โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สู่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายจักรกริช คินรัตน์ ประเภท ประชาชน ได้รับมอบหมายงาน ประจำเดือน ธันวาคม 2564 ในการจัดกิจกรรมและอบรมให้ความรู้และได้รับมอบหมายงานตามภารกิจต่างๆดังต่อไปนี้
วันที่ 3-4 กันยายน 2564
• จัดกิจกรรม การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หน้ากากป้องกันโควิดด้วยผ้าภูอัคนี
-ให้คำปรึกษา ออกแบบ และพัฒนาหน้ากากป้องกด้วยผ้าภูอัคนีาภูอัคนี
วิทยากร โดย 1.อาจารย์ผจงจิต เหมพนม 2.อาจารย์อมรรัตน์ สุขจิตต์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564
• จัดกิจกรรม การออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาชีวิตที่ดีและห่างไกลจากโควิด-19 ของผู้สูงอายุในชุมชน การวางแผนและออกแบบหลักสูตรและรูปแบบของโรงเรียนผู้สูงอายุประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
วิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตชภณ ทองเติม อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564
• จัดกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายด้วยผ้าภูอัคนี และ สุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโควิด
– การทดสอบสมรรถทางกายภาพ (ก่อน)
– การให้ความรู้ในการออกกำลังกาย
– การให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมโดยใช้ผ้าภูอัคนีเป็นอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย
– การทดสอบสมรรถทางกายภาพ (หลัง)
-การผลิตสื่อการออกกำลังกายเพื่อส่งมอบให้กับชุมชนต่อไป
วิทยากร โดย นางสาวรัตนา ปรุรัตน์
วันที่ 3 ธันวาคม 2564
• จัดกิจกรรม การบริหารจัดการขยะภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา และ ส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการบริหารการจัดการขยะเพื่อพัฒนาเป็นครัวเรือนต้นแบบ หมู่ที่ 8 บ้านโนนศิลา และ หมู่ที่ 13 บ้านชุมพรพัฒนา ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
– การให้ความรู้เรื่องขยะ
– ผลดี/ผลเสียของการบริหารจัดการขยะ เพื่อปรับทัศนคติของการจัดการขยะ
– กระบวนการในการบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะการสร้างรายได้และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะ
– ภาพอนาคตของการบริหารขยะแต่ละชุมชนภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา
การออกแบบและพัฒนาธนาคารขยะตามบริบทของชุมชน
– กระบวนการในการก่อตั้งธนาคารขยะ
– ระบบการดูแลและการบริหารงาน
– ภาพอนาคตของธนาคารขยะ
– การส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและการทำความดีเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา
วิทยากร โดย นางประเนียร รุ่งโรจน์ ประธาน อสม.ชุมชนบุลำดวนใต้ และประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste)
ในการจัดกิจกรรมการบริหารการจัดการขยะครั้งนี้ คณะทำงาน U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พร้อมด้วยพนักงานและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา นำโดย นายธำรงค์ ชํานิศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา นำคณะทำงานร่วมประชุมวางแผนและลงพื้นที่การบริหารการจัดการขยะการทำครัวเรือนต้นแบบการบริหารการจัดการขยะครัวเรือนต้นแบบ หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 13 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาเป็นครัวเรือนต้นแบบการบริหารการจัดการขยะในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
วันที่ 23 ธันวาคม 2564
-ได้รับมอบหมายงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ปฏิบัติงานในเรื่องการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อลงในระบบ CBD และสำรวจข้อมูลขนาดใหญ่ของตำบลมีดังต่อไปนี้
1.สำรวจข้อมูลผู้ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2.สำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
3.สำรวจข้อมูลที่พัก/โรงแรมในชุมชน
4.สำรวจข้อมูลร้านอาหารในท้องถิ่น
5.สำรวจข้อมูลอาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
6.สำรวจข้อมูลเกษตรในท้องถิ่น
7.สำรวจข้อมูลพืชในท้องถิ่น
8.สำรวจข้อมูลสัตว์ในท้องถิ่น
9.สำรวจข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
10.สำรวจข้อมูลแหล่งน้ำในท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังมีการทำแบบสรุป การทำงานในโครงการพัฒนาชุมชนประจำตำบลยายแย้มวัฒนาสิ่งที่นำไปพัฒนาและนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและหาอาชีพเสริมให้กับคนว่างงานเพื่อต่อยอดพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนให้มีอาชีพที่มั่นคงสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเพิ่มยิ่งขึ้นไป
ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังต่อไปนี้
1.อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2.ผู้รับจ้างงาน U2T/ผู้นำชุมชน
3.ประชาชนชาวตำบลยายแย้มวัฒนา
4.พนักงานและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณโครงการดีๆที่ส่งเสริมและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในตำบลยายแย้มวัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีอาชีพที่มั่นคงสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและความเป็นอยู่ที่ดี ในการนี้ข้าพเจ้าอยากให้มีการจ้างงานและการต่อยอดโครงการยกระดับเศรษฐกิจตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต่อในเฟสที่ 2 ด้วยนะครับ
ในการจัดกิจกรรมการอบรมและให้ความรู้ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมการอบรมและเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่จัดขึ้น ภายในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาและได้ความร่วมมือของพ่อแม่พี่น้องชาวตำบลยายแย้มวัฒนาที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมต่างๆและข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณคณะอาจารย์และคณะวิทยากรในการจัดการอบรมในครั้งนี้และขอขอบพระคุณผู้นำชุมชนทั้ง 16 หมู่บ้าน ทีมงานทางเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา ข้าพเจ้าถือว่าการอบรมในครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีและประทับใจเป็นอย่างมาก หวังว่าการได้รับความรู้ในการอบรมในครั้งนี้จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงขอกราบขอบพระคุณมาณโอกาสนี้ ขอบคุณครับ