ข้าพเจ้านางสาวชลธิชา เหลวกูล ประเภทประชาชน ต.ถาวร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณด้านเคมีและกายภาพตามมาตรฐาน มผช เมื่อวันที่ 19 และ 27 มิถุนายน 2564 เพื่อพัฒนาความรู้สู่การพัฒนาชุมชนต่อไป
เราจะเห็นได้ว่าในชุมชนตำบลถาวรมีดินภูเขาไฟที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ทำให้พืชพันธุ์ต่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ชาวถาวรทำการเกษตรเป็นหลัก แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการดึงเอาพืชผัก ผลไม้ริมรั้ว มาสร้างมูลค่า ทางโครงการ U2T ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นความสำคัญจึงจัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้กับคนในชุมชน
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 อบรมเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งในการอบรมในวันนี้ มีผู้ที่มีความสนใจเข้ารับฟังการอบรมด้วย ได้รับความรู้มากๆ การที่เราจะทำผลิตภัณฑ์ออกมาให้มีคุณภาพแล้ว ยังต้องมีบรรจุภัณฑ์และฉลาก ที่ดึงดูดและน่าสนใจสำหรับลูกค้าด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าในกับน้ำผลไม้ของเรา ได้รู้ถึงขอบเขตและความสำคัญของการออกแบบอีกด้วย
วันที่ 20 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ในตำบลถาวรเพื่อเก็บภาพและวิดีโอเพิ่มเติม ทำคลิปส่งของโครงการ Hackathon
วันที่ 21 มิถุนายน -10 กรกฎาคม 2564 ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำอัญชันน้ำผึ้งมะนาว โดยใช้ความรู้และหลักการออกแบบตามที่ได้อบรมมาว่าเราควรดึงจุดเด่นหรือองค์ประกอบใดเพื่อดึงดูดความสนใจ คำสโลแกนต่างที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของเรา โดยกลุ่มของข้าพเจ้าเจ้าได้ทำน้ำอันชัญ น้ำผึ้งมะนาว เราก็ออกแบบฉลากเป็นโทนสีม่วงเพื่อบ่งบอกถึงตัวอัญชัน มีมะนาวและน้ำผึ้งเป็นเอกลักษณ์ ทำให้คนจดจำได้ง่าย
วันที่ 27 มิถุนายน 2564 อบรมการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณด้านเคมีและกายภาพตามมาตรฐาน มผช. การที่ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นจะขายได้ตามท้องตลาดนอกจากรสชาติต้องอร่อยแล้ว ยังมีการเก็บรักษายืดเพื่ออายุผลิตภัณฑ์ของเรา และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการขอรับรองมาตรฐาน เพื่อเป็นการการันตีว่าผลิตภัณฑ์ของเรา สะอาด ปลอดภัย เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจริงๆ ซึ่งการที่จะขอรับรองมาตรฐานได้นั้น เราต้องมีโรงเรือนในการผลิตที่ได้รับอนุญาตแล้ว มีสูตรที่ผ่านการทดลองจนมีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งทางวิทยากรได้ให้ความรู้และแนะนำได้ดีมาก
15 กรกฎาคม 2564 ประชุมประจำเดือน เพื่อปรึกษาแนวทางในการทำงานต่อไป
ข้าพเจ้าและทีมงานขอขอบคุณท่านวิทยากรที่ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณด้านเคมีและกายภาพตามมาตรฐาน มผช และขอขอบคุณคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาชุมชนถาวรของเรา ขอบคุณค่ะ
รูปภาพ และวีดีโอการปฏิบัติงาน