ข้าพเจ้านางสาวนะภา โชคโอฬาร ประเภทประชาชน ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย สู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 คณะผู้ปฏิบัติงานของตำบลยายแย้มวัฒนา ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะอาจารย์ วางแผน เกี่ยวกับกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะปลูก ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว (ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ย การทำผลผลิตทางการเกษตร) โดยสถานที่จัดที่ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนมีชัยพัฒนา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
“เกษตรกรอาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ” ด้วยพื้นที่ในตำบลยายแย้มวัฒนา เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด การประกอบอาชีพเกษตรกรจึงเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่จำนวนมาก จะเลือกการหางานในเมืองหลวง รวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่นๆมากขึ้น แต่การเกษตรกรรมก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับชาวตำบลยายแย้มวัฒนา และอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดีๆ ได้ทาน เพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด ทางศูนย์การเรียนรู้ได้ให้ความรู้ในเรื่องแนวคิดของ มินิฟาร์ม เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ดิน และคน มีฐานการเรียนรู้อีกมากมายเช่น
- การผสมดินปลูก
- การเพาะเมล็ด แบบอบร้อน อบเย็น ก่อนลงถาดเพาะ
- การย้ายกล้าปลูก การให้น้ำให้ปุ๋ย
- การเพาะถั่วงอก
- การขยายพันธุ์พืช การปักชำ มะนาววัยใส การตอนมะละกอ
- การปลูกพืชในเข่งและการให้ปุ๋ย
- การปลูกพืชไฮโดรน้ํานิ่ง
- การทํากุยช่ายขาว
- การทำน้ำยาไล่แมลง
- การเลี้ยงไส้เดือน
และมีการพาไปเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรที่บ้านหนองตะไก้ ที่มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ชาวบ้านหนองตะไก้ มีการรวมกลุ่มปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้มงคล รวมกลุ่มกันปลูกทั้งหมู่บ้านเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครอบครัว
ในปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวนมากเลือกหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นเพราะลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน หากเลือกทำเกษตรแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมากนัก เพียงแค่นำพื้นที่ซึ่งเหลือจากการเกษตรหลักของตนเอง มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้ว่ายุคก่อนหน้าอาชีพเกษตรกรจะมีจำนวนลดลง แต่ปัจจุบันมักเริ่มเห็นคนรุ่นใหม่หันไปเลือกทำเกษตรกร กันมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเพราะเมื่อได้อยู่กับธรรมชาติจริงๆ แล้วสามารถสร้างความสุขในชีวิตมากกว่าการอยู่ในเมือง ที่ต้องเจอกับความเครียดนานัปการก็ได้
การมีกิจกรรมในครั้งนี้ เป้าหมาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการพัฒนาการเกษตร โดยสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง กลุ่มเกษตรกรของตนเอง เพื่อลดต้นทุนการของผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเพิ่มรายได้จากผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งสามารถสร้างความหลากหลายของการทำการเกษตร ในพื้นที่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ที่ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ และเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้กิจกรรมในครั้งนี้ มีรอยยิ้มและได้ประสบการณ์ เพื่อนำกลับมาใช้ในชีวิตประจำวัน ขอบคุณค่ะ