ข้าพเจ้านางสาวปาริฉัตร ภักดีวุธ ประเภทบัณทิตจบใหม่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตราฐานสินค้า OTOP เศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เดือนตุลาคมได้มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตราฐานคุณภาพฑ์สินค้า OTOP   ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลากลางหมู่บ้านวัฒนาใหม่ หมู่ 11 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาสินค้าและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ก่อนเข้ารับการอบรมจะมีการตรวจวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และเว้นระยะห่างของผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน ซึ่งจะแบ่งกิจกรรมออกเป็น2ช่วง

ภาพที่1.วัดอุณหภูมิ ล้างมือเจลแอลกอฮอล์ และการลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม

   

            ในช่วงเช้าของกิจกรรม ได้รับเกียรติจากอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากมหาวิยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการบรรยาย เรื่องการพัฒนาการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ให้มุ่งสู่การมีคุณภาพมาตราฐานตามข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ผลักดันและส่งเสริมในการบรรยายครั้งนี้เพิ่มองค์ความรู้การพัฒนาและการบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและตอบสนองความต้องการของตลาด อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง ยังให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสินค้า เพื่อยกระดับศักยภาพของสินค้าตำบล ให้ได้มาตรฐานตามคุณภาพสินค้า OTOP

                                                

ภาพที่2และ3 การเข้าร่วมอบรมฟังคำบรรยายของกิจกรรม

           ในช่วงบ่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีโอกาสพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐาน ให้คนในชุมชนนำเสนอสินค้าเลือกผลิตภัณฑ์แนะนำแนวทางการพัฒนาให้ได้ระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ใช้วิธีการต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมที่มีจุดเด่นอยู่แล้ว มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามากขึ้น ด้วยการนําวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใส่ดีไซน์ลงไป ใส่ฟังก์ชั่นใหม่ หรือวัตถุประสงค์การใช้งานที่หลากหลายลงไป ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน พัฒนาเรื่องการบริหารในเรื่องของ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย สะดวก วางแผนทางด้านการเงิน ในการคํานวณหาต้นทุนผลิตภัณฑ์และการวางแผนกําไรที่เหมาะสม ตลอดจนการพัฒนาการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เช่นช่องทาง facebook,shoppe,Lazada เป็นต้น  สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคและผู้ที่สนใจอยากเป็นผู้ประกอบการได้

          จึงจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งสรุปได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1.กลุ่มผ้าไหม/ผ้าฝ้ายภูอัคนี 2.กลุ่มข้าวแต๋น หมู่1,หมู่5, หมู่10 หมู่11และ3.กลุ่มเกษตร(กลุ่มเลี้ยงกบ/เลี้ยงหนูนา)

             

          ภาพที่4,5 แบ่งกลุ่มเสนอผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP

             หลังจัดกิจกรรมเสร็จจึงเห็นได้ว่าการเข้าร่วมจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับประโยชน์มากมาย ”จากโครงการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตราฐานสินค้า OTOP” ในชุมชน ได้เพิ่มมูลค่าของสินค้า จากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต เช่น สี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และมีส่วนช่วยในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า จดจําตรา สินค้าและตัวผลิตภัณฑ์ และสามารถเพิ่มโอกาสทางการตลาดในการเลือกซื้อให้กับผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ขอขอบคุณคณะอาจารย์ ทางทีมงานและผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี

อื่นๆ

เมนู