ED04 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำกันยายน 2564ข้าพเจ้านายเนติพจน์ ศรีสว่างปัญญากุล ประเภทประชาชน สังกัดตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย สู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในเดือนกันยายนทางโครงการได้จัดกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอในชุมชนยายแย้มวัฒนาให้แก่ประชาชนในตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ประชาชนในตำบลยายแย้มแต่ละหมู่บ้านรวมกลุ่มกันเข้ากิจกรรมอบรมที่ทางโครงการ ได้ประสานผ่านทางทีมงานไปยังชาวบ้าน และทางทีมได้จัดหาวิทยากรผู้ความรู้ความเชี่ยวชาญมาเพื่อให้ประชาชนได้ความรู้และประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้นำกลับไปผลิตได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพจะได้สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนในชุมชน

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้า จัดทำกระเป๋า เป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูปทำเป็นกระเป๋า ซึ่งทางกลุ่มได้ให้ความใส่ใจ พิถีพิถันในการเลือกลวดลาย สีสัน และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ผสมผสานกับฝีมืออันประณีตในการตัดเย็บ ทำให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้าของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทำกระเป๋า เป็นที่ยอมรับและรู้จักของคนทั่วไป ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่คนในชุมชน และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้และมีการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้รู้จักการใช้เวลาว่าง และใช้วัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ พัฒนารูปแบบ และร่วมกันคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์

เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปมีดังนี้

1. จักรเย็บผ้า
2.  กรรไกร กาว ไม้บรรทัด เข็มหมุด ด้าย ชอล์ก
3. ผ้าเคมีแข็ง ผ้าแก้ว ผ้ากาว ฟองน้ำ ผ้าเคมีแข็ง ฟองน้ำ
4. ใยสังเคราะห์ (สำหรับใส่ในหูกระเป๋า)
5. ซิป
6. กระดาษสร้างแบบ
7. วัสดุตกแต่งกระเป๋า เช่น กระดุม ลูกปัด
8. เตารีด

ขั้นตอนในการทำ

1. เลือกเศษผ้า โดยเลือกลวดลาย สีสันให้เหมาะสมกับรูปแบบกระเป๋าแต่ละชนิด
2. ทำการสร้างแบบลงบนกระดาษสร้างแบบ และเขียนแบบแพทเทิร์นกระเป๋าลงบนผืนผ้า
3. ตัดผ้าที่จะทำกระเป๋า และผ้าเคมีตามแบบที่สร้างไว้
4. นำเศษผ้าที่เลือกสรรแล้วมารีดเพื่อให้เห็นลวดลายที่ชัดเจน และง่ายต่อการตัดเย็บ
5. วางผ้าเคมีเข้ากับเศษผ้าทอมัดหมี่ แล้วขีดเส้นด้วยชอล์กบนผืนผ้า และเย็บตามรอยที่ขีดไว้
6. ตัดเย็บตามแบบ ใส่ซิบ และตกแต่งใส่ลูกปัดตามแบบที่ต้องการ
7. นำมารีดให้เรียบอีกครั้ง
8. บรรจุใส่ถุง/บรรจุภัณฑ์

จากการเข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรมการพัฒนารูปแบบสินค้าจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอในชุมชนยายแย้มวัฒนา ทำให้ประชาชนในตำบลยายแย้มวัฒนามีอาชีพเสริมในการสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชน และทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อใช้จ่ายในประจำวันและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และประชาชนในชุมชนตำบลยายแย้มวัฒนา และอาจารย์ประจำตำบลที่ให้คำปรึกษาชี้แนะ และได้ร่วมแรงกันจนผ่านไปอย่างไร้อุปสรรค

อื่นๆ

เมนู