1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED04 - ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED04 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา

ED04 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา

ข้าพเจ้านางสาวจิระนันต์ ผลชู ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ตำบลยายแย้มวัฒนามีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของขึ้นชื่อประจำตำบล เช่น ผ้าไหมโบราณ ผ้าฝ้ายภูอัคนีใช้สีธรรมดาในการย้อม เครื่องจักสานของใช้ประจำครัวเรือน เป็นต้น ทางคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล ได้เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของตำบลสามารถการพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย และสื่อให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่า มีมาตรฐาน มีเอกลักษณ์โดดเด่นเน้นเรื่องราว สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ดังนี้จึงได้มีการจัดกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา (ผ้าฝ้ายภูอัคนี) ก่อนเข้ารับการอบรมทุกครั้งได้ ทีมงานได้มีมาตรการป้องกัน   covid 19 โดยการวัดอุณหภูมิ ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เว้นระยะห่าง และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการทำกิจกรรม

กิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชนยายแย้มวัฒนา (ผ้าฝ้ายภูอัคนี) เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน เริ่มจากการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการถักทอ เย็บปัก หรือชาวบ้านที่มีความสนใจ รวมกันปรึกษหารือกันในการพัฒนารูปแบบสินค้าในชุมชน จนได้ผลสรุปชาวบ้านว่า จะพัฒนาผ้าฝ้ายภูอัคนีให้เป็นกระเป๋าที่มีหลากหลายรูปแบบ ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า และแมสเป็นผลิตภัณฑ์หลัก นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย โดยทางทีมงานจะเข้าสนับสนุนในทุกๆทาง ตั้งแต่การช่วยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  ขั้นตอนการผลิต ช่องทางการจำหน่าย และงบประมาณการลงทุน รวมไปถึงการจัดหาผู้สอน เพื่อให้สินค้ามีมาตรฐาน สวยงาม เหมาะสมตามความต้องการของตลาด คุ้มค่า ทนทานต่อการใช้งาน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ผจงจิต เหมพนม และอาจารย์อมรรัตน์  สุขจิตต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งนี้

ขั้นตอนในการทำแมสจากผ้าภูอัคนี

  1. นำผ้าฝ้ายไปรีดอัดผ้ากาว วัดขนาดผ้าที่จะใช้ทำแมส ใช้ดินสอร่างเป็นรูปร่าง
  2. ตัดผ้าให้ได้ 3 ชิ้น ใช้เข็มหมุดปักไว้ ตัดผ้าสำหรับทำหูแมส
  3. นำมาเย็บ ตรงกลางด้านบนจะใส่เป็นลวด เพื่อให้สามารถล็อดกับจมูก เข้ากับรูปหน้า
  4. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว นำสายมาคล้อง

ขั้นตอนในการทำกระเป๋า

  1. ตัดผ้าฝ้ายสำหรับด้านนอกและด้านในกระเป๋าโดยให้ทั้งสองชิ้นมีความยาวเท่ากัน จากนั้นตัดหูกระเป๋าผ้าฝ้ายเป็นสองชิ้นให้มีความยาวเท่ากัน
  2. ตัดมุมด้านล่างของผ้าทั้งสองชิ้นออก เพื่อเตรียมเย็บก้นกระเป๋า โดยตัดทั้งมุมซ้ายและขวา
  3. กลับด้านในของผ้าออกมา วางผ้าอัดกาว จากนั้นตัดให้พอดีกับผ้าสำหรับตัวกระเป๋า เย็บผ้าอัดกาวเข้ากับผ้าฝ้ายโดยเว้นขอบประมาณครึ่งนิ้ว
  4. เย็บก้นกระเป๋าโดยพับกันกระเป๋าให้แบนแล้วใช้หมุดช่วยตรึงส่วนก้นกระเป๋าไว้ จากนั้นเย็บผ้าฝ้ายทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน
  5. เย็บริมกระเป๋าโดยจับขอบผ้าทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกันและทำการเย็บ เก็บรายละเอียดขอบกระเป๋าให้เรียบร้อย ส่วนสุดท้ายคือการเก็บขอบปากกระเป๋า โดยพับขอบผ้าลงครึ่งนิ้วแล้วเย็บริมให้เรียบร้อย
  6. เย็บหูกระเป๋าเข้ากับกระเป๋าผ้าของเรา จากนั้นกลับเอาด้านนอกออกมาก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์  

ทางทีมงานขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านที่ให้ความร่วมในกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างดี หลังจากจบกิจกรรมครั้งนี้แล้ว ทีมงานได้มีการติดตามผลในทุกขั้นตอน จากความร่วมมือกันของชาวบ้านทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กระเป๋าที่มีหลายขนาดใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอย่าง เสื้อที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แมสที่ปกป้องฝุ่นละอองได้และมีความสวยงาน มีสไตล์ หลากหลายสี และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น หากท่านใดสนใจหรืออยากดูสินค้าเพิ่มเติม เข้าไปที่เพจของตำบลที่ทางทีมงานสร้างขึ้นชื่อว่า U2T ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพตัวอย่างสินค้าและหน้าเพจเฟซบุ๊ก

 

อื่นๆ

เมนู