โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล มหาวิทยาลัยสูตรตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
บทนำ
ข้าพเจ้านางสาวพรปวีณ์ ประจวบสุข ประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตามโครงการการยกเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
คำขวัญอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
” เมืองพนมรุ้ง ทุ่งฝ้ายคำ นามพระราชทาน ตำนานทับหลัง ที่ตั้งเจ้าพ่อปราสาททอง ของดีผ้าภูอัคนี “
ที่ตั้งของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนางรอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละหานทราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนางรอง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 67 หมู่บ้าน ได้แก่
- ตาเป๊ก 11 หมู่บ้าน
- อีสานเขต 15 หมู่บ้าน
- เจริญสุข 14 หมู่บ้าน
- ถาวร 11 หมู่บ้าน
- ยายแย้มวัฒนา 16 หมู่บ้าน
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดกับ ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ถาวร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ตำบลยายแย้มวัฒนา เป็นตำบลที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย 12 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 1 บ้านวัฒนา หมู่ 2 บ้านยายคำ หมู่ 3 บ้านโคกหัวเสือ หมู่ 4 บ้านยายแย้ม หมู่ 5 บ้านโนนเจริญ หมู่ 6 บ้านโคกหญ้าคา หมู่ 7 บ้านหนองม่วง หมู่ 8 บ้านโนนศิลา หมู่ 9 บ้านโนนทอง หมู่ 10 บ้านยายแย้ม หมู่ 11 บ้านวัฒนาใหม่ หมู่ 12 บ้านเขาดิน
อาหารประจำถิ่นมี
หมูส้มฟัก ปลาส้มฟัก ขนมจีนเส้นสด
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าของชุมชน
ผ้าไหม (ผ้าภูอัคนีย์)
ไม้กวาดดอกหญ้า
เสื่อกก
ดอกไม้จันทร์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านภูมิปัญญาของตำบลยายแย้มวัฒนา
๒. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มากรอกลงในระบบ ด้านภูมิปัญญา ของชุมชนตำบลยายแย้ม
๓. เพื่อนำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์ ในการส่งเสริมเเละยกระดับเศรษฐกิจในตำบลต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 15 ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนแล้วนำมาบันทึกลงในแบบฟอร์มทั้งหมด 10 ด้าน ในระหว่างวันที่ 17 เมษายนถึงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2564
จากการลงพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านนั้น ทั้ง 4 หมู่ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกร ส่วนอาชีพเสริมคือการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ อย่างเช่น วัว ควาย หมู กบ และหนู ในพื้นที่หมู่ที่ 8 มีแหล่งท่องเที่ยวคือแหล่งเรียนรู้การเพาะพันธุ์ไม้ของหมู่บ้านโนนศิลา เปิดให้ชมได้ทุกฤดูกาลและยังมีพันธุ์ไม้ส่งออก มีที่พักโฮมสเตย์ มีอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่นคือ เห็ด ดอกกระเจียว ผักหวาน ก็จะเกิดตามโคกเขา ตามป่าไม้ มีเฉพาะฤดูกาล สามารถนำมาประกอบอาหารได้ ร้านอาหารในท้องถิ่นส่วนมากก็จะเป็นอาหารตามสั่ง ร้านส้มตำ หรือร้านก๋วยเตี๋ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นการทอเสื่อกก การทำไม้กวาด และในพื้นที่หมู่ 15 มีการทำขนมจีนแป้งสด พื้นที่หมู่ 8 มีปลาส้ม และพื้นที่หมู่ 10 ทำดอกไม้จันทร์ ส่งออกจำหน่ายตามท้องตลาดที่ใกล้เคียง สัตว์ที่พบส่วนใหญ่เป็นสุนัขและแมว ใช้เป็นสัตว์เลี้ยง ในพื้นที่ หมู่ 4 หมู่ 8 หมู่ 10 และหมู่ที่ 15 พบว่าแหล่งน้ำก็มีทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยใช้ในการอุปโภคบริโภคและในการทำเกษตรกรรม
สรุปผล
ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครั้งนี้ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน จึงขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ผู้นำหมู่บ้าน อาสาสมัคร และผู้ร่วมงานครั้งนี้