1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED04 - ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED04ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมการส่งเสริมเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์และชุมชน OTOP

ED04ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมการส่งเสริมเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์และชุมชน OTOP

ED04 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

ข้าพเจ้านายเนติพจน์ ศรีสว่างปัญญากุล ประเภทประชาชน สังกัดตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย สู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนตุลาคม 2564 ทางคณาจารย์และผู้ปฏิบัติติงาน ประจําตําบลยายแย้มวัฒนาได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาสินค้าประจําตําบล จึงได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์และชุมชน OTOP รูปแบบใหม่ โดยเน้นการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้มีรายได้จากการ ขายสินค้าในชุมชนโดยภูมิปัญญา วิถีชีวิตและวัฒนธรรม

โดยช่วงบ่ายของการบรรยายได้รับเกียรติจากอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้เข้าร่วมโครงการและการบรรยายการจดทะเบียนสินค้า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการผลิตภัณฑ์แปรรูปในชุมชนเพื่อส่งเสริม การกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน พัฒนาในด้านคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด

– ประชุมกับทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ยายแย้มวัฒนา บ้านวัฒนา ม.11 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด บุรีรัมย์ ตามที่ได้ประชุมกับทางคณะอาจารย์ และได้ผลสรุปว่ามีการแบ่งกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
• กลุ่มผ้าฝ้าย
• ผ้าภูอัคนี
• กลุ่มข้าวแต๋น 2 กลุ่ม ได้แก่ หมู่ 1,5,10,11
• กลุ่มเกษตร เลี้ยงกบ,หนูนา

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกย่อว่า โอทอป (OTOP) เป็นโครงการกระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่น โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นแต่ละตำบลโดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของญี่ปุ่น โครงการโอทอปกระตุ้นให้ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการตลาด เลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมาหนึ่งชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า “ผลิตภัณฑ์โอทอป” และจัดหาเวทีในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงงานหัตถกรรม ฝ้ายและผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น ของใช้ในครัวเรือนและอาหาร หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โครงการโอทอปได้ถูกยกเลิกไป ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งแต่เปลี่ยนชื่อใหม่

“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลาย

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และประชาชนในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา และอาจารย์ประจำตำบลที่ให้คำปรึกษาชี้แนะ และได้ร่วมแรงกันจนผ่านไปอย่างไร้อุปสรรค

อื่นๆ

เมนู