ข้าพเจ้านายศุภากร ก้อนเสมา ประเภทบัณทิตจบใหม่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

– ในเดือนมิถุนายนได้มีการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ ณ ศูนย์มีชัยนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับการผสมดินปลูก การเพาะเมล็ดแบบอบร้อน อบเย็น การเพาะถั่วงอก การขยายพันธุ์พืช การปักชำมะนาววัยใส การตอนมะละกอ การทำน้ำยาไล่แมลง การเลี้ยงใส่เดือน เศรษฐกจพอเพียง เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเองโดยตั้งเป็น“ทฤษฎีใหม่ (NEW THEORY) ”ที่ผ่านการสรุปผลการทดลองของศูนย์มีชัยนางรองดังนั้นการทำเกษตรผสมผสานก็เพื่อให้เกษตรกรพัฒนาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการและจัดสรรพื้นที่ดินแหล่งน้ำทุนแรงงานและกิจกรรม

การผสมดินปลูก 

– ดินร่วน 3 ส่วน
– ขี้วัว 2 ส่วน
– แกลบดิบ 1 ส่วน
– แกลบดำ 1 ส่วน
หมายเหตุ
ถ้าดินที่ผสมออกไปทางดินเหนียวให้เพิ่ม แกลบดิบและแกลบเผา อีกอย่างละ1 ส่วน
ㆍนำวัสดุทั้งหมคมาร่อนเพื่อให้ได้ความละเอียด
ㆍเมื่อได้ความละเอียดแล้วนำมารวมกับใบอัตราส่วนเท่ากับ
ㆍผสมน้ำให้ได้ความขึ้น 60%
ㆍเมื่อผสมเข้ากันแล้วนำวัสดุใส่ถาดเพาะ
ㆍนำเมล็ดที่ผ่านการอบแล้วมาเพาะ

ภาพการผสมดินปลูก 

      

การเพาะถั่วงอก

อุปกรณ์สำคัญในการเพาะถั่วงอกคอนโด

  1. เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพดี โดยถั่วเขียว 1 กิโลกรัมจะสามารถเพาะถั่วงอกได้ ประมาณ 5 กิโลกรัม
    2. ถังพลาสติกสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว เจาะรูระบายน้ำที่กันภาชนะ 1 รู (ขนาด 0.5 นิ้ว)
    3. ตะแกรงลวดวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว ชาสูง ประมาณ 1.5 นิ้ว
    4. ตะแกรงพลาสติกสีดำ ตัดเป็นวงกลม ขนาดเท่าภาชนะเพาะ จำนวน 4 ชิ้น
    5. กระสอบป่าน ตัดเป็นวงกลม ขนาดเท่าภาชนะเพาะ จำนวน 5 ชิ้น
    6. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถังแช่เมล็ด สายยาง น้ำสะอาดกะละมัง ตะแกรงล้างถั่วงอก

วิธีการเพาะ

– ใช้เมล็ดถั่วเขียว ประมาณ 500 กรัม แช่เมล็ดในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นประมาณ 6 ชั่วโมง

– ล้างเมล็ดถั่วเขียวที่แช่ในน้ำสะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนและเมล็ดพองตัวออกทิ้ง
– นำเมล็ดถั่วเขียวที่ล้างสะอาดแล้ว ใส่ในภาชนะที่เตรียมเพาะ โดยโรยและเกลี่ยเมล็ดให้เสมอกันบนตะแกรงพลาสติกชั้นแรกล่างสุด (ความหนาของ
– เมล็ดที่เพาะ ประมาณ 1 เซนติเมตร) ปิดทับด้วยกระสอบ จากนั้น ชั้นที่2-4 ทำเหมือนกับชั้นแรก รวม 4-5 ชั้น แต่ไม่เกิน 5 ชั้น นำไปไว้ในที่ร่มและเย็น
– รดน้ำทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง
– เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 นำถั่วงอกที่ได้มาตัดราก ล้างเอาเปลือกถั่วเขียวออกจะได้ถั่วงอกสำหรับบริโภค ประมาณ 2-2.5 กิโลกรัม

ภาพการเพาะถั่วงอกคอนโด

       

การปักชำมะนาววัยใส

(การปักชาแบบควบแน่น)”การปักชำแบบควบแน่น”เป็นวิธีการปักชำที่ ควบคมความขึ้นและอณหภูมิของกิ่งชำให้มีความเหมาะสมด้วยการครอบกิ่งปักซำด้วย ถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เพื่อให้กิ่งซำออกรากและแตกตาเร็วขึ้นเตรียมอุปกรณ์เช่น แก้วพลาสติก,หรือขวดน้ำพลาสติก,ขุยมะพร้าวละเอียดฤงร้อน,หนังยางนำขุยมะพร้าวแช่น้ำให้ได้ความชื้น 60 %ใส่ในแก้วหรือขวดพลาสติกที่ตัดครึ่งแล้วตัดยอดมะนาวที่ไม่อ่อนและแก่มากยาวประมาณ 15-16 ชม ทำเป็นอิ่มยาวประมาณ1 นิ้วเสียบลงขุยมะหร้าวที่ใส่ใว้ในแก้วพลาสติกนำถุงร้อนมากรอบรัดด้วยหนังยางเก็บใว้ที่มีแสงรำไร ข้อดี “การปักชำาแบบควบแน่น” การปักขำด้วยใบ
หากเรามีต้นพันธุ์ที่ดี เพียงต้นเดียว แต่เราต้องการขยายพันธ์ในปริมาณมาก ถ้าเราใช้การตอนกิ่งจะได้จำนวนไม่มาก แต่หากเราใช้วิธีการปักขำด้วยวิธีนี้ สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก
ㆍทิ้งไว้งดน้ำงดอากาศ 1 เดือน
ㆍเมื่อครบ 1 เดือน เอาถุงครอบออก
ㆍย้ายลงปลูกในเข่งหรือวงบ่อ เริ่มให้ปุ๊ย 15-15-15 +ยูเรีย

ภาพการปักชำมะนาววัยใส

      

 

การตอนมะละกอ

การตอนกึ่งมะละกอนั้น ถือเป็นกระบนการสำคัญในการผลิตเนื่องจากการตอนจะ ให้ผลผลิตเร็ว เก็บผลผลิตสะดวกและ ไม่ต้องกังวลเรื่องมะละกอตัวผู้ตัวเมีย อีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตอนกิ่งมะละกอ
1. ขุยมะพร้าว
2. เศษไม้เนื้อแข็ง
3. เชือกฟาง
4. ถุงพลาสติก
5. น้ำยาเร่งราก
1.วิธีการตอนกิ่งมะละกอเลือกกิ่งมะละกอสำหรับตอน โดยเลือกกิ่งมะละกอที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ วัดความยาวจากยอดมะละกอมาประมาณ 1ฝ่ามือ แล้วทำการใช้มีดเจาะเข้าไปในต้นมะละกอ โดยให้มีความหนา
2.นำไม้เนื้อแข็งท่อนเล็กๆ ไปขั้นระหว่างรอยผ่ากิ่งมะละกอ ที่จำเป็นต้องเลือกไม้เนื้อแข็งเพราะเราต้องทำการตอนเป็นเวลานานถ้าใช้ไม้ชนิดอื่นอาจย่อยสลายได้ง่าย
3.การขั้นไม้เนื้อแข็งกับรอยแยกมะละกอเพื่อป้องกันไมให้เนื้อเยื่อกิ่งมะละกอติดกัน

4.จากนั้นนำน้ำยาเร่งรากมาทาบางๆรอยแยกเพื่อเรางรากให้ขึ้นบริเวรนี้
5.นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติกแล้วทำการครอบรอยแยกโดยกะให้รอยแยกอยู่ตรงกลางขุยมะพร้าว
6.เมื่อครอบจนมิตรอยแยกแล้วให้นำเชือกฟางมารัดถุงมะพร้าวกับกิ่งมะละกอให้แน่น
7.จากนั้นทำการบากทางลำเลียงอาหาร

8.ทิ้งไว้ประมาณ 30-40 วัน จะพบรากขึ้นเต็มถุง
9.เมื่อรากขึ้นเต็มแล้วให้ทำการตอนกิ่งมะละกอโดยเว้นจากส่วนที่ตอนออกมาประมาณ 5 นิ้ว แล้วนำไปลงปลูกต่อไปได้เลย

ภาพการตอนมะละกอ

      

ภาพการเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรไม้ดอกไม้ประดับ

      

 

อื่นๆ

เมนู