ข้าพเจ้านางสาวจิระนันต์ ผลชู ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทราบปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน จัดทำข้อมูล ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
ในการทำรายงานผลการดำเนินงาน การติดตามและการประเมินผลรายตำบล ซึ่งเกี่ยวกับการยกระดับเศรษฐกิจของคนในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน มีภูเขาติดตำบลได้แก่ เขาพนมรุ้ง เขาไปรบัด และเขาอังคาร ทำให้มีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม กิจกรรมประจำปีที่โดดเด่นได้แก่บุญบั้งไฟ ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมหรือช่วงก่อนฤดูทำนา สินค้าที่ส่งออกหลักๆได้แก่ ผ้าไหม เสื่อกก ปลาส้ม โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านวัฒนา หมู่3 บ้านโคกหัวเสือ หมู่5 บ้านโนนเจริญ หมู่9 บ้านโนนทอง หมู่11 บ้านวัฒนาใหม่ หมู่12 บ้านเขาดิน หมู่14 บ้านเกษตรพัฒนา และหมู่16 บ้านวัฒนาสามัคคี โดยคณะทีมงาน U2T จะปฏิบัติงานเริ่มจากการ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐาน จากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มที่ให้ข้อมูล ประกอบไปด้วย นายกเทศมนตรี ปลัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มรัฐวิสาหกิจ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ และประชาชน และการลงพื้นที่ได้ดำเนินการจัดทำโครงการและกิจกรรมตามแนวทาง ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1มหาวิทยาลัย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน วิเคราะห์ความต้องการในองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และ นำองค์ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน
และมีกิจกรรมที่จัดขึ้นดังนี้ 1. กิจกรรมการสำรวจข้อมูลพื้นฐานลงพื้นที่ และทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน แบบฟอร์ม 01ข้อมูลปฐมภูมิ และแบบฟอร์ม 02 มาตรการการเฝ้าระวัง 2. การส่งเสริมอาชีพการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว 3. การแปรรูปข้าวเหนียวภูเขาไฟไปรบัดเป็นข้าวแต๋นภูเขาไฟไปรบัด 4. การพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา 5. การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ได้มาตรฐานสินค้า OTOP 6.กิจกรรมการให้คำปรึกษาในพื้นที่เพื่อยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ 7. ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านทุนทางอาชีพ โดยการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวตามวิถีชนบท (Rural Tourism) 8. การพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีชนบท 9. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หน้ากากป้องกันโควิดด้วยผ้าภูอัคนี 10. การออกแบบและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และห่างไกลจากโควิดของผู้สูงอายุในชุมชน 11. การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายด้วยผ้าภูอัคนี และสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลโควิด 12. การบริหารจัดการขยะ 13. การออกแบบและพัฒนาธนาคารขยะตามบริบทของชุมชน 14. การส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและการทำความดีเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
และนอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล CBD ( https://cbd.u2t.ac.th ) เพิ่มเติม ซึ่งมีทั้งหมด 10 หมวด ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น โดยจะรับผิดชอบเก็บข้อมูลในหมู่ 1 หมู่ 3 หมู่ 5 หมู่ 9 หมู่ 11 หมู่ 12 หมู่ 14 และหมู่ 16
จากการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ในตำบลยายแย้มวัฒนาเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและพัฒนาให้เป็นเศรษฐกิจฐานรากในทุกกิจกรรมที่คณะทำงาน U2T เข้าไปในพื้นที่ตำบลยายแย้มวัฒนา มีความตั้งใจ และความพยายามที่จะช่วยพัฒนาชุมชนให้เกิด การรวมพลัง และผสานพลังของคนในชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง และกิจกรรมในโครงการกิจกรรมที่จัดขึ้นระยะสั้น และเป็นคณะทำงานที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือของคนในชุมชน เมื่อคณะทำงาน U2Tออกมาจากชุมชนนั้น ชุมชนต้องสามารถเดินต่อเองได้ ซึ่งแสดงถึงความมั่นคง และเป็นอาชีพของคนในชุมชน ให้คนในชุมชนมีอาชีพใหม่ พัฒนาของดีที่มีอยู่แล้วในชุมชนให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเข้าถึงผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดความมั่งคั่ง ลูกหลานและคนในชุมชนสามารถมีอาชีพอยู่ในบ้านเกิดของตนเองได้
และสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ คณาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านในชุมชนยายแย้มวัฒนา และทีมงานU2T ประจำตำบลยายแย้มวัฒนาที่ร่วมมือร่วมใจช่วยกันพัฒนาชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนาจนสิ้นสุดโครงการ