1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED04 - ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED04-การลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ED04-การลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านายศุภากร ก้อนเสมา ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทราบปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน จัดทำข้อมูล ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล

ตำบลยายแย้มวัฒนา อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับกับเนินลูกระนาด ถูกล้อมรอบไปด้วยภูเขาเช่น เขาพนมรุ้ง เขาปรายบัด เขาอังคาร ทำให้มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีผลผลิตหลักคือข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา ตามลำดับ และปลูกผลไม้ตามฤดูกาลเป็นอาชีพเสริม กิจกรรมประจำปีที่โดดเด่นได้แก่บุญบั้งไฟ ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมหรือช่วงก่อนฤดูทำนา สินค้าที่ส่งออกหลักๆได้แก่ ผ้าไหม เสื่อกก  ปลาส้ม  โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านวัฒนา หมู่3 บ้านโคกหัวเสือ หมู่5 บ้านโนนเจริญ หมู่9 บ้านโนนทอง หมู่11 บ้านวัฒนาใหม่ หมู่12 บ้านเขาดิน หมู่14 บ้านเกษตรพัฒนา และหมู่16 บ้านวัฒนาสามัคคี เริ่มปฏิบัติงานลงพื้นที่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ลงพื้นที่หมู่9 บ้านโนนทอง เป็นหมู่บ้านแรก และหมู่14 บ้านเกษตรพัฒนาเป็นหมู่บ้านสุดท้าย

การลงพื้นที่สำรวจพบว่า ชาวบ้านใช้ภาษาลาวสื่อสารกัน นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และอาชีพเสริมคือเลี้ยงสัตว์เช่น วัว หมู และปลูกผักผลไม้ตามฤดูกาลขายตามท้องตลาด สถาบันทางสังคมมีวัดและโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ถนนเป็นคอนกรีต บางพื้นที่เป็นทางลูกรัง ชาวบ้านเล่าว่าผลผลิตในปีที่ผ่านมาได้เพียงเก็บไว้เพื่อบริโภคเท่านั้น ไม่ได้จำหน่าย  เนื่องจากแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูช่วง รวมกับเกิดโรคระบาดโควิด-19 จึงออกไปทำงานลำบาก และไม่มีแหล่งเงินทุน รายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยไม่พอเพียงในการใช้จ่ายแต่ละวัน จึงเกิดปัญหาความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้อมได้แก่ ปัญหาของขยะไม่มีที่ทิ้ง ทำให้มีชาวบ้านบางส่วน นำไปทิ้งในเขตป่าชุมชน บางส่วนต้องนำไปเผาเป็นสาเหตุเกิดปัญหาควันพิษ ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้และน้ำปะปาไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นและสีขุ่น

อุปสรรคในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสำรวจชุมชน เจ้าของบ้านบางหลังไม่อยู่ เพราะต้องออกไปทำงาน หรือทำธุระส่วนตัว และส่วนใหญ่จะเป็นคนสูงอายุที่ให้ข้อมูลจึงใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนาน ขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้มอบประสบการณ์ที่ดีแบบนี้และขอขอบคุณคนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการเก็บแบบสำรวจครั้งนี้ ทำให้สามารถผ่านไปได้ด้วยดี

 

ภาพการลงพื้นที่

 

อื่นๆ

เมนู