิตกกังวลบ้างเนื่องจากในช่วงเดือนเมษายนนี้มีข่าวว่าพบคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนในชุมชนบางกลุ่มได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ตกงานและขาดรายได้ แต่ทุกคนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันตนเองเป็นอย่างดี ล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ เมื่อออกนอกพื้นที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยและใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งเมื่อมีการพบปะกับผู้คนต่างพื้นที่ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ทราบถึงความต้องการของชาวบ้านกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านอยากให้แนะนำการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน และข้าพเจ้าพบปัญหาการว่างงานเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ขาดเงินในการลงทุนทำเกษตรกรรม และต้องการให้มีการแนะนำการสร้างอาชีพเสริมแก่คนในชุมชนเพื่อที่จะให้มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานหัตถกรรมหรืองานทางด้านการเกษตรแบบผสมผสาน
จากนั้น ข้าพเจ้าเเละทีมงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เเหล่งน้ำในชุมชน เเละภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่านิยมเลี้ยงโค กระบือ หมู หมูป่า เเพะ เป็ด ไก่
ส่วนมากเลี้ยงไว้เพื่อขายทอดตลาด เเละขายให้เกษตรกรในชุมชนด้วยกันเอง เเหล่งน้ำในชุมชน เเต่ละหมู่บ้านก็จะมีเเหล่งเก็บน้ำเเต่ละหมู่บ้าน ซึ่งสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ปีต่อปี ภูมิปัญญาชาวบ้าน มีกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์เเละกลุ่มทอผ้าไหมพึ่งตนเอง ซึ่งชาวบ้านเเจ้งว่ายังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเลย
จากการสำรวจข้อมูลจากชาวบ้านในชุมชนครั้งนี้ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและให้ความรู้แก่ข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดี และระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายนนี้ ข้าพเจ้า ได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning ตามที่โครงการฯ กำหนด ไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy 2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy 3) ด้านการเงิน Financial Literacy และ 4) ด้านสังคม Social Literacy ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ความเข้าใจในแต่ละด้านเพิ่มมากขึ้น เป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อไป

อื่นๆ

เมนู